"การเตือนภัยน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่"

by punyha @5 ส.ค. 63 11:02 ( IP : 171...8 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
photo  , 960x540 pixel , 78,226 bytes.

"การเตือนภัยน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่"

โดยทั่วไป ภัยน้ำท่วมมักจะเกิดช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเคยเกิดน้ำท่วมหนักกับเมืองหาดใหญ่มาแล้วเมื่อปี 2531 และ ปี 2543และ ปี 2553 ปัจจัยสำคัญ คือ เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือมีพายุหมุนเขตร้อนพัดผ่าน เข้าทางภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และเกิดน้ำหลากจากภูเขาลงสู่คลองอู่ตะเภา

คลองอู่ตะเภาที่ไหลผ่านเมืองหาดใหญ่ มีต้นน้ำอยู่ที่ อ.สะเดา จ.สงขลา มีคลองสาขาที่สำคัญ คือ คลองสะเดา คลองหล้าปัง ซึ่งเป็นสาขาลุ่มน้ำอู่ตะเภาตอนบนไหลมารวมกันทางตอนบนของบ้านคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และยังมีคลองสาขาในลุ่มน้ำอู่ตะเภาตอนล่าง คือ คลองตง คลองประตู คลองหลา คลองจำไหร ไหลลงสู่คลองอู่ตะเภาตอนล่าง ที่บ้านบางศาลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

สภาพภูมิประเทศของเมืองหาดใหญ่ พื้นที่ต่ำสุดของเทศบาลนครหาดใหญ่ บริเวณเขต 8 โดยมีชุมชนวัดโคกอยู่ต่ำที่สุด รทก. 4.7 เมตร พื้นที่สูงสุด รทก 7.4 เมตร บริเวณศุภสารรังสรรค์/ช่องเขา บริเวณเนินเขา มอ เมื่อฝนตกทั้งลุ่มน้ำ น้ำที่ไหลหลากจาก อ.สะเดาเข้ามาตามคลองอู่ตะเภา และไหลท่วมพื้นที่หาดใหญ่

ปี 51 พฤติกรรมของน้ำที่เข้าท่วมในเขตพื้นที่หาดใหญ่

1.น้ำจากทิศตะวันออกของเมือง ทางเทือกเขาคอหงส์ เทศบาลเมืองคอหงส์ เข้าท่วมพื้นที่ด้านทิศตะวันออก ถนนสามแยกคอหงส์ ภาสว่าง บางส่วนเข้าคลองเรียน แล้วขึ้น 30 เมตร จากนั้นช่วงบ่ายน้ำจากคลองต่ำ คลองวาด โจมตีหาดใหญ่ ท่วมบางแฟบ หาดใหญ่ในโซนบางหัก เข้าชุมชนวัดโคก ตอนเย็นน้ำสมทบจาก อ.นาหม่อม เข้ามาทางคลองหวะ บางส่วนเข้าจันทร์วิโรจน์

2.ทัพหลวง น้ำจากสะเดา เทศบาลใช้กระสอบทราย เครื่องสูบน้ำเพื่อผันน้ำเลี่ยงเมือง

ปี 52 สองรอบ ต้นเดือน-ปลายเดือน ส่วนใหญ่ท่วมหาดใหญ่ใน โลตัสหาดใหญ่ในถึงที่ว่าการอำเภอ (พื้นที่ระหว่างคลองอู่ตะเภา-คลอง ร.1)

1.น้ำรอบแรกจากคลองต่ำ คลองวาด น้ำจากทิศตะวันตก (น้ำจากพรุชบา/โตนงาช้าง) ไหลเข้าชุมชนหาดใหญ่ใน บางแฟบ เทศาพัฒนา ช่วงเย็นน้ำจาก อ.นาหม่อม ช่วงหนึ่ง-สองทุ่ม น้ำเข้าคลองเรียน เข้า 30 เมตร และศุภสารรังสรรค์

2.ทัพหลวง น้ำจากสะเดา

3.น้ำจากคลองอู่ตะเภา

ปี 53 ทิศทางน้ำเหมือนปี 51

สรุปรูปแบบน้ำท่วมหาดใหญ่ ตอนเช้าน้ำจากทิศตะวันออก (คลองต่ำ คลองวาด) ตอนเย็นน้ำจาก อ.นาหม่อม ช่วงกลางคืนน้ำจากคลองอู่ตะเภา สถิติปริมาณน้ำ 1,623 ลบ.ม./วิ ชลประทานผันน้ำเข้าคลองอู่ตะเภา 930 ลบ.ม./วิ เมื่อน้ำเกินการรองรับก็ผันน้ำเข้าคลอง ร.1 465 ลบ.ม./วินาที  น้ำส่วนเกินปริงข้ามคันกั้นน้ำเข้ามาท่วมพื้นที่หาดใหญ่

พื้นที่น้ำท่วมหนักในเทศบาลนครหาดใหญ่ (สีม่วง) ได้แก่ ชุมชนโชคสมาน อ้อมลอดทางรถไฟ เข้าเทศบาลเมืองคลองแห วกกลับเข้ามาตรงโค้งรัถการ ตรงหมู่บ้านลับแล ไหลกลับเข้ามาตรงโค้งรัถการ ไหลบ่าเข้าวัดเกาะเสือไปอนุสรณ์อาจารย์ทองก็จะลงคลองเตย ท่วมพื้นที่เทศบาลเมืองคลองแห

เขตเศรษฐกิจย่านใจกลางเมือง ระดับน้ำท่วมประมาณ 2 เมตร สาย 1,2,3

พื้นที่ปลอดภัยมากที่สุด บริเวณ มอ. ช่องเขา

โซนพื้นที่น้ำท่วม

1.โซน 1 พื้นที่ระหว่างคลองอู่ตะเภา – คลอง ร.1

2.โซน 2 คลองอู่ตะเภาเข้ามาถึงทางรถไฟ

3.โซน 3 ทางรถไฟถึงถนนกาญจนวนิชย์

จุดแรกที่น้ำเข้าเขตเมือง บริเวณหลัง รร.อนุบาลในฝัน (มีคันน้ำที่เทศบาลก่อสร้างบางส่วน บางส่วนเป็นคันดินเนื่องจากไม่ได้รับบริจาคที่ดิน) น้ำเซาะมาถึงถนนสันติราษฎร์ เมื่อมาถึงคูระบายน้ำเทศบาลน้ำมุดท่อโผล่หน้า ญส. วิ่งตามคูระบายน้ำเพชรเกษม หน้าสภอ หาดใหญ่ ซอย 18 เพชรเกษม เพื่อวิ่งไปหาจุดที่ต่ำสุด หลังวัดโคก โชคสมาน

จุดที่สอง น้ำดันย้อนท่อเพชรเกษม หน้าที่ว่าการอำเภอ ที่มีตะแกรงดักขยะ ปั๊มสูบน้ำของเทศบาล น้ำบางส่วนย้อนท่อ ล้นกำแพงกั้นน้ำของเทศบาล น้ำไปสมทบกับจุดที่หนึ่งที่ไหลเข้ามา ไปตามเพชรเกษม แล้วไปรวมที่โชคสมานเหมือนเดิม

จุดที่สาม น้ำจากคลองหวะ เข้าจันทร์นิเวศน์ เลาะตามริมทางรถไฟ โผล่ตรงอุโมงค์ลอดศรีภูวนารถ น้ำมาสะสมที่อุโมงค์ ถัดจากนั้นน้ำเอ่อล้นอุโมงค์ บางส่วนเข้าเส้นท่อของเทศบาลก็จะย้อนกลับเข้ามาท่วมแถวหมู่บ้านดีแลนด์ปรักกริม บางส่วนวิ่งตามถนนราษฎร์อุทิศ สมทบกับชุดหนึ่ง ชุดสอง มุ่งตรงสู่โชคสมาน รัตนอุทิศ

จุดที่สี่ น้ำล้นคันกั้นน้ำแถวบางหัก เข้าโชคสมาน รัตนอุทิศ น้ำพยายามหาทางออก จะเข้าตัวเมืองให้ได้ จุดแรกบริเวณเพชรเกษมคูระบายน้ำตลาดกิมหยงวิ่งตรงสู่คลองอู่ตะเภา ลพบุรีราเมศวร์ บิ๊กซี น้ำจะวิ่งกลับเข้ามาท่วมหมู่บ้านลับแลโค้งรัถการ

การเตือนภัยน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ ใช้ข้อมูลทางอุทกวิทยา จากสถานีวัดระดับน้ำและปริมาณน้ำที่บ้านม่วงก็อง (สถานี X.173A) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหาดใหญ่ที่บริเวณ ปตร.อู่ตะเภาทางเหนือน้ำ ประมาณ 36 กิโลเมตร (กรณีน้ำท่าในลุ่มน้ำอู่ตะเภาตอนบน) และใช้ข้อมูลทางอุทกวิทยาจากสถานี วัดระดับน้ำและปริมาณน้ำที่บ้านบางศาลา (สถานี X.90) ซึ่งห่างจากเมืองหาดใหญ่ที่บริเวณปตร.อู่ตะเภาทางเหนือน้ำ ประมาณ 10 กิโลเมตร (กรณีน้ำท่าในลุ่มน้ำอู่ตะเภาตอนล่าง)

ทั้งนี้ระบบการเตือนภัย จะมีคณะอนุกรรมการคณะทำงานด้านวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์น้ำและประชาสัมพันธ์ และแจ้งเตือนภัยจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจังหวัด เป็นกลไกในการประเมินสถานการณ์และรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเทศบาลนครหาดใหญ่ต่อไป  เฉพาะในพื้นที่คลองอู่ตะเภา ได้มีการกำหนดเงื่อนไขในการยกธงเหลือง และธงแดงเพื่อการเตือนภัยไว้เพื่อเป็นข้อตกลงเบื้องต้น

ปัจจุบัน ข้อมูลดังกล่าวอาจใช้ได้ประกอบการตัดสินใจ โดยพิจารณาปัจจัยอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย หมายเหตุ ภาคเอกชนในเมืองได้ร่วมกันพัฒนา Application : Climate city เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและเตือนภัยอุทกภัย อันเป็นผลกระทบจากธรรมชาติและภาวะโลกร้อนที่กำลังคุกคามเมือง

เป็นอีกระบบที่เมืองควรมี

ชาคริต โภชะเรือง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน