เครือข่ายตำบลพะตง

  • photo  , 960x540 pixel , 88,725 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 82,327 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 82,644 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 68,439 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 85,099 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 122,430 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 90,023 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 119,059 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 124,911 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 112,366 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 115,753 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 76,950 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 86,305 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 92,834 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,667 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 44,865 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 68,566 bytes.

"เครือข่ายตำบลพะตง"

วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓  นัดหมายสวนผักคนเมืองหาดใหญ่ แกนนำเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ตำบลพะตง
ณ ที่ทำการชุมชนบ้านหลบมุม และเป็นพื้นที่แปลงรวมทำเกษตรอินทรีย์ของชุมชน

"ร่วมเรียนรู้ ร่วมผลิต และร่วมจำหน่าย" คือแนวทางของกลุ่ม

โดยเริ่มทำกิจกรรมมา ๒ ปีแล้ว กลุ่มหลักคือประกอบด้วย ๑.กลุ่มเกษตรอินทรีย์พอเพียง อ.ศักดิ์ศิริ โตเอี่ยม เป็นผู้นำของกลุ่มผู้สูงอายุ ชักชวนสมาชิกสูงวัยในชุมชนที่เป็นคนดั้งเดิมและคนต่างถิ่น(สมาชิกส่วนใหญ่)แต่มาเป็นสมาชิกในชุมชนร่วมกันปลูกผักอินทรีย์ โดยจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าวเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มช่วยตัวเองได้ ลูกหลานดูแล กลุ่มที่พอช่วยตัวเองได้ และกลุ่มที่ต้องการรายได้ /กลุ่มติดเตียง ในส่วนที่ต้องการรายได้ราว ๙ คนมารวมตัวกันใช้ที่ดินของการทางรถไฟ ๓ งานร่วมกันปลูกผักหลากชนิดเพื่อจำหน่าย

และ ๒.มีกลุ่มที่ชุมชนย่านยาวออก ๘ คน เช่าที่ดินในพื้นที่ ๑ ไร่ กำลังเริ่มลงผลผลิต

ในการทำแปลงรวมของที่นี่เริ่มด้วยการปรับดินในแปลง ยกร่อง หมักเศษหญ้า/ใบไม้กับอีเอ็มและขี้หมูกลางแปลง ปรับสภาพดินให้เป็นกลาง มีการแบ่งการดูแลกันคนละ๑-๓ แปลงตามกำลัง ปลูกผสมผสาน กวางตุ้ง คะน้า ผักบุ้ง ผักชี พริก มะเขือ ถั่ว ฟักทอง ฟักเขียว เสาวรส ขี้พร้าไฟ ปล็อกโคลี่ แปลงรวมจะเน้นผักหมุนเวียนโตเร็ว

สมาชิกที่เหลืออีก ๒๖ คนปลูกที่บ้านของตน โดยมีตลาดเทศบาลตำบลพะตง ตลาดของพาเนล ตลาดในชุมชน และกำลังจะเปิดตลาดอนามัย ณ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันได้ขยายเครือข่าย ชักชวนแกนนำเครือข่ายอื่นๆเข้ามาร่วมอีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ เครือข่ายควนขี้แรด เครือข่ายศิลปินพื่้นบ้าน เครือข่ายสวนมะพร้าว

ปัญหาการผลิตที่พบคือ ที่ดินไม่เพียงพอ ขาดแคลนน้ำ แมลงศัตรูพืชรบกวน ซึ่งก็ใช้สมุนไพรฉีดพ่น ไม้ดอกเป็นแนวกันชน รวมถึงน้ำส้มควันไม้ และการบริหารจัดการกลุ่มและการตลาด(ไม่มีคนไปขายผลผลิต)

จากนั้นที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในการผลิตร่วมกับสวนผักคนเมืองหาดใหญ่ ดังนี้ ๑)การใช้กากน้ำตาล ยังเป็นเศษซากจากวัสดุอุตสาหกรรม ไม่เรียกว่าเป็นวัสดุอินทรีย์ ควรเลี่ยงหันมาใช้ความหวานจากน้ำอ้อย น้ำมะพร้าว หรือจากน้ำตาลทรายแดงแทน

๒)การใช้จุลินทรีย์ที่มีคุณภาพจะช่วยให้ดินมีความสมบูรณ์ ทางพื้นที่เน้นใช้EM ซึ่งสมาชิกสามารถขยายความรู้ในผลิตน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุในครัวเรือนเป็นการลดขยะและพึ่งตนเองไปในตัว

๓)การจัดการแปลงรวม เนื่องจากอยู่กลางแจ้ง ไม่มีสิ่งปกคลุมทำให้ต้องรดน้ำวันละ ๔ รอบ ข้อดีก็คือทำให้ผักที่เติบโตเป็นผักที่แข็งแรง

๔)สวนเบญจพฤกษ์แก้ปัญหาดินทรายขี้เป็ด ด้วยการปรับสภาพดินเฉพาะหลุมที่ปลูก เริ่มจากปลูกกล้วย มะนาว อาศัยร่มเงาปลูกผักตาม การปรับสภาพดินก็ทำแบบเดียวกัน ใช้ใบยาง ใบไผ่ที่อยู่ในสวนและหญ้ามาหมักรวมกับขี้วัวและน้ำหมักชีวภาพ ทำไปทีละชั้น

ส่วนแนวทางการจัดทำกิจกรรมภายใต้โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชน ปี ๖๓ ที่มีอบจ.สงขลาสนับสนุนผ่านมูลนิธิชุมชนสงขลา มีข้อสรุปดังนี้

๑.กำหนดแนวทางดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมนัดสมาชิกเครือข่ายทั้งหมดมาร่วมจัดทำแผนการขับเคลื่อนร่วมกัน ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม เวลา ๑๓.๐๐ น. กำหนดเป้าหมายของเครือข่าย ๓ ปีข้างหน้า จัดทำยุทธศาสตร์และกิจกรรมตามสภาพปัญหาและความต้องการ จำแนกความต้องการเพื่อเสนอต่อหน่วยงานเครือข่ายที่จะมาร่วมมือ ได้แก่ เทศบาล สถานีพัฒนาที่ดิน สถานประกอบการในพื้นที่ และคัดกรองกิจกรรมที่เหมาะสมกับโครงการบูรณาการฯมาดำเนินการต่อไป

๒.แต่ละกลุ่มย่อยหารือภายในถึงสภาพปัญหา ความต้องการ และเป้าหมายการทำงาน ก่อนนำข้อเสนอมารวมกันกับกลุ่ม/เครือข่ายอื่นๆ หาข้อสรุปในนามเครือข่ายที่จะต้องหาข้อสรุปถึงชื่อของเครือข่ายต่อไป

๓.แนวทางที่โครงการบูรณาการฯ ปี ๖๓ (มค.-กย.)จะสนับสนุนได้ในงบ ๔ หมื่นบาท(หักค่าน้ำ/อาหารว่างของการประชุมวันนี้และการประชุมจัดทำแผนในครั้งต่อไป) จะเน้นการสร้างความรู้(เช่น การอบรมการทำปุ๋ยก้อน น้ำส้มหมัก ผลิตภัณฑ์สีเขียว ราเขียว การใช้สารสมุนไพรไล่แมลง) การสร้างรูปธรรมของการผลิต/การตลาด(การเสริมแปลงการผลิตที่เป็นวัสดุพื้นฐาน) แต่ไม่สามารถซื้อครุภัณฑ์ หรือเครืองจักร

๔.ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายนอกพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัย พลังงานจังหวัด มูลนิธิชุมชนสงขลา(ภายใต้งบโครงการบูรณาการฯ งบ EU และกขป.เขต ๑๒)

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ทำให้เห็นแนวคิด แนวทาง ปัญหาพื้นฐานของกลุ่ม สมาชิกได้เปิดมุมมองจากเครือข่ายใหม่ๆ สามารถต่อยอดความรู้ร่วมกัน อีกทั้งเป็นการต่อยอดงานธรรมนูญตำบลน่าอยู่ที่มีข้อตกลงให้ครัวเรือนนำขยะจากครัวเรือนมาใช้ประโยชน์ในการปลูกผัก และลดรายจ่าย

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน