Node flagship สงขลา
"Node flagship สงขลา"
เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
ฐานความเข้มแข็งของพลเมืองจะเป็นอีกเสาหลักที่จะนำพาบ้านเมืองให้ไปข้างหน้าในท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่คุกคาม
สงขลาเป็นจังหวัดใหญ่ เช่นเดียวกับจังหวัดใหญ่ๆในประเทศ ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งภูมินิเวศ ภูมิสังคม วัฒนธรรม และหลากชุดความคิดที่ดำรงอยู่ในพื้นที่ มีทั้งไปในแนวทางเดียวกันและขัดแย้งกัน การสร้างพลังร่วมจึงเป็นโจทย์ท้าทายในการจัดความสัมพันธุ์ โดยไม่จำเป็นจะต้องอยู่ภายใต้กันและกัน มีเป้าหมายร่วม มียุทธศาสตร์ร่วม แต่มีอิสระที่จะทำงานภายใต้ความเชื่อของตน
ย้อนหลังไป 10 กว่าปีที่ผ่านมา สุขภาพหรือสุขภาวะเป็นประเด็นร่วมที่ทำให้เราได้เชื่อมร้อยเครือข่ายต่างๆในนามแผนสุขภาพจังหวัด ท่านสมพร ใช้บางยาง อดีตผู้ว่าฯเปิดพื้นที่การทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ทำให้เกิดการทำงานในลักษณะเครือข่ายประเด็นต่างๆมากมาย และยังต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
เข้าสู่ยุคที่สอง จากการเคลื่อนในลักษณะประเด็นของใครของมัน เริ่มที่จะหลอมรวมโดยใช้ยุทธศาสตร์ร่วม และมีวาระร่วมของพลเมือง จนมาถึงยุคปัจจุบันก็มีความพยายามที่จะกำหนดทิศทางการพัฒนาโดยคนในพื้นที่ในระยะยาว เพื่อข้ามพ้นข้อจำกัดในด้านทิศทางการพัฒนาที่ถูกกำหนดโดยส่วนกลาง หรือผู้นำซึ่งผันแปรไปตามตัวบุคคล และพัฒนากลไกเสริมการทำงานที่เชื่อมโยงพลังหลักจากภาคส่วนต่างๆเข้ามาด้วยกัน ซึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มผู้นำแต่ยังไม่กระจายไปถึงประชาชน
การขึ้นรูป Node flagship ของสสส.สำนัก 6 จึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งในการต่อยอดฐานทุนของพลเมืองที่เริ่มมีองค์ประกอบครอบคลุุมมากขึ้น มีทั้งภาคท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน แน่นอนว่าจำเป็นที่จะต้องแลกเปลี่ยนทางความคิด เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอด
"เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน สังคมเป็นสุข" คือธงนำในเชิงยุทธศาสตร์ แต่ก็เป็นลักษณะบูรณาการยุทธศาสตร์ไปด้วยกัน บางจุดอาจใช้เศรษฐกิจนำแต่จะต้องตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมไปด้วย ช่วยกันทำ ช่วยกันคิดพัฒนาตัวแบบบในเชิงคุณภาพ ก่อนส่งต่อให้กับภาครัฐขยายผล การถักทอระหว่างแนวดิ่งและแนวระนาบ จะช่วยให้ช่วงเปลี่ยนผ่านการพัฒนาไม่เกิดความขัดแย้งจนกระทั่งแตกหักเช่นการเมืองใหญ่ อย่างไรเสีย เราทุกคนต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน หลายๆอย่างถูกกระแสการพัฒนานำพาไปจนไร้ทิศทางกลับบ้านไม่ถูก การกลับมาตั้งหลักให้มั่นบนฐานของตนก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี
ขอบคุณภาพจาก Facebook ดร.พรไทย ศิริกิจสาธิต
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567