ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"

  • photo  , 1706x960 pixel , 201,547 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 187,575 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 152,225 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 42,857 bytes.
  • photo  , 1907x858 pixel , 114,908 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 86,812 bytes.

ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"

ปลายปี 2564 มูลนิธิชุมชนสงขลากับดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.จับมือร่วมกันพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม iMedCare ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน โดยการสนับสนุนของหลายหน่วยงาน อาทิ สวทช. กศส. อบจ. วช. โดยกิจกรรมหลักคือ พัฒนาให้เกิด HCG (Home Care Giver)หรือผู้ดูแลที่บ้าน และได้นำหลักสูตรไปพัฒนา HCG ได้หลายรุ่น ราว 300 คน รวมถึงพัฒนาแอพพลิเคชั่น iMedCare เพื่อใช้สนับสนุนการบริการ

6 กรกฏาคม 2566 เริ่มมีการประกาศใช้งานและรับบริการเคสแรก จนปัจจุบันผ่านไปปีครึ่ง เรามีรายได้เฉียดล้านบาท สร้างงานและรายได้ให้กับ HCG ขององค์กรราว 20-30 คน บริการผู้ป่วยที่มีกำลังจ่ายในมาตรฐานที่ดี และเป็นการยกระดับวิชาชีพเป็นกำลังคนด้านสุขภาพแนวใหม่ โดยทำงานผ่านกองทุน iMedCare มูลนิธิชุมชนสงขลา

ปี 2568 เป็นต้นไป เราจะดำเนินการภายใต้บริษัทประชารัฐรักสามัคคีสงขลา(วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด อย่างเป็นทางการ

และเข้าไปร่วมบริการกับทีมกลางจังหวัด เพื่อยกระดับบริการสาธารณะที่จะดูแลให้ครอบคลุมประชากรทุกสิทธิ์ โดยจำแนกผู้ป่วย LTC ที่จะต้องได้รับบริการตามสิทธิ์ ช่วยกันพัฒนา CG ให้มีมาตรฐานและครอบคลุมพื้นที่รับบริการ โดย iMedCare จะดูแลในส่วนผู้ป่วยที่มีกำลังจ่าย

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน