ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ตำบลสนามชัย

  • photo  , 960x720 pixel , 102,277 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,495 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 62,734 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,144 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 46,295 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,900 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,020 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 46,822 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 66,301 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,370 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,542 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,904 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 86,239 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,372 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,914 bytes.

"ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ต.สนามชัย" เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันที่ 30 มกราคม 2562  นัดภาคีเครือข่ายประกอบด้วยอบต.สนามชัย นายกนำทีมมาเอง พร้อมรองนายก ปลัด สำนักปลัด ผอ.กอง สอบต. ประธานสภา กำนัน ผญ. ผอ.รพสต. รร.โรงเรียน สภาองค์กรชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ อสม. ราว ๓๐ คนร่วมกำหนดกรอบคิดการจัดทำธรรมนูญตำบล(ข้อตกลง กติกาชุมชน)

นายกและกำนันอยากเห็นการเมืองที่ปราศจากการซื้อเสียง ปัญหาพื้นฐานหนักที่เรื่องขยะ ยาเสพติด สุขภาพผู้สูงวัยที่เป็นประชากรหลักในตำบล ด้วยวัยแรงงานอยู่นอกพื้นที่ ประชากรราว 1 พันครัวเรือน มีส่วนร่วมการพัฒนาน้อย ที่นี่มีระเบียบกติกาของหมู่บ้าน มีธรรมนูญสุขภาพที่อสม.กับรพ.สต.ดำเนินการ มี ๑๐ ข้อหลัก อาทิ การจัดการลูกน้ำยุงลาย การจัดการขยะ การปลูกผัก งานเลี้ยงในวัดปลอดเหล้า/บุหรี่ น้ำอัดลม การออกกำลังกาย เป็นต้น การต่อยอดงานธรรมนูญตำบลจึงเป็นโอกาสได้หนุนเสริมงานเดิมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมที่เข้มข้นมากขึ้น

สร้างความเข้าใจความหมายธรรมนูญตำบลน่าอยู่ที่มี ๑๗ เป้าหมายร่วม จุดเน้นของตำบลสนามชัย ได้แก่ การจัดการขยะที่มีทั้งขยะเปียกมาปลูกผัก ขยะรีไซเคิล การจัดการยาเสพติด การเมืองสมานฉันท์และปราศจากการซื้อเสียง สุขภาพ การสร้างสังคมไม่ทอดทิ้งกัน

ปลัดสุภัทรถือโอกาสคืนข้อมูลคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคมที่ได้จัดเก็บไว้กว่าหนึ่งร้อยคนในพื้นที่ ส่วนใหญ๋เป็นผู้สูงอายุและคนพิการ

จากนี้ปลัดจะแต่งตั้งคณะทำงาน ยกร่างธรรมนูญ นำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมผ่านแบบสอบถามทุกครัวเรือน สร้างช่องทางสื่อสารกลางของตำบลด้วยกลุ่ม line ตำบล จัดเวทีรับฟังความเห็น และนำมาสู่การหาข้อสรุปในเวทีตำบล ขั้นตอนเหล่านี้จะดำเนินการในเวลา ๔ เดือนจากนี้ไป จากนั้นเข้าสู่ "ขาเคลื่อน" นำไปประกาศใช้ ขับเคลื่อนข้อตกลงที่ผ่านการเห็นชอบไปสู่การปฎิบัติ

หัวใจของการจัดทำธรรมนูญตำบลคือการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของ อันเป็นการสะสมประสบการณ์ประชาธิปไตยทางตรง บนฐานการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพที่มี กติกาที่ได้เป็นผลพลอยได้ และหากวางรากฐานการมีส่วนร่วมดีๆเราจะได้ธรรมนูญหรือแนวทางการพัฒนาตำบลที่ดีไปด้วย

หมายเหตุ ตำบลสนามชัยเป็น ๑ ใน ๒๒ ตำบลที่จะดำเนินการในปี ๖๒ ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน