"เครือข่ายท้องถิ่นร่วมพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน จังหวัดสงขลา"

by punyha @15 ก.ค. 63 18:52 ( IP : 124...154 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x540 pixel , 56,258 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 73,135 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 72,796 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,643 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 46,653 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,881 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 35,533 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 45,071 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 71,503 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 54,724 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 64,646 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 50,759 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 52,418 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 55,103 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 37,903 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 60,574 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 47,784 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 62,295 bytes.

"เครือข่ายท้องถิ่นร่วมพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน จังหวัดสงขลา"

วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓  นัดแกนนำเครือข่ายตำบลในสงขลาที่ดำเนินการธรรมนูญตำบลน่าอยู่ภายใต้การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาผ่านมาทางมูลนิธิชุมชนสงขลามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน

๑.ขับเคลื่อนภายใต้หลักคิด เก้าอี้ ๔ ขา คือ ภาคประชาชน/เอกชน ภาควิชาการ ภาครัฐ(ส่วนท้องถิ่น) และภาครัฐ(ส่วนภูมิภาค) เดินไปด้วยกัน โดยมี Platform กลางเชื่อมโยงแต่ละภาคส่วนให้ทำงานร่วมกัน คือ ๑)กลไกกลาง ที่มาจากฝ่ายนโยบายและระดับปฎิบัติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละภาคส่วน๒)ข้อมูลกลาง นำมาสู่การจัดการความรู้ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ๓) กติกากลาง มีทั้งแผนงาน/ยุทธศาสตร์ใช้ร่วมกันของหน่วยงาน และธรรมนูญที่จะเป็นกติกาให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมปฎิบัติ ๔)กองทุนกลาง สร้างความเข้มแข็งและลดช่องว่างที่หน่วยงานต่างๆดำเนินการไม่ได้

ซึ่งต้องค่อยๆ สร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ร่วมกันเป็นการเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมการทำงานของแต่ละองค์กร

๒.ร่วมสร้างพื้นที่ตำบลต้นแบบ จึงควรมีกลไกกลางในการหนุนเสริมการทำงานบูรณาการ มีระบบข้อมูลรายบุคคลที่เป็นฐานข้อมูลหลักเดียวกัน มีการทำแผนร่วมกับภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล ครอบคลุมในเรื่องสุขภาพ (ส่งเสริม ป้องกัน รักษา) สังคม(สิทธิพื้นฐาน ปัจจัย ๔ การจัดตัั้งกองทุนกลาง การเปิดรับบริจาค ซะกาต การหมุนเวียนของใช้มือสอง ฯลฯ) และเศรษฐกิจ(วิสาหกิจเพื่อสังคม ลดรายจ่าย สร้างรายได้)

๓.แนะนำแอพพลิเคชัน iMED@Home หนุนเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม(คนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากลำบาก)โดยเก็บข้อมูลเข้าระบบ ซึ่งระบบสามารถเรียกดูข้อมูลได้ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด เขต ที่มีตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลคนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากลำบาก แผนที่ และการเยี่ยมบ้าน ซึ่งโครงสร้างการทำงาน จะมีแอดมินระดับพื้นที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ปฏิบัติทั่วไป(CG อสม. อพม. ชมรม กลุ่มจิตอาสา) แอดมินสามารถเห็นและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในการทำงานจะมีการอบรมจิตอาสาในการเยี่ยมบ้าน บันทึกภาพสำรวจความต้องการ การวัดสัญญาณชีพ ดัชนีบาร์เทล

นอกจากนั้นยังมีระบบกลุ่ม เป็นไปตามยุทธศาสตร์แต่ละด้าน หรือกลุ่มประเด็น โดยแอดมินตั้งกลุ่ม ดึงสมาชิกที่มาจากแต่ละหน่วยงาน และดึงกลุ่มเป้าหมายเข้ามาในกลุ่ม ทำแผนร่วมกัน โดยเน้นระบบ careplan คุณภาพชีวิตรายบุคคล โดยมีพื้นที่อบต.คูหาและอบต.ทับช้างนำร่องฯ

กลไกลางจะทำหน้าที่นำข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวางแผนในการช่วยเหลือต่อไปได้ อาจเชื่อมโยงไปยังตำบลหรือระดับอำเภอ จังหวัด เพื่อสนับสนุนการทำงานในระดับพื้นที่ ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานในหลาย ๆ ภาคส่วน

๔.แอพพลิเคชั่นกรีนสมาย เชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้สนับสนุนให้มาทำงานร่วมกัน ในส่วนผู้ผลิตเน้นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS การทำงานมีการลงตรวจและรับรองแปลง โดยใช้ธรรมนูญเครือข่ายเกษตรสุขภาพ เป็นกรอบทิศทางการสนับสนุน เกษตรกรหรือกลุ่มที่ผ่านจะมีการออกคิวอาร์โคดให้ มีข้อมูลรายละเอียดผลผลิตแต่ละแปลง และสามารถสั่งจองสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ กำลังพัฒนาร่วมกับ ธกส. ต่อยอดไปถึงธนาคารต้นไม้และสวนยางยั่งยืน เชื่อมโยงกับมาตรฐาน FSC ร่วมกับบริษัทพัทลุงรับเบอร์เทคส่งออก ตอนนี้มีแปลงต้นแบบที่รัตภูมิประมาณ ๒๕ แปลง และร่วมกับจังหวัดสงขลาในการจัดทำข้อมูลกลางของเกษตรกร โดยพัฒนาระบบข้อมูลกลางของเกษตรกร เพื่อให้รู้ว่ามีผลผลิตกี่ประเภท มีอะไรอยู่บ้าง ตอนนี้มีข้อมูลอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ แปลง

๕.ประเด็นขับเคลื่อน หนนเสริมวิสัยทัศน์สงขลา ๒๕๗๐

๕.๑ ในด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนเกษตรและอาหารสุขภาพ ประกอบด้วยตำบลควนลัง มีกิจกรรมเด่นคือ ตลาดรถเขียว Moblie

๕.๒ ด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ตำบลแคขับเคลื่อนธรรมนูญในการจัดการขยะ โดยเชื่อมโยงกับกลุ่มเยาวชน สร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนคือกิจกรรม ECO-BRICKS โดยนำขยะจากเปลือกขนมมาบรรจุในขวดพลาสติก อบรมสอนวิธีการให้เด็กได้ฝึกการทำ ECO-BRICKS สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยให้คนในชุมชนเป็นผู้ช่วยติดตามการทำกิจกรรมของเด็ก สร้างกิจกรรมกระตุ้นโดยการนำไข่มาแลกกับ ECO-BRICKS

เทศบาลตำบลโคกม่วงทำกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล และขายเสื้อผ้ามือสอง นำเงินไปเข้ากองทุนขยะมีบุญดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม ที่นี่นำขยะที่เป็นหลอดน้ำแข็งไปทำเป็นหมอนหลอด เพื่อเป็นหมอนในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ไม่มีไรฝุ่น ไม่เหม็น โดยร่วมกับมอ.ซึ่งมอ.ทำหน้าที่รับขยะที่เป็นหลอดน้ำแข็งไปทำความสะอาดให้ ในการนำหลอดมาตัดเพื่อใช้ประโยชน์ต้องตัดหลอดให้เสมอกันไม่ให้เป็นเหลี่ยม และใส่ปลอกหมอนให้หนาขึ้น และทดลองใช้ผ้าอ้อมซักได้ ร่วมกับพม และอบจ จัดทำธนาคารแพมเพิส

อบต.ปากรอเน้นด้านอาหารปลอดภัย จัดตั้งกลุ่มปลูกผักบริโภคกันในชุมชน ความคาดหวังคือ ใช้กิจกรรมการปลูกผักเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในชุมชนให้กลับคืนมา

เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำดำเนินการในเรื่องของผู้สูงอายุ และเรื่องของสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการพระราชดำริ ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ใช้พื้นที่ถนนเฉลิมพระเกียรติโดยปลูกต้นทองอุไร ตลอดเส้นทาง และสร้างพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ถนนเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่ระยะทาง ๖ กิโลเมตร คนในชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์

๕.๓ สังคมเป็นสุข เน้นการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม มีพื้นที่เด่นได้แก่

อบต.ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย การทำงานเริ่มแรกต่างคนต่างทำ ได้มีข้อตกลงภายในสำนักปลัด เชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกัน มีข้อตกลงว่าในสัปดาห์หนึ่งๆจะมีคนรับผิดชอบหลักหนึ่งคน และวันที่เหลือมีทีมมาสนับสนุนการทำงาน มีทีมลูกจ้าง แบ่งทีมลงทำงานกับชุมชน โดยต้องมีคนที่ลงเก็บข้อมูลถึงบ้าน ต้องมีการวิเคราะห์ให้ได้ว่า แต่ละเคสจะมีการวางแผนการช่วยเหลืออย่างไร มีการทำ careplan ของพื้นที่ เป็นcareplanคุณภาพชีวิต ใช้คนหนึ่งคนเป็นตัวตั้ง โดยร่วมกับทีมเก็บข้อมูล อสม. CG และผู้ช่วยนักกายภาพ โดยผู้บริหารให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีในการทำงานแบบบูรณาการ

การกลั่นกรองข้อมูลได้จัดเวทีเล็ก ๆ พูดคุยทีละหมู่บ้าน นำรายชื่อกลุ่มเปราะบางจากผู้นำแต่ละหมู่บ้าน มานั่งดูกัน เพื่อสร้างการยอมรับในกลุ่มเปราะบาง และสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน แลกเปลี่ยนร่วมกัน จนเกิดเป็นข้อสรุป และแบบฟอร์มที่สำรวจจะมีผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อสม.เซ็นต์รับรองทุกคน

ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง ในช่วงสถานการณ์โควิด นำข้อมูลจากฐานข้อมูลคนยากลำบากไปสู่การพัฒนาเป็นการช่วยเหลือ “ปิ่นโตตุ้มตุ้ย” โดยมีการดำเนินการ ๖ ครัว และมีครัวกลาง เพื่อช่วยเหลือด้านอาหารให้กับกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ให้ได้มีอาหารกินครบทุกมื้อเป็นเวลา ๕๐ วัน

อบต.ควนโส อำเภอควนเนียง ต่อยอดธรรมนูญผู้สูงอายุ ด้วยการเยี่ยมผู้สูงอายุ โดยกำหนดอายุ ๗๐ ปีขึ้น เนื่องจากจะได้ดูเรื่องสุขภาพ ความเป็นอยู่ มีชุดอาหาร ประกอบด้วยนม ไข่ ข้าวสาร และร่วมกับอบจ./พมจ.ช่วยเหลือสร้างบ้านตัวอย่างของคนพิการ

อบต.ท่าชะมวง ใช้แอพพลิเคชั่น iMed@home เป็นเครื่องมือสำรวจข้อมูล เชื่อมโยงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในการสร้างฐานอาหารปลอดภัย

เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ ใช้ธรรมนูญพหุวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนขบวนการของตำบล เชื่อมโยงวัด มัสยิด ชุมชน ซึ่งเป็นทางออกของสภาองค์กรชุมชนในการทำงานร่วมกัน โดยชมรมเพื่อนพึ่งพิง นำคนที่มีความสามารถทุกคนทุกกลุ่มมาร่วมกัน ประสานเพื่อขับเคลื่อน ที่นี่มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือการนำเงินซะกาต มาสู่การทำแคร์แพลน โดยใช้กองทุนซะกาตส่วนตัว ปีละประมาณ ๕๐,๐๐๐ - ๖๐,๐๐๐ บาท เพื่อให้ครอบครัวที่ลำบากดำรงชีวิตได้ เช่น มีการลงทุนให้ทำกิจกรรมขายไก่ทอด มีข้อตกลงจากผู้นำศาสนา เพื่อให้ดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่เหมาะสม สร้างอาชีพให้มีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งบางครั้งประสานงานกับหน่วยงาน การประชาสัมพันธ์ การจัดหาทำเลเหมาะสม การช่วยเหลือทุนบุตรหลาน ให้ความรู้ช่องทางในการศึกษา หรือกรณีครอบครัวที่อยู่ในประเทศมาเลเซียแล้วตกงาน ใช้กองทุนซากาต ช่วยเหลือด้านอาชีพหลังจากตกงานจากสถานการณ์โควิด

ที่นี่มีข้อมูลกลางที่ใช้ร่วมกันกับท้องถิ่น และองค์กรต่าง ๆ มีกิจกรรมหลักๆ คือ การช่วยเหลือคนยากลำบากในพื้นที่ ทำงานร่วมกับวัด มัสยิด โรงเรียน มีกิจกรรมนำโต๊ะอิหม่าม เจ้าอาวาส คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพมาให้ความรู้กับเด็ก หมุนเวียนกันไป มีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง ดำเนินการในเรื่องการช่วยเหลือภายใต้สถานการณ์โควิด ร่วมกับชุมชนและทีมงาน "ขาใหญ่" ในพื้นที่เพื่อช่วยกันดูแล


ชาคริต โภชะเรือง  รายงาน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน