"ห้องเรียนสวนผักคนเมือง on zoom ครั้งที่ 6"

  • photo  , 1280x720 pixel , 146,870 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 45,093 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,153 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,800 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,123 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 76,914 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 75,616 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 73,822 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 87,400 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 90,210 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,815 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 50,745 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 50,110 bytes.

"ห้องเรียนสวนผักคนเมือง on zoom ครั้งที่ 6"

วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓

รอบนี้ครูไก่ วุฒิศักดิ์ เพ็ชรมีศรี นำเสนอการปลูกผักประจำครัวที่ใช้ล้อยางเป็นหลัก เสริมด้วยกระสอบ ปลูกแบบผักหลากหลายในแปลงเดียวกัน มีทั้งไม้สมุนไพรประกอบเพื่อลดปัญหาแมลงรบกวน

ป้าทุม ป้าหมาย บังสวาสดิ์ ลุงยูร ช่วยกันในการสอนการเพาะถั่วงอกที่ใช้เวลา 3 วันก็ได้ทาน ตั้งแต่การเลือกถั่วเขียว การใช้ตะกร้าขนมจีน ตะกร้าเพาะโดยใช้ได้ทั้งกระดาษทิธชูซ้อนกันหลายชั้นในกรณีถาดขนมจีนหรือผ้าหนาในกรณีตะกร้า รองก้นโรยเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่านการแช่น้ำอุ่น 1 คืนแล้วล้างน้ำเย็นอีก 2 รอบ โรยเมล็ดถั่วแล้วใช้ผ้าหนาคลุม รดน้ำ เช้า เที่ยง เย็น จนน้ำที่ไหลผ่านเอามือรองไว้จนน้ำที่รดมีความเย็นปกติ เท่านี้ก็ได้ถั่วงอกสดๆหวานกรอบไว้บริโภค

เหมาะสำหรับคนอยู่บ้านรับโควิด และสำหรับมือใหม่ที่หัดปลูกผัก เริ่มจากเพาะต้นอ่อนที่ใช้เวลาไม่นาน...ถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน ผักบุ้ง ผักคะน้า

คุณอนุวัต ลัภกิตโรแห่งสวนปันสุข เล่าประสบการณ์การเริ่มต้นปลูกผัก การเลี้ยงไก่ 200 ตัวในคอกหลังบ้าน ที่นำขี้ไก่มาย่อยเปลือกทุเรียนจากตลาดจนได้ปุ๋ยหมักมาปลูกผัก ได้ทั้งปุ๋ยและไข่สร้างรายได้ รวมไปถึงการส่งผักตามเส้นทางรถผ่านในแต่ละวัน ปรับตัวในช่วงตลาดหลักปิดหรือมีลูกค้ามาน้อยลง โดยส่งตรงให้ถึงมือผู้บริโภคที่บางรายมีการฝากซื้ออาหารอื่นส่งให้อีกด้วย

เรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคผักของคนเมืองที่ชอบทานไม่กี่ชนิด ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว ตลาดเคลื่อนที่หากมีอาหารอื่นไปด้วยก็ควรเป็นข้าว อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุง และไม่สนใจผักพื้นบ้าน การบริโภคมีความแตกต่างระหว่างคนเมืองจริงๆกับคนที่ผ่านชีวิตทั้งชนบทและเมือง คนเมืองจะกินถั่วและแตงกวาเป็นเครื่องเคียง ส่วนคนชนบทจะกินผักพื้นบ้านเป็นเครื่องเคียง

พร้อมเชื่อมประสานทีม node flagship สสส.ยะลา มาร่วมเรียนรู้การปลูกผักปลอดภัยที่จะเป็นหนึ่งในประเด็นสนับสนุนงบประมาณ จะได้เป็นเครือข่ายความร่วมมือกันต่อไป

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน