"รถรับส่งผู้ปวยพบแพทย์" จ.สงขลา
"รถรับส่งผู้ปวยพบแพทย์"
ระบบรถขนส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ จังหวัดสงขลา พัฒนาโดยกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด อบจ. สปสช. สสจ. พมจ. สนง.ขนส่งจังหวัด บ.Health Assist สมัชชาสุขภาพจังหวัด ม.ราชภัฎสงขลา
จะทดลองนำร่อง 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ควนเนียง อ.สะบ้าย้อย อ.เทพา อ.นาทวี บริการให้กับกลุ่มเป้าหมายที่แต่ละอำเภอกำหนด โดยเฉพาะผู้ป่วย IMC ที่จะต้องพบแพทย์เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือน ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยทั่วไปตามความจำเป็นและต้องการ
กำหนดรูปแบบบริการเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
1)รัฐดูแลตามสิทธิ์ เน้นในกลุ่มคนพิการ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง กลุ่มเปราะบางที่กองทุนสุขภาพตำบลกำหนด
2)ประชาชนจ่ายเงินเอง
3)ชุมชนร่วมจ่าย
ทั้ง 3 กรณีนี้ จะมี Center กลางระดับจังหวัด "ศูนย์เติมสุข" ทำหน้าที่ในการเชื่อมประสานและบริหารจัดการในภาพรวม รับผิดชอบโดยกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด(มีศูนย์ประสานงาน เจ้าหน้าที่ พร้อมPlatformกลาง "รถปันสุข" ในการสนับสนุนการบริหารจัดการ ทำงานผ่าน App, Line OA และโทรศัพท์) สามารถประสานงานกับอปท.ที่เป็นหน่วยเครือข่ายบริการ ภาคเอกชน มี Dashboard รายงานข้อมูลรถบริการ เส้นทาง ตารางการนัดหมายล่วงหน้า ผลการให้บริการรายเดือน/ปี ศูนย์ฯจะร่วมกับเครือข่ายกำหนดมาตรฐานการบริการ ควบคุมราคา คุณภาพ ปรับปรุงการบริการ
โดยมีเครือข่ายผู้ให้บริการประกอบด้วย
1)ภาคเอกชน ดำเนินการโดยบริษัท Health Assist และPlatform Health Assist จัดระบบรถบริการที่ผ่านมาตรฐานขนส่ง มีรถรับจ้างไม่ประจำทาง(ป้ายเหลือง) ระบบบริหารจัดการจะอยู่ใต้ "ร่ม" ของศูนย์เติมสุขจังหวัด เชื่อมต่อข้อมูลเป็นฐานเดียวกัน รวมถึงภาคเอกชนอื่นๆที่สนใจเข้าร่วม
2)รถ EMS ของอปท. รับส่งผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้เสียชีวิต คนพิการติดเตียง เชื่อมประสานกับ 1669 รวมถึงรถบริการของอปท.ที่ถึงกำหนดหมดอายุการใช้งานEMS แต่ยังสามารถวิ่งรถรับส่งผู้ป่วยได้
3)รถของสมาคม/มูลนิธิ ที่ต้องการเข้าสู่ระบบกลาง
4)รถของขนส่งจังหวัด ที่ต้องการเข้าสู่ระบบบริการ
ทั้งนี้การบริการครอบคลุม 3 รูปแบบดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มที่รัฐดูแลตามสิทธิ์ ซึ่งนำมาตรการของสปสช.มาเอื้อให้กับกลุ่มเป้าหมายของกองทุนสุขภาพตำบลรับผิดชอบ เบิกจ่าย 350 บาท/หัว/ครั้ง หรือเหมาจ่าย 2000 บาท/คัน ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1.รพ.ศูนย์ รพ.อำเภอในพื้นที่เป้าหมายที่จะต้องดำเนินการ ประกอบด้วย รพ.หาดใหญ่ รพ.สงขลา รพ.ม.อ. รพ.สมเด็จฯนาทวี และรพ.อำเภอเป้าหมายนำร่อง นำข้อมูลผู้ป่วย IMC , ผู้ป่วยมะเร็ง และผู้ป่วยที่ต้องการการบริการ ส่งต่อให้กับศูนย์เติมสุข และอปท.เป้าหมาย
2.อปท.โดยกองทุนสุขภาพตำบลคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ประกาศรายชื่อและเงื่อนไขการบริการ ขั้นตอนนี้จะบูรณาการร่วมกันระดับอำเภอ โดยมีกองทุนฟื้นฟูฯเขียนโครงการไปยังกองทุนสุขภาพตำบลแต่ละแห่ง บริหารงานร่วมกัน นำเงินแต่ละกองทุนฯเข้ากองทุนกลางของพื้นที่อำเภอ
3.อปท.ประสานนัดหมายรถภาคเอกชน/อปท./เครือข่าย ให้บริการ โดยมีศูนย์เติมสุขช่วยอำนวยความสะดวก เบิกจ่ายงบประมาณตามประเภทการบริการ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ กองทุนฟื้นูฯจังหวัดประสานอปท.ในพื้นที่เป้าหมายร่วมทำความเข้าใจและรับสมัคร พร้อมพัฒนาศูนย์เติมสุขและPlatform กลาง
ในส่วนงานวิจัยของม.ราชภัฎ จะเข้ามาเสริมในการทดสอบระบบการใช้งานในพื้นที่อ.ควนเนียง อ.สะบ้าย้อย ทดลองการวิ่งบริการและการจ่ายเงินในรูปแบบสนับสนุนงบทั้งหมดและร่วมจ่ายให้กับเครือข่ายผู้ให้บริการ และพัฒนา Platform กลางสนับสนุนในกรณีชุมชนร่วมจ่าย โดยดำเนินการร่วมกับบริษัทประชารัฐฯในรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม ระดมทุนทั้งเงิน และวัสดุอุปกรณ์มาร่วมสมทบให้กับอปท.ที่เกินศักยภาพ
Relate topics
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568
- "พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลควนโส"
- "รองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล"
- "การประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop ครั้งที่ 1)" โครงการอาสาสบ้านสร้างสุขชุมชน
- "ประชุมกลุ่มย่อยออกแบบระบบปฏิบัติการ"
- "ประชุมกลุ่มย่อยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอสะบ้าย้อย" งานวิจัยระบบขนส่งผู้ป่วยสงขลา
- ประชุมกลุ่มย่อยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตำบลควนโส (งานวิจัยระบบขนส่งผู้ป่วยสงขลา)
- สรุปผลงานโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS)
- "ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง
- "ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย