ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 21
ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 21
โควิด ยายแดงปอดบวม เราจะ “รอด” ไปด้วยกัน
“ยายแดง(ชื่อสมมุติ) อายุ 80 เศษแล้ว ถูกพามาโรงพยาบาลส่งที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการเหนื่อยหอบ มีไข้ และไอ แพทย์ตรวจเบื้องต้นพบว่า มีเสียงในปอดที่เข้าได้กับโรคปอดบวม อาการก็ใช่ ส่งเอ็กซเรย์ก็ยืนยัน เช่นนี้ก็ต้อง admit นอนโรงพยาบาล” คำถามคือ “ยายแดงเป็นโควิดหรือเปล่า” “เราจะดูแลผู้ป่วยปอดบวมอย่างไรดี ในสภาวะโควิด” “หากยายแดงเป็นโควิด เจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินกี่คนหนอที่จะต้องถูกกักตัว 14 วัน”
โดยปกติ โรงพยาบาลทุกคนแห่งก็มีคนไข้ปอดบวมมารับการรักษาเกือบทุกวันหรือทุกสัปดาห์อยู่แล้ว ปอดบวมเกิดได้จากทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โรงพยาบาลชุมชนแห่งสามารถดูแลผู้ป่วยปอดบวมได้ หากมาพบแพทย์เร็ว อาการยังไม่มาก เราให้ยาปฎิชีวนะ ให้ยาพ่น ให้ออกซิเจน คนไข้ก็มักจะไม่กลายเป็นปอดบวมรุนแรงที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
ระบบการดูแลผู้ป่วยปอดบวมในยุคโควิดแตกต่างไปจากเดิม ที่โรงพยาบาลจะนะซึ่งก็เหมือนกับโรงพยาบาลอื่น เมื่อมีผู้ป่วยปอดบวม เราจะส่งตรวจ RT-PCR เพื่อหาเชื้อโควิด ระหว่างที่รอผลการตรวจราว 24 ช่วโมง ก็ต้องนำคนไข้ไป admit ห้องพิเศษหรือห้องแยกโรค ไม่ใช่ให้นอนรวมอยู่ในหอผู้ป่วยรวม เพราะหาก positive ขึ้นมา จะได้ไม่ต้องกักตัวกว้างขวางทั้งหมอพยาบาล ผู้ป่วยที่นอนในหอผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยด้วย
การพ่นยาให้ผู้ป่วยหอบก็เป็นประเด็น เพราะการพ่นยานั้นต้องมีการปั่นยาน้ำนั้นให้เป็นละอองฝอย ละอองฝอยนี่เองที่จะพาเชื้อโควิดไปได้ไกลกว่าการไอจาม การให้ผู้ป่วยพ่นยาในห้องแยกหรือห้องพิเศษจึงจำเป็นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย ในสภาวะที่ห้องความดันลบมีจำกัดเพียงโรงพยาบาลละ 1 ห้อง
ปัจจุบัน หากมีผู้ป่วยปอดบวมหรือสงสัยปอดบวม เราจะให้ผู้ป่วยเข้าพักในห้องพิเศษเสมอ โดยไม่เก็บเงินเพิ่ม จนเมื่อผลการตรวจหาเชื้อโควิดกลับมา หากผลเป็นลบจึงย้ายออกมาในหอผู้ป่วยปกติ หากผลเป็นบวกก็ย้ายไปนอนในหอผู้ป่วยโควิดต่อไป
และแล้ววันรุ่งขึ้น เมื่อผลตรวจเชื้อโควิดกลับมา แพทย์พยาบาลต่างก็อุทานว่า “รอด”
“รอด” ก็แปลว่าผลการตรวจเชื้อโควิดเป็นลบ ที่ว่ารอดก็เพราะ เราหมอพยาบาลไม่ต้องถูกกักตัวแล้ว เพราะตอนที่ผู้ป่วยเข้ามาในห้องฉุกเฉินนั้น การแต่งตัวและการตรวจโรคการทำหัตถการแทงน้ำเกลือเจาะเลือดผู้ป่วยนั้น ยังไม่รัดกุมพอ จะให้รัดกุมก็ไม่ไหว เพราะจะใส่ชุด PPE ในการดูป่วยที่ห้องฉุกเฉินหรือโอพีดีก็ใช่ที่
“ยายแดงและหมอ” เราจะรอดไปด้วยกัน
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ 26 เมษายน 2563
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567