สงขลาเมืองสหกรณ์ (1)

by punyha @6 ก.พ. 62 20:10 ( IP : 124...204 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1016x400 pixel , 60,356 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 41,939 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,300 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 67,678 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,836 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 48,183 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 75,378 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 49,396 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 97,310 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 43,930 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,965 bytes.

สงขลาเมืองสหกรณ์ (1) เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ร่วมกับสหกรณ์จังหวัดโดยการประสานของคุณมนุชาธิป ชวนคุณชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ นำประสบการณ์ของภาคเอกชนทั้งจากหอการค้า บ.ประชารัฐฯ อดีตนายธนาคาร และภาคประชาสังคมมาร่วมเสนอแนะต่อแผนพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์การเกษตร และแผนพัฒนาธุรกิจด้านเกษตร "๑ สหกรณ์การเกษตร ๑ อำเภอ" ที่สหกรณ์จังหวัดดำเนินการ วันนี้เป็นรอบของ ๔ อำเภอจะนะ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี ณ สหกรณ์การเกษตรจะนะ

ผู้จัดการสหกรณ์แต่ละอำเภอนำเสนอแนวทางพัฒนา โดยสรุปแล้ว ผมเห็นประเด็นสำคัญดังนี้ครับ

๑) จุดเด่นงานสหกรณ์สงขลา เข้าสู่ยุคการทำธุรกิจเพื่อสังคม จากเดิมที่เน้นเงินกู้/สินเชื่อ กระทั่งสะสมเม็ดเงินจำนวนมากพอ และได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาระบบองค์กรสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสมาชิก ทั้งเรื่องสถานที่ตั้ง เจ้าหน้าที่ การบริหารจัดการ แต่ก็ต้องการยกระดับให้ทันสมัยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่มาใหม่ สร้างช่องทางสื่อสารกับสมาชิกผ่าน social media และพัฒนาบุคลากรของตน

๒) การพัฒนาธุรกิจอยู่ในช่วงการเรียนรู้และค้นหาตัวเอง หลายสหกรณ์ลองผิดลองถูก ด้วยขาดประสบการณ์และบุคลากร ปัจจุบันมีแนวคิดให้สหกรณ์เป็นศูนย์รวบรวมผลผลิต เช่น น้ำยาง ผลไม้ตามฤดูกาล มีกรรมการรุ่นใหม่ๆที่เข้าใจธุรกิจมากขึ้น แต่ต้องการเวลาบ่มเพาะตัวเองอีกสักระยะ

๓) ยังต้องทบทวนหลักคิดและวิธีการสหกรณ์ เพื่อให้รู้จักตัวเอง รู้อดีต รู้ปัจจุบันและกำหนดอนาคตได้อย่างมั่นคง ยังมีสมาชิกจำนวนมากเข้ามาเพียงต้องการกู้เงิน

๔)หลังฟังแผนพัฒนาของแต่ละสหกรณ์ มีข้อเสนอแนะที่เสนอไว้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านตามนี้ครับ

๑.สร้างค่านิยมร่วมให้สมาชิกใหม่และเก่าเข้าใจหลักคิดและวิธีการของสหกรณ์ สามารถนำมาใช้ในชีวิตและการบริหารจัดการบนฐานรู้จักตัวเองและเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของกติกาโลก ปรับใช้หลักสหกรณ์ให้อยู่ในชีวิตประจำวันมากกว่าแค่กิจกรรมโครงการ และสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของสหกรณ์ให้กับสมาชิก และสร้างฐานคิดนี้ตั้งแต่เด็กผ่านระบบการศึกษา

๒.ปรับการทำงานจากตัวบุคคลมาเป็นระบบทีม และแสวงหาเครือข่าย เห็นโอกาสการทำงานร่วมกับพันธมิตรภาคส่วนต่างๆที่มีอยู่มากในสงขลา

๓.พัฒนาสมาชิกเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงคณะกรรมการให้มีแนวคิดการตลาด สามารถบริหารจัดการองค์กร นำพาแนวคิดใหม่ๆเข้ามาสร้างรายได้ให้กับสมาชิก สามารถพึ่งตนเอง ดำเนินการได้โดยไม่รองบประมาณจากรัฐ

๔.สร้างต้นแบบ ๑ อำเภอ ๑ ต้นแบบ เน้นหาอัตลักษณ์ของผลผลิต เช่น สหกรณ์จะนะเน้นผลผลิตน้ำยางพารา สะบ้าย้อยอาจเน้นกาแฟหรือส้มแขก ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลผลิตทางการเกษตรที่ตรงกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของสมาชิกและตลาด

๕.มีธุรกิจร่วมกันระดับจังหวัดบนฐานของผลผลิตทางการเกษตรที่มีศักยภาพให้ครบวงจรต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ เช่น น้ำยางพารา ซึ่งมีต้นทุนและมีเกษตรกรเกี่ยวข้องจำนวนมาก สามารถทำร่วมกันมากกว่า ๑ สหกรณ์เกษตร

๖.พัฒนาระบบบริหารจัดการร่วมกันระดับจังหวัด เช่น โปรแกรมฐานข้อมูลที่สามารถส่งต่อข้อมูลข้ามพื้นที่ สร้างความสะดวกในการใช้บริการทางการเงินแก่สมาชิก ทบทวนบทบาทของชุมนุมสหกรณ์จังหวัด ให้สามารถเชื่อมโยงประสานเครือข่ายสหกรณ์ทัวประเทศหรือต่างประเทศ กระจายผลผลิตของสมาชิก

๗.เปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ของสหกรณ์ให้ดูร่วมสมัย ดึงดูดสมาชิกที่เป็นเด็กรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน