"วิจัยและสร้างนวัตกรรมพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ"

by punyha @23 ม.ค. 63 11:50 ( IP : 171...3 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , ร่วมคิด
  • photo  , 960x540 pixel , 40,942 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,452 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 62,519 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 43,163 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 36,516 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,228 bytes.

"วิจัยและสร้างนวัตกรรมพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

อีกความเคลื่อนไหวทางสายวิชาการที่ถูกปรับการทำงานให้แตกต่างจากเดิม

สำนักวิจัยและพัฒนา มอ.ชวนไปร่วมเสนอแนะการทำกรอบงานวิจัย ตามโจทย์ใน Platform ๔ "วิจัยและสร้างนวัตกรรมพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ" โปรแกรม ๑๓ : นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม โดยมอ.แต่ละวิทยาเขตเป็นเจ้าภาพร่วมกับเครือข่ายต่างๆ

เป้าหมายของประเทศก็คือ ให้เกิดนวตกรรมชุมชน เพื่อยกระดับรายได้ให้กับชุมชนปีละ ๑๐๐๐ นวัตกรรม มีจำนวน Smart Community/ชุมชนนวัตกรรม มีความสามารถในการพัฒนาการพึ่งตนเองและจัดการตนเอง เพิ่มขึ้น ๓๐๐๐ ชุมชน ภายในปี ๒๕๖๕ และมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุน ทรัพยากร วัฒนธรรมในพื้นที่เพิ่มขึ่นร้อยละ ๑๐ ต่อปี

แลกเปลี่ยนกับเครือข่ายที่มาร่วมพอจะเห็นภาพคร่าวๆ ได้ว่าที่ผ่านมามอ.มีตัวอย่างงานวิจัยที่เป็นต้นแบบจำนวนมากในหลายๆด้าน แต่ก็มีจุดอ่อนในการวิจัยก็คือ มักเป็นโครงการระยะสั้น ไม่ต่อเนื่อง (ชุมชนสะท้อนว่า หมดงบก็จบโครงการ) การประเมินผลวัดผลไม่ชัดเจน เกิดผลกระทบน้อย มีการทำซ้ำในพื้นที่ขาดการบูรณาการ นักวิจัยที่เกาะติดพื้นที่มีน้อย ขณะที่ภาคีเครือข่ายก็มีการดำเนินการหลากหลาย กระจัดกระจายตามประเด็นที่ตนสนใจ

ข้อสรุปเบื้องต้นที่เสนอกันในที่ประชุมก็คือ ๑) นิยามหรือกำหนดคุณลักษณะของชุมชนเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าเป็นไปในลักษณะใด เป็นชุมชนเมือง ชานเมือง ชนบท ชายขอบ ขนาดพื้นที่เป็นตามประเด็น หรือหมู่บ้าน ตำบล ชุมชนเมือง ฯลฯ

๒)กำหนดกรอบคิดภาพใหญ่ของงานวิจัยของภาคใต้ให้ชัดเจนมากขึ้น ทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์สาเหตุความเหลื่อมล้ำในสังคมภาคใต้ ศึกษาฐานทุน ฐานเครือข่าย พื้นที่ต้นแบบ กิจกรรมต้นแบบ mapping ประเด็นร่วม พื้นที่ร่วม ภาคีความร่วมมือ

๓)จัดทำเป็นโปรแกรมวิจัย เน้นความต่อเนื่อง ยั่งยืน มอ.สามารถใช้บัณฑิตอาสามาเป็นตัวช่วย ทำงานร่วมกับเครือข่ายที่อยู่ในงานชุมชนมากกว่า โดยมอ.มาเป็นพันธมิตร เลือกพื้นที่ดำเนินการที่ไม่ยากเกินไป แต่ไม่ก็เน้นไปต่อยอดพื้นที่เข้มแข็ง วัดผลสำเร็จที่ชุมชนและการลดความเหลือมล้ำภายใน

๔)สร้างระบบสนับสนุนการทำงานที่เอื้อให้เกิดการทำงานครบกระบวนการ(กลไก/ข้อมูล/กติกาหรือชุดความรู้เครื่องมือ/กองทุน) เสริมหนุนในระดับชุมชนเป้าหมายและงานระดับภาค เขต อำเภอ ตำบล ตามประเด็นร่วม สามารถชักชวนสถาบันวิชาการอื่นมาร่วมเป็นเครือข่าย บูรณาการภายในและภายนอก

ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง!!

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน