กิจกรรม 1.2 ของโครงการ SUCCESS พื้นที่ภาคใต้ เรียนรู้เครื่องมือเพื่อร่วมประเมินความปราะบางของเมือง
กิจกรรม 1.2 ของโครงการ SUCCESS พื้นที่ภาคใต้
วันที่ ๒๒ - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๓
รอบนี้มาพัทลุง ณ วังวาดี มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 6 แห่ง ได้แก่ เมืองบ่อยาง(ทน.สงขลา) เมืองปาดังเบซาร์ (ทม.ปาดังเบซาร์) เมืองพะตง(ทต.พะตง) เมืองควนลัง(ทม.ควนลัง) จ.สงขลา เมืองควนขนุน(ทต.โตนดด้วน) จ.พัทลุงเมืองละงู(ทต.กำแพง)จ.สตูล โดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป ผ่านมาทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และมีมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นเครือข่ายหลัก
กิจกรรมวันแรก รอบนี้เครือข่ายประชาสังคมสงขลา พัทลุง สตูลมาเยือนวังวาดี พัทลุง ต่อยอดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรอบแนวคิดของโครงการในกิจกรรม 1.1 ในเรื่องเมือง สถานการณ์จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน แนวโน้มอนาคต การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผันผวน ไม่แน่นอน(ปริมาณฝน อุณหภูมิ การเกิดของลมพายุมรสุม การขึ้นลงของน้ำทะเล) ระบบของเมือง(คน,หน่วยงาน,องค์กร/โครงสร้างพื้นฐาน ระบบนิเวศ ทรัพยากรฯลฯ/แนวปฎิบัติ แผน กฏหมาย นโยบาย) การประเมินความเปราะบางต่อกลุ่มประชากรชายขอบ คนยากจน คนพิการ ผู้สูงอายุ ฯลฯ บทบาทชาย/หญิง โดยเข้าสู่กิจกรรมที่ 1.2 การใช้เครื่องมือ วิธีการ และตัวชี้วัด และประยุกต์ใช้ในการประเมินความเปราะบางของชุมชนเพื่อการสร้างความพร้อมอย่างยั่งยืน
โดยมี 6 เมืองที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย
1.เมืองในจังหวัดสงขลา ได้แก่ เมืองบ่อยาง(ทน.สงขลา) เมืองปาดังเบซาร์ (ทม.ปาดังเบซาร์) เมืองพะตง(ทต.พะตง) เมืองควนลัง(ทม.ควนลัง)
2.เมืองในจังหวัดพัทลุง ได้แก่ เมืองควนขนุน(ทต.โตนดด้วน)
3.เมืองในจังหวัดสตูล ได้แก่ เมืองละงู(ทต.กำแพง)
กิจกรรมวันแรก ได้เรียนรู้การทำวิสัยทัศน์ของเมือง การกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนาให้บรรลุวิสัยทัศน์ เน้นการเพิ่มขีดความสามารถของภาคประชาสังคมให้เข้าใจกระบวนการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่อไป
วันที่สองและสามภาคประชาสังคมในพื้นที่สงขลา สตูล พัทลุงเรียนรู้เครื่องมือการประเมินความเปราะบาง 3 เครื่องมือ ประกอบด้วย
1)กรอบแนวคิดเพื่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาต้นทุนสำคัญ ประกอบด้วยทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนธรรมชาติ ทุนทางกายภาพและทุนการเงิน ใน 3 ระดับได้แก่ ระดับบุคคล/ครอบครัว ระดับชุมชน ระดับเทศบาล
2)เครื่องมือการประเมินตนเอง (UN-DRR LG-SAT) สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมี 10 คำถามสำคัญในด้านต่างๆที่จะใช้เตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ
3)การเตรียมความพร้อมของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จุดเน้นอยู่ที่บุคคล/องค์กร หน่วยงาน ระบบเมือง/โครงสร้างพื้นฐาน/ระบบนิเวศวิทยา วิถีปฎิบัติ/แผน/นโยบาย
โดยพิจารณาวิเคราะห์พร้อมกับทำตัวชี้วัดสำหรับผลลัพธ์ที่ต้องการ การใช้เครื่องมือที่ใช้ในระดับสากล เมื่อนำมาใช้จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจหลักคิด เพื่อนำมาปรับใช้ ปรับแต่งให้เหมาะสมกับพื้นที่ การมีกรอบคิดกำกับจะช่วยทำให้ประชาสังคมเพิ่มขีดความสามารถในการพิจารณา หลอมรวมความรู้จากการปฎิบัติที่มีติดตัว เปิดมุมมองให้รอบด้าน เห็นวิธีการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568