คนจนเมืองกับโอกาสร่วมสร้างธรรมนูญชุมชนน่าอยู่
"คนจนเมือง"
ชุมชนวัดหัวป้อม เริ่มกลายเป็นชุมชนใหม่มีคนเข้ามารุกที่ขยายที่พักเป็นที่อาศัยตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ จากประชากรไม่ถึงสิบครัวเรือนขยายมาเป็นร้อยกว่าครัวเรือน จากผู้บุกรุกกลายเป็นชุมชนของเทศบาลนครสงขลา เข้าสู่โครงการบ้านมั่นคงที่มีพอช.มาช่วยดูแลในด้านสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย
วันนี้พี่นีแกนนำนัดสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์มาร่วมรับฟังแนวทางการทำกิจกรรมร่วมกันในนามของเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ตำบลบ่อยาง โดยมีแหลมสนอ่อน พาณิชย์สำโรง หลังอาชีวะมาร่วม
ชุมชนที่นี่มีปัญหาความยากจน รายได้ไม่แน่นอน เด็กๆต้องการทุนการศึกษา อาหาร ผู้ป่วยติดเตียง ไม่มีบัตรประชาชน อันเป็นปัญหาพื้นฐาน สมาชิกมาจากหลายแหล่ง เชียงราย สุโขทัย กรุงเทพฯ ระโนด ต่างคนต่างมา ไม่ได้รู้จักกัน พี่นีเล่าว่าเพื่อต่อรองสิทธิของสมาชิก ได้ต่อสู้ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ไปถึงหน้าทำเนียบรัฐบาลก็เคยไป
ปรับวิธีการจากเดิม ให้สมาชิกแต่ละคนได้ลุกขึ้นแนะนำตัวเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคย ให้เกิดความตื่นตัว ได้รู้พื้นฐานแต่ละคนไปด้วย พี่อ้นบอกเล่าประสบการณ์การทำงานของแหลมสนอ่อน ให้เห็นความสำคัญของกิจกรรมการอยู่ร่วมกัน มีพื้นฐานการช่วยเหลือดูแลกันและกัน ผ่านกติกาของกลุ่มที่มีการพบกันประจำเดือน กินข้าวร่วมกันโดยหิ้วปิ่นโตมา มีตำลึง ลูกตำลึงเป็นอาหารเฉพาะกลุ่ม มีจานใบตอง เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ แชมพู สบูู่จนกระทั่งทำขายสร้างรายได้ ปลูกผักแบบคนเมือง มีแปลงผักตำลึงในป่าสน เหล่านี้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าร่วม
คุยเชิงกติกาของการทำกิจกรรม เป้าหมาย แนวทางที่ชุมชนควรรับรู้ กล่าวคือ มาทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่มีการลงไปทำให้ มีแต่การทำร่วม รับคนที่สนใจจะทำเท่านั้น ไม่คะยั้่นคะยอหากไม่พร้อม และใช้รูปแบบการประชุมร่วมกันตัดสินใจ เสนอแนะ ต่อรองกันได้ รอบนี้นำตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาให้ดูด้วย พร้อมบรรยายสรรพคุณ ให้ผู้เข้าร่วมได้เลือกกิจกรรมที่สนใจ มีตั้งแต่การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ยาหม่อง น้ำมันเหลือง ตู้อบแสงอาทิคย์ เพาะถั่วงอก ฯลฯ
แนวทางคร่าวๆก็คือ มีกิจกรรมกลางประจำเดือน หิ้วปิ่นโตมากินเที่ยงด้วยกัน ช่วยเหลือกันในเรื่องที่สมาชิกช่วยกันได้ นั่นคือเป็นเครือข่ายการทำงานกับกลุ่มออมทรัพย์ในตำบล ร่วมกันสำรวจข้อมูลสมาชิกที่เปราะบาง ร่วมกันแก้ปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านสิทธิพื้นฐาน การตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา/อาหาร/ของใช้มือสอง/วัสดุเพื่อการรักษาพยาบาล กายอุปกรณ์ ที่อยู่อาศัย
จบด้วยการนัดหมายวันลงทำกิจกรรม ที่นี่สะดวกเช้าวันเสาร์ ที่สามของเดือน ใช้กิจกรรมคัดกรองแกนนำและสร้างความไว้วางใจในกันและกันสักระยะก่อนที่จะยกระดับ
ลุงนิพนธ์นำเสื้อผ้ามือสองที่ได้รับบริจาคจากการประสานของสมาคมอาสาสร้างสุขมาแบ่งปันให้กับสมาชิกที่มีทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ แล้วกินขนมจีนมื้อเที่ยงร่วมกัน
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567