คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน
"คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน"
เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
สงขลาประกอบไปด้วยความหลากหลายทั้งเชิงภูมิประเทศ ผู้คน ศาสนา ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ร่วมมีกระจัดกระจาย หลากหลาย ยากจะหาจุดเด่นที่ชี้ขาด
สังคมใหม่ก็เช่นกัน หลากหลาย กระจัดกระจาย มีลักษณะเฉพาะ พลังอันมหาศาลถูกส่งต่อกระจายตัว ด้านหนึ่งสามารถรองรับและเปิดพื้นที่ความสนใจตามปัญหาและศักยภาพ แต่อีกด้านก็มีจุดอ่อนในแง่ของการเสนอทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ ถูกผูกติดอยู่กับภาวะผู้นำเชิงบุคคล ยังไม่มีกระบวนการหรือวิธีการที่ดีในการร่วมคิด ร่วมทำ ด้วยขาดการวิเคราะห์ความเป็นจริงพื้นฐานรองรับ มองไม่เห็นความหลากหลายที่ว่า(กระบวนทัศน์ของผู้คนที่เกี่ยวข้อง แม้แต่ในองค์กรเดียวกันแต่ต่างรุ่น ต่างมุมมอง) รวมถึงไม่เชื่อเรื่องการมีส่วนร่วม และหลักประชาธิปไตยพื้นฐาน จำเป็นต้องมีวิธีคิดใหม่ ใช้เครื่องมือและวิธีการใหม่ที่แตกต่างจากเดิม
เมื่อขาดการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เป็นจริงอย่างรอบด้าน การเด็ดยอดมาทำแผนหรือประชุมเชิงปฎิบัติการใด ก็เป็นเพียงมุมมองเชิงปัจเจกหรือผู้นำ ทำให้ขาดพลังร่วม หรือความรู้ที่สามารถชี้ขาดว่าเรื่องใดควรทำ หรือไม่ควรทำ
อีกครั้งสำหรับการเข้าร่วมกับภาคเอกชนในการต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เห็นพลังที่เป็นรากฐานของการพัฒนาโดยเฉพาะของเมืองหาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยภาคเอกชนทั้งองค์กร สมาคม มูลนิธิที่ต่อยอดมาจากรากฐานเดิมที่ถูกวางไว้โดยบรรพชน ตั้งแต่การอพยพเข้ามาตั้งรกราก ทำมาหากิน มีทั้งงานทำ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด สถานสงเคราะห์ ฮวงซุ้ย เรียกว่ามีครบตั้งแต่เกิดจนตาย...ภายใต้สถานการณ์ร่วมทางเศรษฐกิจ ตัวเลขนักท่องเที่ยวไม่ได้ลดลง แต่เกิดการกระจายตัวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
นักท่องเที่ยวเองก็ปรับตัว ส่งต่อข้อมูลที่เกิดจากพฤติกรรมเอารัดเอาเปรียบ เช่น ราคารถตุ๊กๆที่ไม่เป็นธรรม (เลยเหมารถตู้มาเอง) ร้านค้าร้านอาหารที่ไม่มีราคาติดประกาศ ความไม่สะดวกในการเข้าออกด่าน เป็นต้น
ในสถานการณ์เช่นนี้ทุกฝ่ายจึงต้องปรับตัว โจทย์ร่วมคือ จะปรับตัวอย่างไร เมืองเก่า เมืองใหม่ ปัญหาเก่า ปัญหาใหม่ แล้วใครจะมองจิ๊กซอร์ทั้งหมดปะติดปะต่อเป็นภาพรวม
ยิงลูกโดดกันมานานจนเคยชิน หวังพึ่งผู้นำกันมานาน เมื่อไม่มีวิสัยทัศน์การพัฒนา ยังไม่เห็นประโยชน์ร่วมต่างคนจึงมองจากมุมของตน
ในเกมแห่งความสัมพันธ์หากมีกระบวนการที่ดี จะเหนี่ยวนำสานพลังไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่จะละเลยมองข้ามอะไรไปก็ไม่ได้ มิเช่นนั้นก็จะได้คำตอบเดิม
ยังมีช่องว่างการพัฒนาอีกมหาศาลให้เติมเต็มครับ
ขอบคุณภาพจาก Facebook หอการค้า จังหวัดสงขลา
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567