"ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ" พื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย

  • photo  , 1477x1108 pixel , 144,982 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 172,250 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 137,353 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 202,188 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 166,053 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 158,657 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 163,982 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 135,830 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 122,971 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,600 bytes.

"ประชุมกลุ่มย่อยผู้รับบริการ"

วันที่ 8 มกราคม 2568 โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบระบบบริการรถรับส่งสาธารณะรับส่งผู้ป่วยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ม.ราชภัฎสงขลา จัดประชุมกลุ่มย่อยพัฒนาระบบบริการรถรับส่งสาธารณะผู้ป่วยพบแพทย์พื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย ณ ห้องประชุมชั้น 2 รพ.สะบ้าย้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่อง 2 พื้นที่ คือ อำเภอสะบ้าย้อย และควนเนียง มีผู้เข้าร่วม 25 คนประกอบด้วย ผู้ป่วย/ญาตผู้ป่วยที่เป็นผู้รับบริการ 17 คน เจ้าหน้าที่รพ.สะบ้าย้อย 3 คน ทีมงานม.ราชภัฎสงขลาและมูลนิธิชุมชนสงขลา 5 คน

เป็นผลสืบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในพื้นที่ ปัจจุบันมีราว 6,000 คน ทำให้ระบบส่งต่อจากรพ.สะบ้าย้อยไปยังรพ.ศูนย์ที่เป็นแม่ข่ายคือรพ.หาดใหญ่ มีการเปลี่ยนนโยบายเพื่อช่วยลดความแออัดให้ไปพบแพทย์เฉพาะทาง ณ รพ.สงขลาแทน ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อประสบปัญหาการเดินทาง เพิ่มภาระงบประมาณ และต้องเดินทางถึง 2 ทอด ผู้ปวยจำนวนหนึ่งจึงไม่ไปพบแพทย์ตามนัด และกรณีผู้ป่วยและญาตต้องเหมารถบริการจากเพื่อนบ้าน เฉลี่ย 1500-2000 บาทต่อครั้ง

รพ.สะบ้าย้อยแก้ปัญหาด้วยการทำโครงการรถตู้ลดความเหลื่อมล้ำ จัดบริการให้กับผู้ป่วย 12 คน/วัน โดยเก็บค่าบริการ 150 บาท(ค่าใช้จ่ายปกติ 300 บาท) ผู้ป่วยเดินทางมาขึ้นรถ ณ รพ.สะบ้าย้อย 7.00 น.และเดินทางไปยังรพ.สงขลาและกลับพร้อมกันในช่วงเย็น มีเจ้าหน้าที่ของรพ.ที่อยู๋ประจำศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ประสานงานร่วมกับพนักงานขับรถ โดยจัดบริการมาเป็นเวลา 1 ปีเต็มช่วยผู้ป่วยโรคทั่วไปหรือโรคเรื้อรังได้จำนวน 250-300 คนต่อเดือน(เฉลี่ยเดือนละ 500 คน) แต่ก็ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องการบริการ โดยเฉพาะกลุ่มติดเตียง หรือจิตเวช หรือการส่งต่อไปยังรพ.หาดใหญ่ รพ.ม.อ รพ.สมเด็จนาทวีฯ

ที่ประชุมกลุ่มย่อยได้นำเสนอรูปแบบการบริการดังกล่าว เพื่อหาข้อเสนอการพัฒนาต่อยอด มีข้อสรุปสำคัญดังนี้

1.กรณีของการบริการในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย กรณีที่ผู้ป่วยจ่ายเองในราคาที่พอจะจ่ายได้ มีข้อเสนอ ต้องการรถตู้เพิ่มอีกอย่างน้อย 1 คัน เพื่อให้บริการช่วงเช้าและบ่าย ลดปัญหาการรอกลับของผู้ป่วยและญาติ การได้มาของรถตู้

1)ประสานรถภาคเอกชนเข้ามาบริการ โดยทำข้อมูลความต้องการ จำนวนผู้ใช้บริการ

2)กรณีไม่มีเอกชนสนใจ รพ.สะบ้าย้อย จัดตั้งมูลนิธิ รับบริจาครถ หรืออบจ.ประสานหารถบริการเติมเต็ม ประชาชนร่วมจ่าย

ทั้งนี้รพ.สะบ้าย้อยเหมาะสมที่จะเป็นจุดบริการ นัดหมายขึ้นรถ และควรประสานงาน CG มาช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีผู้ป่วยไม่มีญาตดูแล

2.รูปแบบการประสานงาน โดยศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยรพ.สะบ้าย้อย ผู้ป้วยต้องการใช้โทรศัพท์เป็นหลัก บางพื้นที่ยังมีปัญหาอินเตอร์เน็ต เช่น ธารคีรี บาโหย แต่ก็มีลูกหลานที่สะดวกในการใช้ line (งานวิจัยสามารถต่อยอดอำนวยความสะดวกให้ศูนย์ประสานงาน ทำระบบบริการนัดหมาย จองคิว ประสานรถรับส่งผ่าน line OA) ทั้งนี้ข้อมูลที่ศูนย์ประสานงานต้องการ คือ ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรของผู้ป่วยหรือญาต วันที่หมอนัด เวลานัด แผนกที่นัด

3.รูปแบบบริการสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและคนพิการ ทางสปสช.ได้ออกมาตรการอำนวยความสะดวกให้เบิกจ่ายเงินค่าเดินทางผ่านกองทุนสุขภาพตำบล คนละ 350 บ./ครั้ง หรือเหมาจ่าย 2000 บาทต่อคัน กรณีนี้อปท.จะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการร่วมกับ รพ. ออกประกาศผู้มีสิทธิ์รับบริการ โดยใช้รถฉุกเฉินที่หมดอายุการใช้งานแต่ยังสามารถใช้งานได้ มีความปลอดภัยในการใช้งาน ถูกปรับมาให้บริการรับส่ง(ทั้งจังหวัดมี 76 คัน) หรือรถในพื้นที่หรือรถที่อปท.มีอยู่ ทา่งอบจ.สงขลาจะนำร่องในส่วนของผู้ป่วย IMC และมะเร็ง โดยให้อปท.เป็นศูนย์ประสานงานในพื้นที่ร่วมกับศูนย์เติมสุขจังหวัดที่จะมีห้องประสานงาน มีเจ้าหน้าที่นั่งประจำในการประสานงาน และมีระบบสนับสนุนที่จะอำนวยความสะดวกในการประสานการทำงานให้บริการกับภาคเอกชน รพ. หรือรถบริการอื่นที่ต้องการเข้าร่วม โดยนำร่องใน 3 อำเภอก่อน คือ สะบ้าย้อย นาทวี เทพา

ทั้งนี้หากพัฒนาระบบบริหารจัดการรับส่งในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย ผ่าน lineOA ระบบนี้จะถูกเชื่อมโยงไปถึงศูนย์เติมสุขจังหวัด มีการประสานการทำงานร่วมกันต่อไป

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน