บันทึกการศึกษาปัญหาพิเศษนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณปี 2563-2564 (ตอนที่ 2)
28 มกราคม 2564
วันที่สองสำหรับการลงพื้นที่ ทุ่งตำเสาและฉลุง
พวกผมได้วางแผนในการลงพื้นที่จะแบ่งเป็นโซนๆ โดยเริ่มจากทุ่งตำเสา เพราะเป็นพื้นที่ที่พวกผมเคยได้มาเก็บข้อมูลเบื้องต้นไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้การเดินทางไม่ค่อยลำบากมากนัก แต่ที่ฉลุง พวกผมยังไม่เคยไปลง ทำให้หลงทางตอนเข้าซอย ในส่วนของทางเข้าก็ค่อนข้างที่จะลำบากเพราะจะต้องขึ้นบนควนแต่ก็ไม่เป็นปัญหาครับ เพราะพวกผมแข็งแรง และเป้าหมายในการลงพื้นที่วันนี้ได้แก่ ป้าพร พี่สัญญา พี่กำราบ พี่สมชาย ป้าฉลวย แต่ป้าฉลวยไป อเมริกา ซะแล้วครับ ทำให้พวกผมมีความคิดที่จะตามไปอเมริกาเพื่อสัมภาษณ์ แต่กลัวโควิดครับเลยไม่ไป ซึ่งการเก็บข้อมูลก็จะใช้การสัมภาษณ์ ทั้งการวางแผนการปลูก การผลิต การขาย ปัญหาต่างๆ จนถึงการส่งผลผลิตให้กับตลาดของแต่ละคน
จากการลงพื้นที่ศึกษาวันที่สอง พวกผมได้ทราบถึงกลุ่มเป้าหมายและเข้าใจว่า กลุ่มเกษตรกรทั้งหมดได้วางแผนในการปลูกผลผลิตร่วมกัน แต่ไม่ได้ลงมือทำพร้อมกัน จะปลูกเฉพาะแค่ของตัวเอง ส่วนใหญ่จะปลูกด้วยความถนัดความชอบมากกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดในการปลูก ทั้งเรื่องของพื้นที่ปลูก น้ำ แต่ในการส่งผลผลิตให้กับตลาดรถเขียวนั้น กลุ่มเกษตรกรที่จะส่ง ก็มีความแตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งที่ได้จากการศึกษาลงพื้นที่ครั้งนี้คือ ได้รู้จักกับกลุ่มเป้าหมายและเข้าใจกระบวนการของแต่ละคนในการทำเกษตรกร แม้จะมีปัญหาหรือมีข้อจำกัดต่างๆก็ตาม
Aof Jetsadaporn ทีมฝึกงานมูลนิธิชุมชนสงขลา
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567