"พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
"พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
วันที่ 13 มีนาคม 2568 โครงการพัฒนารูปแบบระบบบริการรถรับส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ม.ราชภัฎสงขลา จัดประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้ให้บริการในพื้นที่ อบต.บาโหย อ.สะบ้าย้อย ณ ห้องประชุมอบต.บาโหย และผ่านระบบประชุมทางไกล มีผู้เข้าร่วม 17 คน ประกอบด้วยทีมงานอบต.บาโหย 5 คน รพ.สต.บาโหย 2 คน ทีม บ. myplatform จำนวน 5 คน ทีมม.ราชภัฎและมูลนิธิชุมชนสงขลา 5 คน
ตำบลบาโหย หนึ่งในพื้นที่ห่างไกล จากที่นี่ ม.2 ไกลจากรพ.สะบ้าย้อย 37กม. มากที่สุดและไกลจากรพ.สงขลา 104 กม. หากไปกลับก็คูณสอง ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเดินทางไปใช้บริการ รพ.ยะลา โดยเฉพาะม.2 ม.5 การบริการรพ.สต.ต้องไปบริการเชิงรุกถึงบ้านด้วยข้อจำกัดของประชาชน
ปัจจุบัน อบต. มีรถ EMS ส่งผู้ป่วยฉุกเฉินบริการ 1 คัน กรณีจำเป็นต้องใช้รถเจ้าหน้าที่อปท.อำนวยความสะดวกอีกด้วย ทางนายกฯยังเตรียมรถส่วนตัวไว้อีก 1 คันเป็นรถสองแถวมีหลังคาพร้อมคนขับ และกองทุนสุขภาพตำบลอนุมัติวงเงินไว้สำหรับดูแลกลุ่มเปราะบางตามประกาศสปสช. 1.5 หมื่นบาท
ทางโครงการวิจัยได้นำเสนอแนวทางในภาพรวมและบ. myplatform นำเสนอตัวอย่างที่ดำเนินการในภาคเหนือ ซึ่งดำเนินการกับกองทุนสุขภาพตำบลตามเงื่อนไขและบริการสำหรับประชาชนที่จ่ายค่าบริการด้วยตัวเอง
สรุป แนวทางที่จะดำเนินการ
1.ผู้ป่วยกลุ่ม refer in ใช้บริการจากบ้านไปยังรพ.สะบ้าย้อย อนาคตต้องการใช้งบกองทุนสุขภาพตำบลดูแลตามประกาศของสปสช. ในช่วงนี้ใช้งบงานวิจัย ทดลองระบบบริการ โดยมีเป้าหมายเริ่มบริการต้นเดือนเมษายน-กลางพฤษภาคมนี้ โดยทางอบต./รพ.สต.ประสานรพ.สะบ้าย้อย เพื่อพิจารณารายชื่อและจำนวนผู้ป่วยร่วมกัน คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 2 ประเภท 1)กลุ่มที่จะใช้งบกองทุนตำบลฯดูแล กรณีที่ยากลำบากจริงๆจะดูแล 100% กรณีที่พอช่วยตัวเองได้ จะให้ร่วมสมทบ 30% 2)กรณีที่สามารถจ่ายบริการด้วยตัวเองได้ ทั้งรูปแบบเดินทางไปคนเดียวหรือพร้อมญาติ และประเภทร่วมกันสมทบค่าใช้จ่ายร่วมกัน
ประสานนัดหมายบริการกับรพ.สะบ้าย้อยเพื่อนัดพบแพทย์ในวันเดียวกัน
มีจุดนัดขึ้นรถอยู่ที่อบต.บาโหย เบื้องต้นนอกจากรถและคนขับที่นายกฯมีแล้ว ให้ประชาสัมพันธ์กลุ่มอสม.ที่มีรถและสนใจเข้าร่วมบริการกับ บ.My Platform และอบต.ร่วมกับทางบริษัทคำนวณค่าตอบแทนตามระยะทางจากบ้านไปยังรพ.สะบ้าย้อย อยู๋ในโซนที่ 3 ไปกลับไม่เกิน 80 กม. พร่อมแยกประเภทรถและค่าบริการ
พร้อมสร้างช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างอบต.กับบริษัท
การวิจัยจะช่วยทำให้เห็นต้นทุนและค่าบริการที่ควรมีและพอใจกันทุกฝ่าย ก่อนส่งต่อกองทุนสุขภาพตำบลรับลูกต่อ
หมายเหตุ เมื่อพิจารณาข้อมูลจำนวนผู้ป่วยและคัดกรองประเภทผู้ป่วยแล้ว หากมีเงินของกองทุนสุขภาพตำบลไม่เพียงพอ มีข้อเสนอให้จัดระดมทุนทอดผ้าป่าช่วยผู้ป่วยปีละครั้ง
2.ผู้ป่วยกลุ่ม refer out เดินทางจากตำบลบาโหยไปยังรพ.สงขลา หรือรพ.ศูนย์อื่นๆ ระยะทางไม่น้อยกว่า 200 กม. จะจัดระบบร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด/อำเภอ รพ.สะบ้าย้อยและอปท.ในพื้นที่ นัดหมาย 24 มีค.นี้
โดยจัดระบบบริการร่วมในระดับอำเภอ ทางบริษัทไปคำนวนระยะทางและค่าบริการรวมถึงประเภทรถเพิ่มเป็นโซนที่ 6 ที่ไกลกว่า 100 กม.(ไปกลับมากกว่า 200 กม.)
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568
- "พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลควนโส"