"วัดคลองแห"
"วัดคลองแห"
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ กรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลาประชุมประจำเดือนเยือนถิ่นกำเนิด อันเป็นที่ตั้งของมูลนิธิชุมชนสงขลาตั้งแต่ปี 2552
ย้อนหลังไป ท่านพระครูสมพร มาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี 2541 ต่อมาได้ตั้งกลุ่มรักษ์คลองแห ทำกิจกรรมรักษาสายคลองที่เริ่มมีน้ำเสียจากโรงงานน้ำยาง และจากชุมชนเมือง ปี 2548 ร่วมกับผม ครูเสริฐ พี่ดุก จ่าคม พี่ดม เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดและเมืองน่าอยู่ และคณะทำงานของวัดจัดทำโครงการวัฒนธรรมพื้นบ้านประสานวัดฯ นำกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมฟื้นฟูการไหว้หลาเทียมดา การนำคนเฒ่ามาเล่าเรื่องที่มาของคลองแห จัดกิจกรรมย้อนตำนานวัดคลองแห ฟื้นฟูเรื่องเล่าของการร่วมบุญสร้างเจดีย์พระบรมธาตุที่นคร ที่มีเรื่องเล่านกคุ่มเงินนกคุ่มทอง โคกนกคุ่ม นำมาสู่การสร้างเจดีย์มหาบุญในปัจจุบัน ที่มีพี่น้องมอญ พม่า หลายกลุ่มเชื้อชาติมาร่วมบุญสร้าง กิจกรรมเชิงวัฒนธรรมได้รับการต่อยอดเป็นศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ทำน้ำหมักชีวภาพ อีเอ็มบอล นำมาสู่การพัฒนาฝายดักขยะ จากฝายเฉียง มาสู่ฝายถาวรที่ได้รับงบจากมูลนิธิโคคาโคลา ดักขยะจากเมืองหาดใหญ่ก่อนเข้าตลาดน้ำคลองแห และอีกมากกิจกรรม
กรรมการได้โอกาสได้กลับมารับฟังพัฒนาการและร่วมคิด ที่จะต่อยอดที่มีหลากหลายความคิด
๑.เสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาในรูปแบบสหการของทม.คลองแห ทน.หาดใหญ่ ทม.คอหงส์ ทม.ควนลัง ที่ควรรวมเป็นมหานคร การพัฒนาจะได้มีทิศทางมิใช่ต่างคนต่างคิด ต่างทำเช่นทุกวันนี้
๒.การต่อยอดทุนเดิม แลทองที่คลองแห ที่สามารถสร้างเรื่องเล่าจากที่มีพ่อท่านทองเป็นบุคคลสำคัญ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนคลองแหดั้งเดิม โดยสานต่อเรื่องราวสมัยสงครามโลกที่วัดกลายเป็นที่หลบภัยของเถ้าแก่สี(ขุนนิพัทธ์จีนนคร) ยกระดับความเชื่อเรื่องนกคุ่มเงินนกคุ่มทองในเชิงสามารถคุ้มเงินคุ้มทอง ธนูทอง ไอ้ยอดทอง เจดีย์ทอง ฆ้องทอง ปลาช่อนทอง อาศัยเรื่องเล่าเหล่านี้สานความเป็นชุมชนให้มีพลัง ข้ามพ้นความแตกแยกทางการเมือง สร้างฐานรายได้ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับการท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่มูลนิธิชุมชนสงขลาจะเข้าไปเสริมหนุนในปีนี้
๓.สร้างความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่นี่มีทั้งตลาดน้ำคลองแห มัสยิดกลาง เจดีย์ไทยพม่า นับเป็นสังคมใหม่ที่น่าสนใจ ขอเพียงข้ามพ้นในเรื่องความแตกแยกทางการเมืองกันเองของคนในชุมชน และสานผลประโยชน์ให้สมดุล จะเป็นอีกพื้นที่การพัฒนา
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567