ภารกิจ "ปิ่นโตตัุมตุ้ย"(Boyang Kitchen Frontlines)

by punyha @28 เม.ย. 63 11:50 ( IP : 171...187 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , ร่วมทำ
  • photo  , 807x960 pixel , 188,515 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 115,663 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 91,915 bytes.
  • photo  , 720x959 pixel , 133,308 bytes.
  • photo  , 720x959 pixel , 132,786 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 176,692 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 106,637 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 67,700 bytes.
  • photo  , 960x467 pixel , 97,112 bytes.
  • photo  , 466x960 pixel , 48,756 bytes.
  • photo  , 1835x892 pixel , 178,478 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 80,513 bytes.
  • photo  , 586x960 pixel , 118,097 bytes.
  • photo  , 586x960 pixel , 128,179 bytes.
  • photo  , 959x720 pixel , 128,648 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 99,963 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 103,062 bytes.
  • photo  , 742x960 pixel , 122,418 bytes.
  • photo  , 807x960 pixel , 164,715 bytes.

ภารกิจ "ปิ่นโตตัุมตุ้ย"(Boyang Kitchen Frontlines)

ผู้สนใจร่วมสมทบข้าวสาร อาหารแห้ง วัตถุดิบในการปรุงอาหารเพื่อการแบ่งปันอาหารแก่กลุ่มเปราะบางตามแนวทางของศูนย์บ่อยางฯติดต่อคุณบุณย์บังอร ชนะโชติ 083 538 9089

เรื่องเล่าปิ่นโตตุ้มตุ้ย

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2563 ครัวชุมชน 6 ครัวของศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ได้ทำการเปิดครัวชุมชนพร้อมกันตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 12.00 น.โดยมีกำหนดการวางปิ่นโต ณ จุดนัดหมายในช่วงเวลา 6-7 โมงเช้า เจ้าของปิ่นโต(กลุ่มเปราะบางที่ได้ผ่านการสำรวจรายชื่อไว้แล้ว)ที่ระบุไว้ยังป้ายคล้อง มารับปิ่นโตที่แม่ครัวบรรจุอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) ได้ตั้งแต่เวลา 10โมงเช้าจนถึงเที่ยง

รูปแบบการรับ - ส่งปิ่นโตที่ศูนย์บ่อยางฯ จัดตามมาตรการป้องกันโรค Covid -19 อย่างเคร่งครัด คือการสวมหน้ากากอนามัยและการรักษาระยะห่าง โดยมีแนวทางของแต่ละชุมชนดังนี้

-ครัวชุมชนแหลมสนอ่อน และครัวชุมชนหัวป้อมโซน 5 กำหนดให้วางปิ่นโตไว้ที่จุดนัดหมาย แล้วกลับไปรอที่บ้าน และจะมารับปิ่นโตกลับไปรับประทานที่บ้านได้ตั้งแต่ เวลา 10 น..จนถึงเที่ยงวัน

-ครัวชุมชนอีก 4 ครัว กำหนดให้มาวางปิ่นโตตามจุดที่กำหนดรับตั้งแต่ 7 โมงเช้า กลับไปรอที่บ้าน และให้มารับปิ่นโตกลับไปรับประทานที่บ้านได้ตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าโดยมีการเข้าแถวที่อาสาสมัครชุมชนเป็นผู้จัดระบบแถวการเว้นระยะห่าง (social distancing) และมีแกนนำชุมชนเป็นผู้ส่งมอบปิ่นโตตามป้ายชื่อที่ระบุไว้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ยอดผู้รับบริจาคอาหารจากครัวชุมชน 6 ครัวของศูนย์บ่อยางฯ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563 สรุปได้ดังนี้ -ผู้แจ้งลงทะเบียนล่วงหน้า จำนวน 307 ราย -ผู้ที่ไม่ได้แจ้งลงทะเบียนล่วงหน้า แต่ขอรับบริจาคอาหาร จำนวน 118 ราย รวมจำนวนผู้รับบริจาคทั้งสิ้น 425 ราย

ค่าใช้จ่ายที่ได้จากการประเมินราคาวัตถุดิบที่ได้รับบริจาคแล้วนำมาใช้ในการปรุงอาหารเมื่อวันที่ 25 เมษายนทั้ง 6 ครัวชุมชน) สรุปได้ดังนี้

-ข้าวสารที่ใช้ในครั้งนี้ จำนวน 30 กิโลกรัม ราคาประมาณ 750 บาท

-ไข่ไก่สด เบอร์ 2 จำนวน 360 ฟอง ราคาประมาณ 1,008 บาท

-ผักสดชนิดต่างๆจำนวน 88.40 กิโลกรัม ราคาประมาณ 2,475.20 บาท

-น้ำมันถั่วเหลือง จำนวน 12 ขวดลิตร ราคาประมาณ 516 บาท

-เครื่องปรุงรสจำนวน 4 รายการ ราคาประมาณ 800 บาท

ค่าใช้จ่ายรวมโดยประมาณ จำนวน 5,549.20 บาท

เฉลี่ยค่าใช้จ่ายรายหัวจากยอดผู้รับบริจาคอาหารจำนวน 425 รายจากครัวขุมชนทั้ง 6 ครัวของศูนย์บ่อยางฯ อยู่ที่ 13.05 บาทต่อราย

เมนูอาหารในวันที่ 25 เมษายน มีดังนี้

-ข้าวสาร แปรรูปเป็นข้าวสวยนึ่งใบเตยหอม โดยครัวแหลมสนอ่อนผลิตและส่งต่อครัวชุมชนอีก 5 ครัว

-ไข่ไก่สด มีเมนู ผัดไข่สวรรค์ (แหลมสนอ่อน) ไข่ดาว (กุโบร์/พาณิชย์สำโรง) ไข่เจียว (หัวป้อม 2 หัวป้อม) ไข่ผัดผักรวม (หลังวิทยาลัยอาชีวะ)

-ผักสดชนิดต่างๆ ปรุงเป็นเมนู ต้มจับฉ่ายไก่ (แหลมสนอ่อน) แกงคั่วไก่ป่า (หัวป้อมโซน 5) ผัดผักรวม (หัวป้อมโซน 1-4 /กุโบร์/พาณิชย์สำโรง/หลังวิทยาลัยอาชีวะ)

ข้อค้นพบจากการปฎิบัติภารกิจ "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" ของศูนย์บ่อยางฯ ในครั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ

1.สมาชิกในชุมชนมีการยอมรับระบบและการจัดระเบียบมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 70% ของประชากรแต่ละชุมชน

2.เกิดสังคมที่มีการแบ่งปันโดยไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากเกิดความเห็นใจและเข้าใจกันมากขึ้นในภาวะที่มีความเดือดร้อนแบบเดียวกัน

3.สมาชิกชุมชน ได้เกิดความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมต่อสังคมชุมชนของตนเองอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาทิ กลุ่มเด็กและเยาวชนของชุมชนหลังวิทยาลัยอาชีวะ ชุมชนกุโบร์และชุมชนพาณิชย์สำโรง ร่วมกันรับผิดชอบโดยการทำหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริจาคได้ตระหนักและปฎิบัติตามระเบียบมาตรการป้องกันและควบคุมโรค Covid - 19 อย่างเคร่งครัด นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นการจัดระเบียบสังคมชุมชนที่เป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน

4.เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในผู้นำธรรมชาติของชุมชนทั้ง 6 ชุมชนมากขึ้น

5.สุขภาพจิตของผู้รับบริจาคอาหารซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคมมากกว่า 20 รายมีสภาพที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กรณีตัวอย่าง ยายเริ่ม ที่ไม่เคยมีรอยยิ้มมานานมากแล้วด้วยความทุกข์ที่ทับถม แต่เมื่อมารับปิ่นโตจากป้านิชดา ผู้นำชุมชนพาณิชย์สำโรงพร้อมกับบอกเล่าว่า "ยายดีใจที่ได้รับความช่วยเหลือจริงๆแบบนี้ " ผลก็คือ ยายถูกขอถ่ายรูปพร้อมรอยยิ้มสวยๆ แลกปิ่นโตตุ้มตุ้ย

6.ชาวชุมชนทั้ง 6 ชุมชนได้รับรู้ว่า สังคมภายนอกได้มีความเอื้ออาทรและใส่ใจเป็นอย่างยิ่งในความทุกข์ยากของชาวชุมชนแออัดเมืองบ่อยาง สังคมไม่เคยทอดทิ้งผู้ยากไร้หรือกลุ่มเปราะบาง

7.เกิดการยอมรับสภาพความเป็นจริงแห่งชีวิตมากขึ้น เมื่อได้รับรู้ว่าตนเองมีที่พึ่งพิงที่เป็นแระชาชนด้วยกัน กล้าที่จะบอกเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นของตนเองให้ชุมชนได้รับรู้ กลัาที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้น และมีสติมากขึ้นกว่าเดิม ภารกิจ "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" ได้บอกเล่าในทางอ้อมว่า เมนูอาหารถูกปรุงขึ้นมาชนิดของวัตถุดิบที่รับบริจาคมา นี่คือ สภาพความเป็นจริง แต่เมนูต่างๆอร่อยได้ด้วยน้ำใจของผู้บริจาค ของทีมแม่ครัวที่ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีเพื่อให้ทุกคนได้กินอาหารที่รสชาติอร่อย สะอาดและปลอดภัย นอกจากนี้ "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" ยังได้บอกอีกว่า สังคมที่มีระเบียบวินัยจะปลอดภัยและมีความสุข

8.สมาชิกชุมชนทั้ง 6 ชุมชนที่ร่วมปฎิบัติภารกิจ "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" เกิดการยอมรับในหลักคำสอนของศาสนาที่ให้ยึดหลัก "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งได้มีการสืบสานต่อพระราชปณิธานดังกล่าวในรัชสมัยในหลวงรัชกาลที่ 10 และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของทุกคนในสถานการณ์ Covid - 19

หมายเหตุ ปฎิบัติการครัั้งนี้เพื่อทดสอบความพร้อม และจัดระบบการจัดการ จะมีการเปิดครัวอย่างเป็นทางการ 1 พค.เป็นต้นไป เนื่องจากชุมชนมีทุนของตนเองไม่มาก แต่ต้องการเปิดครัวทุกวันต่อเนื่อง จึงต้องการความช่วยเหลือสมทบวัตถุดิบจากทุกท่าน

ภารกิจ"ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" ของศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง

บุณย์บังอร ชนะโชติ 083 538 9089  ผู้บอกเล่า

เห็นด้วยช่วยแชร์ต่อ

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน