"การประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop ครั้งที่ 1)" โครงการอาสาสบ้านสร้างสุขชุมชน

  • photo  , 960x540 pixel , 87,284 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 192,965 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 85,981 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 92,141 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 90,029 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 170,119 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 94,724 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 86,332 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 105,766 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 82,778 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 107,724 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 92,128 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 86,435 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 81,770 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 203,581 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 140,284 bytes.
  • photo  , 960x1706 pixel , 361,259 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 83,170 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 181,659 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,654 bytes.

"การประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop ครั้งที่ 1)"

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 กองทนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรียนรู้การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลในการประเมินเบื้องต้นเพื่อปรับสภาพบ้านผู้ป่วยติดเตียงสิทธิบัตรทอง(กลุ่มสีแดง)ให้กับสถาปนิกอาสา  จำนวน 36 คน และชี้แจงแนวทางดำเนินงานให้กับอปท.พื้นที่เป้าหมาย 69 แห่ง ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ อบจ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 154 คน โดยมีนางปิยนันท์ สิงห์ทอง รองปลัด อบจ.เปิดการประชุม ชี้ให้เห็นการทำงานเป็นทีมร่วมมือกันหลายเครือข่ายและมีเป้าหมายร่วม

รอบเช้าเริ่มด้วยการเสวนากลุ่ม นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาการผอ.กองสาธารณสุข อบจ.สงขลา กล่าวแนะนำโครงการพร้อมชี้ให้เห็นอุปสรรคของการปรับสภาพบ้านให้กับคนพิการติดเตียงที่มีทั้งในส่วนของการออกแบบ องค์ความรู้ การไม่มีค่าแรงหรือช่าง การไม่มีบุคลากรของอปท. เหล่านี้ทำให้มีข้อจำกัดในการขอการสนับสนุนงบประมาณ กองทุนฯกับเครือข่ายจึงปรับระบบการสนับสนุนใหม่ กำหนดเป้าหมายปรับสภาพบ้านและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิ์และสวัสดิการพื้นฐานให้กับครัวเรือนคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง 904 คน โดยคัดกรองเป็น 3 กลุ่ม และวางเป้าหมายปี 68 สนับสนุนให้กับกลุ่มสีแดงจำนวน 300 คน พร้อมกับประสานคณะสถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย จัดหานักศึกษามาช่วยลงพื้นที่ออกแบบบ้านให้กับคนพิการรายหลัง พร้อมอธิบายลักษณะของผู้ป่วยติดเตียงที่มีทั้งช่วยตัวเองได้และช่วยตัวเองไม่ได้

โดยทีเกณฑ์ในการคัดเลือกในกลุ่มสีแดงก็คือ รายได้เฉลี่ยครัวเรือนต่อปีไม่เกิน 40,000 บาท เป็นคนพิการติดเตียง มีสภาพบ้านที่จำเป็นต่อการปรับปรุง มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว ในครัวเรือนมีผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง(คนพิการ ผู้ป่วย)

ทั้งนี้ ยังต้องการกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม จากที่คัดกรองเบื้องต้นได้มาเพียง 168 คน โดยเปิดโอกาสให้อปท.ตรวจสอบรายชื่อและส่งรายชื่อคนพิการติดเตียงเพิ่มเติมได้จนถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้

นางณิชาพัชฌ์ เพ็ชรพันธ์ุ พัฒนาสังคงและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลานำเสนอบทบาทของพมจ.และข้อมูลสิทธิ์และสวัสดิการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและสมาชิกในครอบครัว อาทิ เบี้ยคนพิการ กายอุปกรณ์ เงินกู้ยืม รวมถึงการทำงานร่วมกับ CSR ในการดูแลการปรับสภาพบ้านและการเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน

นายรุสลาน เดเร๊ะมะ สถาปนิกมุสลิมเพื่อชุมชน และอาจารย์จามิกร มะลิซ้อน นำเสนอแนวคิดการใช้ความรู้ของสถาปนิกในการปรับสภาพบ้านที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต ที่แตกต่างกันของบ้านคนทั่วไปและบ้านสำหรับคนพิการติดเตียง โดยคำนึงความประหยัด การส่งเสริมชีวอนามัย และส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอดคล้องสภาพร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ รวมถึงมิติทางสังคม

นายอิสม่าแอน หมัดอะด้ำ มูลนิธิฅนช่วยคน นำเสนอการหลุดพ้นกับดักวิธิีคิดในการใช้เงินเป็นตัวตั้งในการปรับสภาพบ้าน เน้นการทำงานร่วมกันในลักษณะหุ้นส่วนทางสังคมร่วมสร้างความดี แชร์ทรัพยากรในพื้นที่ ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

นายชาคริต โภชะเรือง สม่ัชชาสุขภาพจังหวัด กล่าวถึงแผนการทำงานในภาพรวม และการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อช่วยสถาปนิกอาสา และอปท.ในการประสา่นงาน ส่งต่อข้อมูลการปรับสภาพบ้านรายหลัง โดยมูลนิธิชุมชนสงขลา ออกแบบการเก็บข้อมูลผ่าน Application iMed@home ระบบกลุ่ม

จากนั้นมีการแบ่งกลุ่มการทำงานระดับอำเภอ 4 โซน สร้างกลุ่มไลน์เพื่อใช้ในการสื่อสาร รวมถึงการประสานนัดหมายการลงพื้นที่กับอปท.ที่จะต้องช่วยนำทางให้กับนักศึกษาที่จะลงพื้นที่ประเมินสภาพบ้านเบื้องต้นในช่วงเสาร์-อาทิพย์ที่ 15-16 กุมภาพันธ์ และ 22-23 กุมภาพันธ์ พร้อมกับติดตั้งแอพ IMed@home จัดระบบกลุ่มใหญ่ "ความสุขเริ่มที่บ้าน" และกลุ่มย่อย "บ้านสร้างสุข (ชื่ออปท.) เพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินงาน

ภาคบ่าย มีการแนะนำโปรแกรมในการออกแบบ รวมถึงเครื่องมือใหม่ๆให้กับสถาปนิกอาสา โดยทีมสถาปนิกมุสลิมเพื่อชุมชน พร้อมสาธิตการสร้างและการกรอกข้อมูลผ่านแอปพลิเคชั่น IMed@home ชี้แจงคำถามในแต่ละหัวข้อที่จะจัดเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินการปรับสภาพบ้าน พร้อมบันทึกภาพถ่ายในแต่ละด้าน รวมถึงการ Sketch แบบแปลนบ้านแบบง่าย นักศึกษาได้ร่วมซักถาม ร่วมฝึกใช้งานระบบ ทั้งนี้จะมีการอบรมการใช้โปรแกรม sketchup ให้กับนักศึกษาอีกครั้งก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2

นักศึกษาได้แบ่งกลุ่มตามโซนพื้นที่รับผิดชอบ และรวมกลุ่มการลงพื้นที่ไปประเมินเบื้องต้น กลุ่มละ 2-4 คน เฉลี่ย 1 คนรับผิดชอบออกแบบบ้านรายหลังจำนวน 4 หลัง ในส่วนนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้กับทีมสถาปนิกอาสา โดยจะประชุมเพื่อความชัดเจนอีกรอบวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เวลา 19.00-21.00 น.ผ่านระบบประชุมทางไกล เพื่อพิจารณารายชื่อที่นักศึกษาจะรับผิดชอบ หลังอปท.ส่งชื่อมาให้กองทุนฟื้นฟูฯภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน