ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 12
ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 12
โควิด ภัยสุขภาพมีมากกว่าโควิด “ไฟป่าภาคเหนือ”ที่ย่ำแย่ไม่แพ้กัน
สถานการณ์โควิดที่มีการระบาดและเป็นข่าวต่อเนื่องมาหลายเดือน ทำให้ข่าวอื่นๆถูกกลบจนหมดสิ้น ความจริงอีกภัยสุขภาพที่ย่ำแย่มากๆ เผลอๆในบางพื้นที่ของภาคเหนือจะย่ำแกว่าโควิดด้วยซ้ำ นั่นคือ “ไฟป่าภาคเหนือ”
ความแตกต่างนั้นมีมากจริงๆระหว่างการสู้โควิดกับการดับไฟป่า เจ้าหน้าที่และชาวบ้านที่ช่วยกันดับไฟป่าเสียชีวิตไปแล้วหลายคน นับเป็นภารกิจที่เสี่ยงมากไม่แพ้โควิด แต่ไม่มีใครทำประกันชีวิตให้เขา ไม่ค่อยมีใครบริจาคอุปกรณ์ดับไฟป่าให้เขา ไม่ค่อยมีใครสรรรค์สร้างนวัตกรรมการดับไฟป่าไปช่วย ไม่ค่อยมีใครส่งขนมน้ำแข็งน้ำเย็นไปให้กำลังใจ อีกทั้งแทบไม่มีใครพูดถึงให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการหยุดไฟป่าภาคเหนือที่เผาผลาญป่าและสร้างหายนะทางสิ่งแวดล้อมมานานหลายเดือนแล้ว
ภาครัฐเองก็ดูจะไม่ได้ให้ความสำคัญทุ่มเทสรรพกำลังไปในการดับไฟป่าเท่ากับสู้ภัยโควิด ทัพเรือยังเลื่อนการซื้อเรือดำน้ำเพื่อนำงบมาสู้ภัยโควิด หากทัพอากาศทัพบกเลื่อนการซื้อยุทธภัณฑ์มาซื้อเครื่องบินบรรทุกน้ำหลายๆลำเพื่อการดับไฟป่าด้วยน่าจะช่วยได้มากเช่นกัน ภัยโควิดมีการระดมฝ่ายปกครอง ทหาร อส. ชรบ.จำนวนมากลงตั้งด่านตรวจการสัญจร แต่ไฟป่ายังมีการระดมกำลังมาช่วยดับไฟน้อยเกินไป แต่เมื่อกระแสความตื่นของสังคมมีน้อย สิ่งเหล่านี้ก็จึงยังไม่เกิด เราระดมแก้ปัญหาตามกระแสไม่ใช่ตามสภาพปัญหาหรือนี่ น่าเศร้าจังประเทศไทย
ไฟป่าภาคเหนือจะเกิดด้วยคนจุดหรือเกิดเองตามธรรมชาติก็ตาม ได้สร้างหายนะทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างหนัก ค่าฝุ่น PM2.5 ที่ทำลายสุขภาพหลายพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นอันตรายมากต่อเนื่องนับเดือน หายใจเข้าไปก็จะทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ ในระยะยาว อีกทั้งยังทำให้สัตว์ป่าเสียชีวิตจำนวนมาก พันธุ์พืชเสียหาย ชีวิตผู้คนก็อยู่ลำบากมาก ยิ่งในสถานการณ์หยุดเชื้ออยู่แต่บ้านด้วยแล้ว ยิ่งต้องทนดมควันไปไหนไม่ได้
ภัยสุขภาพนั้นไม่ได้มีแต่โรคโควิด ความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องคนไทยต่อการดับไฟป่าภาคเหนือเฉกเช่นที่ร่วมใจขจัดเชื้อโควิด คือพลังที่จะดับไฟป่าที่ยังรอการร่วมแรงร่วมใจจากทุกท่านอยู่นะครับ
ปล.ขอบคุณภาพจากเฟส นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนวณิชย์ Rungsrit Kanjanavanit
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ 16 เมษายน 2563
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567