19 กรกฎาคม 2557 กิจกรรมการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสงขลาโซนคาบสมุทรสทิงพระ

by punyha @20 ก.ค. 57 13:06 ( IP : 223...250 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

กิจกรรมการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสงขลาโซนคาบสมุทรสทิงพระ

เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม  2557 เวลา 10.00-15.00 น.  ณ ศาลาประชาคมคาบสมุทรสทิงพระ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
มูลนิธิชุมชนสงขลา

หอการค้าจังหวัดสงขลา

พัฒนาชุมชนจังหวัด / พัฒนาชุมชนอำเภอ

เกษตรอำเภอ / กศน.อำเภอ

ตัวแทนพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่

ทต.กระแสสินธุ์  ทต.ชะแล้  ทต.เชิงแส  อบต.บ้านขาว  อบต.ท่าหิน  อบต.ชิงโค  อบต.เกาะใหญ่  อบต.ชุมพล  อบต.คูขุด

สรุปการประชุม

เริ่มประชุม 10.30 น.
ตัวแทนมูลนิธิชุมชนสงขลากล่าวถึงวัตถุประสงค์การประชุมเพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เอื้อต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ภายใต้การสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาผ่านมาทางโครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยประชาชน โดยมีภาคีความร่วมมือได้แก่ หอการค้าจังหวัดสงขลา พัฒนาการจังหวัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีสาระสำคัญดังนี้

1.จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ประกอบด้วย วัตถุดิบจากวิถี “โหนด นา เล” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งในพื้นที่มีกลุ่มต่างๆดำเนินการมาโดยเสริมกับการท่องเที่ยว โดยผลิตภัณฑ์มีทั้งที่เป็นสิ่งที่ชุมชนผลิตขึ้นหรือมีอยู่ในพื้นที่ ทั้งตัวสินค้า แหล่งท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งในพื้นที่มีจุดเด่นอีกมาก เช่น มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่สะท้อนอารยธรรมของศาสนาฮินดูที่สำคัญ เช่น ศิวลึงค์และฐานโยนีที่ใหญ่ที่สุดในไทย(ปัจจุบันเหลือเพียงฐานโยนี) นอกจากนั้นโนราของพื้นที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่เครื่องแต่งกายที่มีลูกปัดเป็นเครื่องประดับประกอบ ซึ่งมาจากการเป็นแหล่งการค้าการเดินทางที่เชื่อมโยงกับนานาชาติมาแต่โบราณ

2.หอการค้าจังหวัดสงขลาต้องการส่งเสริมในด้านเศรษฐกิจ การลงมาสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนเป็นอีกช่องทางในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดได้หลายช่องทาง เช่น จำหน่ายในงานหอการค้าเทรดแฟร์ งาน OTOP หรือเชื่อมโยงกับงานต่างๆตามเทศกาล ขณะเดียวกันก็พร้อมรองรับการเปิด AEC หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐานความต้องการของกลุ่มชุมชน เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การจดลิขสิทธิ์ การค้นหาจุดเด่นที่มีคุณสมบัติพิเศษของสินค้า การสร้างมาตรฐานคุณภาพสินค้า การสร้างเรื่องเล่าสร้างการตลาด หรือความร่วมมือในลักษณะการรับรองสินค้าโดยตัวองค์กรหอการค้า

3.ผลิตภัณฑ์ของอำเภอต่างๆ

3.1 อำเภอสทิงพระ

-ตำบลคลองฉนวน มีน้ำผึ้งแว่นใส่ถุงหรือขวดพลาสติก น้ำตาลโตนดผง

-ตำบลท่าหิน มีน้ำตาลโตนดผง(ผู้ป่วยเบาหวานสามารถบริโภคได้) สบู่ตาลโตนด การท่องเที่ยวตามวิถีโหนด นา เล

-ตำบลดีหลวง มีจุดเด่นในเรื่องขนมพื้นบ้าน มีเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ งาดำ/งาขาว(ในพื้นที่ปลูกต้นงา) ขนมพอง

-ตำบลคูขุด มีข้าวอินทรีย์ ขนมวุ้นลูกตาลกรอบ

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

1.นำน้ำตาลโตนดผงจัดทำเป็นซองเล็กๆเพื่อใช้บริโภคกับกาแฟแทนน้ำตาล จำหน่ายให้กับโรงแรม

2.จังหวัดโดยพัฒนาชุมชนและเกษตรจังหวัดร่วมส่งเสริมกลุ่มชุมชนที่เพิ่งเริ่มต้นดำเนินการให้เข้มแข็งด้วยกองทุน OTOP เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัด

3.ชุมชนควรแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สินค้าได้มาตรฐาน ยกระดับสินค้า

4.พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า

5.ประสานมหาวิทยาลัยเพื่อมาหนุนช่วยในการพัฒนาหรือรักษาคุณภาพสินค้าให้มีอายุยาวนาน ปลอดภัยกับผู้บริโภค

3.2 อำเภอระโนด

-ตำบลบ้านขาว มีข้าวอินทรีย์/ซ้อมมือ เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมราชินี ข้าวชลสิทธิ์ ข้าวหอมนิล ปลาดุกร้าจากปลาดุกเลี้ยง กลุ่มเครื่องแกง น้ำพริกแห้ง น้ำพริกไตปลาแห้ง น้ำพริกกุ้งเสียบ มีอเมซอนไทยแลนด์(ดูควายน้ำ บัวแฝด บัวใต้น้ำ ดูนก) มีชาใบหม่อนที่ปลูกเองในนา รสชาตินุ่ม หวาน มีสบู่ดาวเรือง

-ตำบลตะเครียะ มีเหล้าขาวรสชาติดี มีชื่อเสียง

-ตำบลบ้านใหม่ มีข้าวซ้อมมือ(ข้าวกล้อง) จมูกข้าวพร้อมชง ดินหมัก/ปุ๋ยหมัก

-ตำบลแดนสงวน มีข้าวซ้อมมือ

-ตำบลระโนด มีขนมเปียะ มีขนมปั้นสิบ

-ตำบลท่าบอน มีเส้นใยจากจูดฤาษีและเส้นกล้วย

-ตำบลปากแตระ มีน้ำพริก ไข่เค็ม มันกุ้ง กะปิ

-ตำบลระวะ มีมันกุ้ง ลูกตาลลอยแก้ว

-ตำบลพังยาง มีแคนตาลูป

-ตำบลสามบ่อ มีเครื่องแกง

-ตำบลบ่อตรุ มีไข่ครอบ มีปลาแห้ง

-ตำบลวัดสน มีฝาชี

-ตำบลคลองแดน มีตลาดน้ำ มีรูปปั้นโนรา พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

1.เสริมผลิตภัณฑ์ด้วยการตลาดสร้างเรื่องเล่าดึงดูดผู้บริโภค

2.ฟื้นฟูข้าวพันธุ์พื้นเมือง เช่น ข้าวกลีบเมฆ แทนข้าวจากต่างถิ่น

3.พัฒนาบรรจุภัณฑ์ของปลาร้า

4.พัฒนาเครื่องแกงก้อน โดยประสานกับอุตสาหกรรมเกษตรมอ. สร้างอัตลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ของเครื่องแกงใหม่ รวมถึงวิธีการรักษาความสด  สะอาด ปลอดภัย

5.การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องได้แก่ ท้องถิ่น เกษตร พัฒนาชุมชน สาธารณสุข กศน.

3.3 อำเภอกระแสสินธุ์

-ตำบลเชิงแส มีข้าวซ้อมมือ (ข้าวกุหลาบแดง/ข้าวหอมนิล) วัดเอก หลวงพ่อเดิม

-ตำบลกระแสสินธุ์ มีผ้าทอกระแสสินธุ์ ผ้าบาติกที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

-ใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวเชื่อมโยงสินค้าชุมชน เริ่มจากวัดพะโคะ มาซื้อผ้าทอเกาะยอ/ผ้าทอกระแสสินธุ์/ผ้าบาติก ไปทานอาหารร้านเด่นๆ(ปลาสด ผักปลอดสาร) ไปวัดทุ่งบัว ไหว้สถูปสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ จุดชมวิว ไปเที่ยวหาดทรายเทียม บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์สมัยร.5 ไปวัดเอก

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

1.กลุ่มทอผ้ากระแสสินธุ์ควรสร้างแบรนด์ของตัวเอง สร้างอัตลักษณ์ของผ้าทอ และสมัครเป็นสมาชิกของหอการค้าจังหวัดสงขลา นำผลิตภัณฑ์ผ้าทอไปให้บุคคลสำคัญใส่เป็นนายแบบและบันทึกภาพเพื่อสร้างกระแส ประสานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานผ้าทอแทนผ้าทอเกาะยอ(มีเครื่องทอผ้า 20 ชุด)

2.พัฒนาบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงและข้าวซ้อมมือ สร้างกระแสการตลาด ในงานต่างๆของจังหวัด

3.ฟื้นฟูข้าว “หมูกมูสัง” ที่เคยประกวดได้รางวัลระดับโลกของคนกระแสสินธุ์ในอดีต

3.4 อำเภอสิงหนคร

-ตำบลชะแล้ มีข้าวสังหยด/ข้าวหอมนิล มีโรงสีชุมชน มีป่าชายเลน มีวัดชะแล้/วัดเขาผี มีมโนห์รา

-ตำบลชิงโค มีมะม่วงพิมเสน

-ตำบลรำแดง มีบ้านใบตาล มีน้ำมะม่วงเบา/มะม่วงแช่อิ่ม ทุ่งปอเทือง

-ตำบลปากรอ มีปลาท่องเที่ยว มีฟาร์มทะเล

-ตำบลม่วงงาม มีน้ำนมข้าวโพด

-ตำบลบางเขียด มีข้าวอินทรีย์(สังหยด)

-ตำบลสทิงหม้อ มีมะม่วงแปรรูปครบวงจร มีประเพณีแต่งงานต้นไม้ เครื่องปั้นดินเผา

-ตำบลหัวเขา มีไข่ครอบ

-ตำบลทำนบ มีปลาแปรรูป

สรุปแนวทางความร่วมมือการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

1.สร้างช่องทางสื่อสารผ่านเฟชบุ๊คเพื่อให้กลุ่มต่างๆได้เชื่อมโยงกันและส่งเสริมการตลาด

2.หอการค้าจังหวัดเปิดรับสมัครสมาชิกของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการส่งเสริม ความร่วมมือทางการตลาด

3.จัดทำฐานข้อมูล คัดกรองกลุ่มที่สนใจในแต่ละระดับเพื่อการส่งเสริมที่เหมาะสม

ปิดการประชุม เวลา 15.30 น.

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน