"ประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง" เริ่มกิจกรรมที่ ๑.๑

by punyha @7 ก.ย. 63 11:44 ( IP : 171...184 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x544 pixel , 67,240 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 119,547 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 146,178 bytes.
  • photo  , 959x1706 pixel , 119,963 bytes.
  • photo  , 828x620 pixel , 62,431 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 173,336 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 142,153 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 117,234 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 174,914 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 111,392 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 150,345 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 164,368 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 150,988 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 135,051 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 101,241 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 113,630 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 88,489 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 162,332 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 163,230 bytes.

"ประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง"

อีกหนึ่งภาคีที่มาช่วยกลุ่มเปราะบางทางสังคม

๔-๖ ก.ย. ๖๓เริ่มกิจกรรม ๑.๑ ของโครงการ SUCCESS พื้นที่ภาคใต้(สงขลา สตูล พัทลุง) ภายใต้การสนับสนุุนของสหภาพยุโรป โดยมีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย(TEI)เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และมีมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นเครือข่ายร่วมดำเนินการกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ ณ บูมฟอร์เรสรีสอร์ท อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

๑.เรียนรู้ความหมายของเมือง ขอบเขตพื้นที่ ซึ่งจะสัมพันธ์กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเมืองผ่านปัจจัยด้านกายภาพ(การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน) สังคม(การเพิ่มและเคลื่อนย้ายของประชากร) สิ่งแวดล้อม(แหล่งน้ำ อากาศ พื้นที่สีเขียว) เศรษฐกิจ(นโยบายการพัฒนา) จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน และคาดการณ์อนาคต

๒.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่พิจารณากับฤดูกาล อุณหภูมิ ปริมาณฝน การขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ลม/พายุ ในแต่ละเมืองว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรจากอดีตมาสู่ปัจจุบันและอนาคต เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

๓.บทบาทของหญิงและชาย ที่มีในครอบครัว ชุมชน เมือง และแม้แต่ในสถานการณ์ภัยพิบัติ (ภาคใต้ของประเทศไทยจะมีความเหลื่อมล้ำเป็นพิเศษ ทั้งจากค่านิยมและหลักศาสนาที่ถูกแปรเป็นแนวปฎิบัติสืบทอดกันมา)

๔.การประเมินความเปราะบางของเมืองที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยดูองค์ประกอบ ๑)คน/องค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนจน คนชายขอบ ๒)ระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศ เช่น ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า ระบบคมนาคม ระบบพลังงาน ระบบอาหาร ฯลฯ ๓)วิถีปฎิบัติ แผน นโยบาย กฏหมาย

แกนนำจำนวน ๒๐ กว่าคนแต่ละเมือง(จังหวัด) ร่วมระดมความคิดแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม โดยสงขลามาจากบ่อยาง ปาดังเบซาร์ พะตง หาดใหญ่ นำภาพเมืองระดับจังหวัดมาเป็นโจทย์เพื่อการเรียนรู้ พัทลุงเลือกเมืองควนขนุน สตูลเลือกเมืองละงู

ใช้เวลา ๒ คืน ๒ วันครึ่งในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมในภาพรวมทั้ง ๕ ปี และระดมความเห็นตามหัวข้อหลักที่ทีมกลางนำแนวคิดหลักทั้งจากทฤษฎีสากลและการปฎิบัติมาพัฒนาเป็นกรอบคิดในแต่ละช่วง สลับกับการนำเสนอ ร่วมอภิปราย ดึงความรู้จากแต่ละคนมารวมกันสร้างความรู้ใหม่ และปิดท้ายด้วยการสรุปแกนความรู้จากดร.ผกามาศ TEI ที่ส่งเสียงมาเป็นคลิปและ Skypeมาจากออสเตรเลีย บางช่วงให้ฝึกวิเคราะห์ระบบน้ำ เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของคน(โดยเฉพาะคนชายขอบ คนเปราะบาง)กับระบบของเมืองผ่านระบบพื้นฐานต่างๆ และเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเชื่อมโยงเชิงระบบนี้จะเป็นความรู้ใหม่ มุมมองใหม่จะเพิ่มขีดความสามารถให้กับประชาสังคมในการมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองของตน

ใช้พลังกันไปไม่น้อย แต่ทุกคนก็ช่วยกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้สนุกสนาน เฮฮา ครบทุกรส (แถมมีเคกฉลองวันเกิดให้อีกด้วย)การเชื่อมโยงนี้จะทำให้มองเห็นตัวเองกับเมือง กับความเปราะบางของเมืองในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เห็นจุดอ่อนของระบบ เห็นจุดอ่อนในการทำงานของแต่ละองค์กร หน่วยงาน เห็นบทบาทของหญิง/ชาย และผู้คนชายขอบที่ตกหล่นจากการพัฒนา การแก้ปัญหา และร่วมกันประเมินความเปราะบางเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ของเมือง ในกิจกรรมต่อไป

พบกันรอบหน้าที่พัทลุงครับ

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน