ประชุมสามัญประจำปี ๒๕๖๒ มูลนิธิชุมชนสงขลา

  • photo  , 1477x1108 pixel , 150,986 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 147,480 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 169,885 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 178,164 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 174,195 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 132,457 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 164,232 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 104,852 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 110,156 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 124,495 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 114,701 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 117,675 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 117,248 bytes.

ประชุมสามัญประจำปีมูลนิธิชุมชนสงขลา

วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓

ย่างเข้าปีที่ ๑๑ ของการทำงาน ปัจจุบันมีกรรมการทั้งสิ้น ๑๒ ท่าน มาจากภาคส่วนต่างๆทั้งราชการ เอกชน ประชาสังคม ผู้นำศาสนา ย้อนมองกลับไปจากวันที่ก่อตั้งมาจนถึงวันนี้ บวกกับมองอนาคตหลังยุคโควิด มีแง่มุมที่น่าสนใจก็คือ

๑.องค์ประกอบของกรรมการมาจากภาคเอกชน(จุดเด่นการบริหารจัดการ การประสานงาน การยอมรับจากสังคม) ภาคประชาสังคม(จุดเด่นอยู่ที่กระบวนการ ความเข้าใจปัญหาทางสังคม การทำงานเชิงคุณภาพ) ภาครัฐ(จุดเด่นอยู่ที่ภารกิจ อำนาจหน้าที่ตามกฏหมาย การยอมรับ) ทั้งหมดนี้คือคนที่อยู่ในพื้นที่อย่างยาวนาน ไม่ได้ไปไหน มีแนวคิดจะค้นหากรรมการที่มาจากคนรุ่นใหม่ ผู้นำทางศาสนาอิสลาม เข้ามาเพิ่มให้ครอบคลุม

๒.การทำงานประชาสังคม มักมองข้ามอำนาจด้านเศรษฐกิจ องค์กรการเงินชุมชนเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลง องค์กรแบบสหกรณ์ฯ เหล่านี้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเข้าระบบทุนนิยม ทั้งที่แนวคิดคนละทางกัน จึงควรพัฒนาทางเลือกขององค์กรการเงินชุมชน องค์กรแบบสหกรณ์ ฯลฯ กรณีที่มีเงินในระบบจำนวนมากไปลงทุนหรือทำธุรกรรมที่ไม่เข้าไปในระบบทุน(เช่น กรณีคลองจั่น การบินไทย การมีปัญหาร้องเรียนเรื่ององค์กรการเงินชุมชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบของราชการ) นี่คือช่องว่างของการยกระดับปากท้องทางเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มที่มีแนวคิดพึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือกันแบบเครือข่าย มีข้อเสนอให้พัฒนาระบบคูปองหรือ "เงินสงขลา" วิจัยต่อยอดจากกรณีเงินกุดชุม ที่สามารถหมุนเวียนเงินทุนให้อยู่ในพื้นที่ ไม่ได้ส่งเงินไปตลาดภายนอกหรือต่างชาติ และสร้างตัวอย่างองค์กรการเงินที่ดี มีระบบบัญชีที่ดี มีการบริหารจัดการที่สามารถเป็นตัวอย่าง

๓.การสร้างกองทุนเพื่อความยั่งยืน วางระบบการจัดการที่จะจัดหารายได้ ระดมทุนเข้าสู่กองทุนฯ เพื่อให้องค์กรมีความเข้มแข็งในระยะยาว ปัจจุบันเรามีกองทุนย่อยสนองตอบวัตถุประสงค์ช่วยเหลือดูแลสังคมในด้านต่างๆ แต่ในส่วนมูลนิธิฯเองยังไม่มี

๔.สื่อสารกับสังคมถึงผลงานที่ผ่านมาให้มากขึ้น  มูลนิธิฯทำงานแบบปิดทองหลังพระ ประกอบกับแนวคิดการสร้าง "สนามพลัง"(Platform) ที่มุ่งเน้นการเชื่อมประสานหน่วยงานต่างๆที่มีภารกิจของตนมาทำงานร่วมกัน โดยมูลนิธิฯเข้าไปเติมช่องว่างของระบบนั้นๆโดยเครื่องมือสนับสนุน ได้แก่ ฐานข้อมูล(www.ข้อมูลชุมชน.com  App: iMed@home, Greensmile, city climate) เวทีกลาง กลไกกลางของประเด็น/พื้นที่ และเน้นสร้างรูปธรรมต้นแบบ ก่อนที่จะนำไปขยายผลในเชิงนโยบาย (เช่น จัดเลี้ยงแบบบริการตนเองในงานพิธี, สวนผักคนเมืองที่พัฒนาไปสู่เครือข่ายเกษตรสุขภาพ ตลาดกรีนสมาย ตลาดรถเขียว, การดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม ฯลฯ) ไม่ได้อยู่ในกระแสหลักของการพัฒนา

๕.การสื่อสารสัมพันธ์ภายในยังมีความจำเป็น กรรมการของมูลนิธิฯมาจากหลายภาคส่วน แต่ละบุคคลยังมีองค์กรของตนเองแตกยอดออกไป(เช่น บ.ประชารัฐฯ มูลนิธิSCCCRN มูลนิธิอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ มูลนิธิภาคใต้สีเขียวโครงการ Node flagship สสส. ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ) จึงควรมีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการมากขึ้น อย่างน้อยเดือนละครั้ง เสริมหนุนการทำงานกันและกัน

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน