"รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"

  • photo  , 1706x960 pixel , 149,550 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 187,951 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 171,622 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 184,582 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 100,963 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 173,745 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 145,574 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 82,269 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 199,608 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 90,627 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 203,373 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 88,740 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 87,693 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 82,927 bytes.

"รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"

วันที่ 24 มีนาคม 2568 กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด/อบจ.สงขลา ประสานหน่วยงานในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย เข้าร่วมหารือการพัฒนาระบบรถสาธารณรับส่งผู้ปวยไปพบแพทย์  ณ ห้องประชุมรพ.สะบ้าย้อย โดยมีนพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.สะบ้าย้อยและทีมงาน ผู้แทนสสอ. อำเภอ พัฒนาการอำเภอ พัฒนาชุมชน อท.และรพ.สต.ในพื้นที่ สปสช.เขต 12 สมัชชาสุขภาพจังหวัด/มูลนิธิชุมชนสงขลา กู้ชีพกู้ภัย ให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงาน

1)เป้าหมาย ผู้ป่วยในกลุ่มเปราะบางยากลำบาก สามารถเข้าถึงระบบบริการลดความเหลื่อมล้ำของการรักษา ฟื้นฟู โดยทำงานร่วมกันระหว่างอปท./ท้องที่/รพ.สต.ในพื้นที่ร่วมกันคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ออกประกาศพร้อมกำหนดวงเงินตามประกาศของสปสช. พร้อมหลักเกณฑ์เฉพาะ(ถ้ามี)ของแต่ละตำบล และหลักเกณฑ์ร่วมระดับอำเภอ/จังหวัดในการสนับสนุนค่าใช้จ่าย โดยมีกองทุนสุขภาพตำบลรับผิดชอบในเบิ้องต้น และหากเกินศักยภาพกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดรับผิดชอบ โดยมีอำเภอทำหน้าที่จัดทำโครงการขอการสนับสนุน

หลักเกณฑ์การคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

-เป็นไปตามประกาศของสปสช.

-เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการทางสังคม หรือผู้นำในพื้นที่รับรอง

-เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในพื้นที่เกิน 6 เดือน ประสงค์ขอความช่วยเหลือ

2)เส้นทางรับส่ง แบ่งเป็น 2 ระดับได้แก่ จากตำบลมายังรพ.สะบ้าย้อย และจากรพ.สะบ้าย้อยไปยังรพ.ศูนย์ เช่น รพ.สงขลา หาดใหญ่ ม.อ. หรือจากตำบลไปยังรพ.ศูนย์

3)รถบริการ กรณีที่ดำเนินการโดยกองทุนสุขภาพตำบล รับส่งผู้ป่วยมายังรพ.สะบ้าย้อย 1.สามารถใช้รถของ อปท. เอกชนหรือของชุมชน โดยออกประกาศระเบียบเพิ่มเติม(กรณีไม่มีรถป้ายเหลืองหรือรถสาธารณะบริการในพื้นที่ห่างไกล) จัดเส้นทางวิ่ง จุดนัดขึ้นรถ จุดประสานงานการบริการร่วมกับอสม.หรือ CG 2.ประเภทรถที่ใช้ ได้แก่ รถตู้ รถกะบะหลังคาสูง รถเก๋ง 3.อบจ.ประสานรถ EV ของภาคเอกชน(รถป้ายเหลือง)มาเสริมบริการในภาพรวมของอำเภอ และกรณีรับส่งข้ามอำเภอ มีเส้นทาง 2 แบบคือจากตำบลมาจากจุดนัดขึ้นรถ เช่น รพ.สะบ้าย้อย และเดินทางไปยังรพ.ศูนย์ จะมีรถ EV ของภาคเอกชนที่อบจ.จะประสานงานมาบริการ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเกินศักยภาพของอปท.ในการสนับสนุน

4)ระยะเวลาดำเนินการ

-ช่วงเมษายน-กลางพฤษภาคม ตำบลบาโหย ตำบลคูหา ร่วมกับงานวิจัยม.ราชภัฎนำร่องทดลองวิ่งบริการในระดับตำบลมายังรพ.สะบ้าย้อย โดยประสานงานกับบ. myplatform ประสานรถของชุมชนบริการ ศึกษาเส้นทาง ระยะทาง จำนวนผู้ป่วย วงเงินที่เหมาะสมและแต่ละอปท.ประสานข้อมูล คัดกรองผู้ป่วยเพื่อออกประกาศและกำหนดวงเงินบริการของตนเอง

หมายเหตุ การประชุมรอบนี้ได้ประสานการทำงานระหว่างรพ.สะบ้าย้อยกับอบต.บาโหยและคูหาในการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย IMC ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีการนัดพบแพทย์ในเดือนเมษายนเพื่อให้สามารถประสานงานนัดหมายทดลองวิ่งบริการ

-ช่วงพฤษภาคม อบจ.นัดอำเภอ(ท้องถิ่นอำเภอ สสอ. ศจพ.อ คปสอ.ฯลฯ)และอปท.ในพื้นที่ วางระบบเส้นทางและการบริการข้ามอำเภอ พร้อมจัดระบบสนับสนุนผ่าน platform กลางที่ม.อ.กำลังพัฒนา

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน