เมืองพะตง

  • photo  , 2048x1152 pixel , 154,802 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 64,903 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 58,118 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 49,868 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 36,175 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 33,360 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,174 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 70,906 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 133,182 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 147,560 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 155,654 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 139,098 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 152,935 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 128,191 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 115,603 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 171,168 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 131,327 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 143,062 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 158,206 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 147,052 bytes.
  • photo  , 2048x1152 pixel , 125,910 bytes.

"เมืองพะตง"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

พื้นที่นโยบายระดับเมือง มีตั้งแต่เมืองใหญ่ระดับจังหวัด เช่น เมืองขอนแก่น ภูเก็ต แล้วก็มีเมืองขนาดเล็ก ขนาดกลาง มีได้หลายระดับ สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มิได้มีแต่พื้นที่ตามขอบเขตการปกครองของมหาดไทย ด้วยสภาพปัญหาที่มากระทบหรือศักยภาพของพื้นที่ มีได้หลากหลาย

"เมืองพะตง" รวมหมายถึงทต.พะตงและอบต.พะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่แห่งนี้ยังมีทั้งหมู่บ้านและชุมชนในพื้นที่เทศบาลทับซ้อนไปด้วยกัน มีกำนันเพียงคนเดียว จุดเด่นของพื้นที่ก็คือ การเป็นชุมชนดั้งเดิม มีความเป็นสังคมเครือญาติ อยู่ด้วยกันมายาวนาน การแข่งขันทางการเมืองไม่รุนแรง แต่มีการเคลื่อนย้ายประชากรทั้งออกไปอยู่ในเมืองหาดใหญ่หรือต่างถิ่น และมีประชากรแฝงที่มาขายแรงงานตามโรงงานที่มีกระจายเต็มพื้นที่ริมคลองอู่ตะเภา

ว่ากันว่าประชากรแฝงมีมากถึง ๒ หมื่นคน ขณะที่ประชากรจริงตามทะเบียนราษฏร์ของทต.พะตงแห่งเดียวมีเพียง ๗ พันกว่าคน ทำให้เริ่มประสบปัญหาการอยู่ร่วมกันกับแรงงานต่างชาติ(พม่า) ปัญหาสังคมก็เริ่มมีตามมา

ในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่นี่มักเป็นด่านหน้า ประสบเหตุน้ำท่วมทั้งจากการระบายไม่ทันและการเอ่อล้นของสายน้ำ เป็นพื้นที่แรกๆของเมืองหาดใหญ่ที่จะประสบภัย

โครงการ SUCCESS พื้นที่ภาคใต้โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจับมือกับมูลนิธิชุมชนสงขลาได้ร่วมหารือกับผู้บริหาร กำนัน ปลัด และภาคประชาสังคมในพื้นที่ แนะนำโครงการ หารือความเป็นไปได้ที่จะร่วมโครงการ ที่นี่มีต้นทุนการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างโรงเรียน(เครือข่ายรักษ์คลองอู่ตะเภา) โรงงาน(โครงการธรรมาภิบาลโรงงาน) มูลนิธิชุมชนสงขลาเองได้ร่วมกันเก็บข้อมูลกลุ่มเปราะบางทางสังคมเข้าสู่ระบบข้อมูลกลาง iMed@home เป็นพื้นที่ที่ได้ดำเนินงานจัดทำแผนรับมืออุทกภัยร่วมกับโครงการ ACCCRN และจะร่วมกับอบต.พะตงที่เป็นพื้นที่นำร่องโครงการพลังงานชุมชน/สถานีพลังงานของพลังงานจังหวัด ในการส่งเสริมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ของพื้นที่ การมองระบบเมืองในภาพรวมและการวางรากฐานภาคประชาสังคมจะช่วยระดับการพัฒนาของตำบลไปอีกก้าว

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน