กาบหมากทำมือ ภาชนะรักษ์โลกที่ทำจากใจ
กาบหมากทำมือ ภาชนะรักษ์โลกที่ทำจากใจ
"บ้านควนหมาก" ต.วังใหญ่ อ.เทพา จ.สงขลา เป็นชุมชนที่มีต้นหมากอยู่จำนวนมาก พวกเขามีแนวคิดที่จะลดขยะพลาสติก โดยนำกาบหมากมาทำเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการเชื่อมโยงภูมิปัญญาคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ในชุมชน
ตามร่องรอยการเรียนรู้ บันทึกการเดินทางของกลุ่มโลกบ้านฉัน ณ บ้านควนหมาก
ณ วันที่กลุ่มได้ประสานติดต่อไปยังพี่แจง พี่เลี้ยงวิจัยกลุ่มกาบราชกรูดถึงการไปดูงานของพวกเรา พอได้รับการตอบรับและบอกว่ายินดีที่จะให้พวกเราได้เรียนรู้ถึงกระบวนการกลุ่ม ก็ตื่นเต้นและงงๆว่า มีด้วยหรือที่ทางกลุ่มจะเปิดให้กลุ่มอื่นได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆแบบไม่ปิดกั้นอะไรเลย ยิ่งพอเห็นโปรแกรมที่ทางพี่เค้าส่งมาให้ก็อึ้งกันไปเลย เพราะจัดฐานให้เราได้เรียนรู้ตั้งแต่เป็นลูกหมากจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ เห็นเส้นทางของหมากกันเลยทีเดียว
พอถึงราชกรูดมีสิ่งที่ประทับใจมากมายนับไม่ถ้วน การต้อนรับที่อบอุ่น พี่ๆทุกคนดูแลพวกเราเป็นอย่างดี ถึงเช้าวันที่ 28 ธ.ค.62 เป็นเวลาที่เราเข้ากระบวนการอย่างเต็มรูปแบบ กับฐานทั้ง 4 ตั้งแต่เกือบเก้าโมงยันห้าโมงเย็น เรียกว่าอึดกันทุกฝ่าย 5555 นับว่าเป็นโชคดีของพวกเราทีมกาบหมากจากสงขลา ที่พี่ๆจากราชกรูดได้มอบโอกาสที่ดีๆให้กับพวกเรา การมาที่นี่พวกเราได้แนวคิด มุมมองต่างๆมากมาย เช่นกันการมาที่นี่นอกจากองค์ความรู้ที่พวกเราได้รับก็คือมิตรไมตรีที่พวกพี่ๆหยิบยื่นให้ ขอขอบคุณอีกครั้งนะคะและทางเราหวังว่าสักวันหนึ่งจะได้มีโอกาสต้อนรับพี่ๆจากราชกรูด
ฐานที่ 1 จุดรับซื้อกาบหมาก วันนี้เราได้รู้ว่าเลือกซื้อกาบหมากยังไง ดูยังไงว่าใช้ได้ไม่ได้ ทำความสะอาดยังไง และเก็บแบบไหน ขั้นตอนการซื้อขายจริงๆทำให้สัมผัสถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย กาบหมากสร้างรายได้ให้คนในชุมชนจริงๆ และการทำข้อมูลจะทำให้เห็นชัดมากขึ้น
ฐานที่ 2 รวบรวมวัตถุดิบที่ถูกส่งต่อจากฐานที่ 1 การเก็บสต๊อคเพื่อรอการผลิตจากเครื่องปั๊ม ตรงนี้พวกเราได้มีโอกาสทดลองปั๊มจานกันทุกคน และโอกาสที่ดีที่ได้เจอกับผู้ผลิตเครื่องโดยตรง
ฐานที่ 3 ผลิตภัณฑ์ทำมือ ที่นี่มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมือมากมายหลายชิ้น ทุกชิ้นงานมีเรื่องเล่า ซึ่งเป็นเสน่ห์ของงานทำมือ เราได้เห็นชิ้นงานของกลุ่มในช่วงแรก การลองผิดลองถูก ความตั้งใจของทุกคนจนมาถึงวันนี้ และเช่นกันพวกเราทุกคนได้ลองทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม นั่นคือภาชนะทรงเรือ
ฐานที่ 4 เรียนรู้พันธุ์หมาก การขยายพันธุ์ และเส้นทางของหมากในแต่ละช่วง การวิจัยของกลุ่มกว่าจะได้ข้อมูลของหมากใช้เวลาถึง 7 ปี เรียกได้ว่าทุกรายละเอียดของหมากเลยทีเดียว ฐานนี้เป็นฐานสุดท้าย เรียนรู้การเพาะขยายพันธุ์หมากพันธุ์ดี การคัดพันธุ์ เทคนิค และวิธีการเพาะขยายพันธุ์หมาก ซึ่งหมากที่นี่มีทั้งหมากลูกดก หมากลูกใหญ่ หมากแบบกาบบาง
ขอขอบคุณกลุ่มกาบหมากราชกรูด ชุมชนอยู่ดีมีสุขทุกๆท่าน รวมทั้งผู้ประสานงานพี่หนุ่มพี่แจงที่ให้ความรู้อย่างละเอียดในทุกกระบวนการเรียนรู้ให้การต้อนรับด้วยมิตรไมตรีอย่างอบอุ่น
ที่นี่คือหนึ่งตัวอย่างที่ดีของชุมชนที่ขับเคลื่อนด้วยการนำข้อมูลองค์ความรู้การวิจัยของชุมชน องค์ความรู้ที่ผ่านการทดลองในทุกกระบวนการ ส่วนตัวชื่อว่ากระบวนการอย่างนี้ คือสิ่งสำคัญในการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งอย่างมีรูปธรรมที่ชัดเจน จากความตั้งใจของคนกลุ่มเล็กๆที่ร่วมสร้างสรรค์สังคมที่ดี สังคมแห่งการแบ่งปัน
Khao Salee เล่าความและบันทึกการเรียนรู้
ติดต่อสอบถามและติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ลิ้งค์นี้
Facebook page โลกบ้านฉัน at ควนหมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ ชุมชนพลเมืองสงขลากำหนดตนเอง Flagship Songkhla
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567