"iMed@home ระบบกลุ่ม"
"iMed@home แบบคัดกรองระบบกลุ่ม"
โจทย์ใหญ่ของคนทำโครงการก็คือ การวัดผลโดยเฉพาะการปรับพฤติกรรมระบบกลุ่มของแอพฯ iMed@home ออกแบบขึ้นมาเพิ่มเติมเพื่อเสริมหนุนการดำเนินงานโครงการ โดยใช้งานสนับสนุนโครงการย่อยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประเด็นยาเสพติดในชุมชนและสุขภาพจิตในสถานศึกษา รวม 30 โครงการ
การใช้งานระบบ
1.พัฒนาแบบคัดกรองรายบุคคล โดยนำแบบประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมิติด้านสุขภาพ เสริมด้วยมิติด้านสภาพแวดล้อม (เศรษฐกิจ สังคม) บนฐานการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง
นำเข้าสู่ระบบกลุ่มของแอพฯ
2.การใช้งาน จะเริ่มด้วยการจัดตั้ง Admin ของโครงการย่อย Admin ทีมกลางมูลนิธิชุมชนสงขลา ตั้งชื่อกลุ่ม โดยย่อเอาคำสำคัญของโครงการย่อยมาตั้งเป็นชื่อกลุ่ม เริ่มจากตั้งกลุ่มใหญ่ของแผนงานร่วมทุนฯ 2 กลุ่ม คือกลุ่มแผนงานร่วมทุนประเด็นยาเสพติด กับแผนงานร่วมทุนประเด็นสุขภาพจิต เพื่อให้ทีมกลางและทีมพี่เลี้ยงได้เข้าใช้งาน สามารถมองเห็นกลุ่มย่อยหรือโครงการย่อยในระบบ
การจัดตั้งกลุ่มใหญ่ เริ่มด้วยสมาชิกโหลดแอพ สมัครสมาชิก แล้วไปที่เมนู : กลุ่ม>ค้นหาชื่อกลุ่มใหญ่>คลิกไปที่ชื่อกลุ่ม>ไปที่จุดสามจุดมุมขวาบน/Dashboard>กลุ่มย่อย>ตั้งกลุ่มย่อย
จากนั้น โครงการย่อย จัดตั้ง Admin กลุ่มอย่างน้อย 1 คน ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น iMed@home>สมัครสมาชิก>ไปที่เมนู: กลุ่ม>ค้นหาชื่อกลุ่มของโครงการ>คลิกไปที่กลุ่ม>ขอเข้าร่วมกลุ่ม(มุมบนด้านขวา มีแถบตัวอักษรสีน้ำเงิน)>ทีมกลางกดรับเข้ากลุ่ม>อนุมัติให้เป็น Admin>Admin คลิกเข้าร่วมกลุ่ม หน้าจอจะแสดงเมนูหลัก
จานั้น Admin ของโครงการย่อยรับสมาชิกเข้ากลุ่ม...สมาชิกในกลุ่มที่ต้องการใช้แบบคัดกรอง ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น iMed@home>สมัครสมาชิก>ไปที่เมนู: กลุ่ม>ค้นหาชื่อกลุ่มของโครงการ>คลิกไปที่กลุ่ม>ขอเข้าร่วมกลุ่ม(มุมบนด้านขวา มีแถบตัวอักษรสีน้ำเงิน)>Admin กลุ่มกดรับเข้ากลุ่ม>อนุมัติสิทธิ์การใช้งานให้สมาชิก ได้แก่ Admin สามารถดูและแก้ไขข้อมูล ให้แสดงรายชื่อบุคคล แต่สมาชิกทั่วไปที่ไม่ใช่ Admin จะดูข้อมูลสถิติได้อย่างเดียว>สมาชิกคลิกเข้าร่วมกลุ่ม หน้าจอจะแสดงเมนูหลัก
เข้าสู่การจัดทำแบบคัดกรองรายบุคคล สมาชิกที่ผ่านการอบรมการใช้งาน สมัครสมาชิกและเข้าสู่ระบบกลุ่มย่อย คลิกไปที่แบบคัดกรอง > คลิกแบบคัดกรองที่ต้องการดำเนินการ > ดำเนินการตามขั้นตอน
1)ค้นหาชื่อผู้ที่จะคัดกรองเพื่อดูว่ามีรายชื่อในระบบหรือยัง ด้วยการป้อนชื่อ นามสกุล หรือ หมายเลข 13 หลัก ในช่องค้นหา แยกชื่อและนามสกุลด้วยช่องว่างอย่างน้อย 1 ช่อง โดยสามารถป้อน บางส่วนของชื่อ และบางส่วนของนามสกุลก็ได้ เมื่อมีรายชื่อแสดงมาที่ด้านล่างของช่องค้นหา ให้กดที่ชื่อที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่มถัดไป
กรณีเป็นคนใหม่ ไม่มีชื่ออยู่ในระบบ ให้คลิกเพิ่มผู้ป่วยแถบวงกลมสีเขียวที่มีสัญลักษณ์คนและเครื่องหมาย + คลิกเพิ่มผู้ป่วยรายใหม่>บันทึกข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วยเข้าระบบตามหัวข้อที่กำหนด กรณีที่ไม่มีข้อมูลสามารถมาเพิ่มเติมข้อมูลในภายหลัง ยกเว้น กรณีบัตรประชาชน หากไม่รู้เลข ๑๓ หลัก ให้ใส่เครื่องหมาย “?” (เครื่องหมายตำถาม) ลงไปก่อน ระบบจะบันทึกผลอัตโนมัติ
การลงที่อยู่ ให้ลงบ้านเลขที่เป็นตัวเลข ตามด้วยหมู่บ้าน หรือ ม. จากนั้นให้เลื่อนลูกศรมาคลิกที่ จังหวัด>เลือกจังหวัด>อำเภอ>ตำบลตามข้อมูลที่ระบบแสดงผล กด +เพิ่มผู้ป่วยรายใหม่
กรณีมีชื่อในระบบแล้วให้ทำบันทึกแบบคัดกรองครั้งใหม่ได้เลย โดยค้นหาชื่อ หรือคลิกไปยังสัญลักษณ์และชื่อผู้ป่วยที่มีในระบบบริเวณแถบด้านบนของเมนูค้นหา
ทั้งนี้ ข้อมูลพื้นฐานบันทึกครั้งเดียวจะมีการแก้ไขในกรณีมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงจากเดิมเท่านั้น
2)คัดกรองสุขภาวะรายบุคคล ระบบจะไปที่แบบคัดกรองสุขภาวะรายบุคคล คลิกเลือกแบบคัดกรองประเด็นที่ตรงกับโครงการระดับพื้นที่ดำเนินการบันทึกไปตามหัวข้อจนแล้วเสร็จ ระบบจะบันทึกผลอัตโนมัติ
บันทึกไปตามหัวข้อที่มี โดยเริ่มบันทึกข้อมูลจากคำถามแรก จากนั้นระบบจะแสดงคำถามถัดไป ข้อใดไม่มีข้อมูลหรือไม่เกี่ยวข้องสามารถข้ามได้ บางคำถามจะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นหลังจากคลิกตอบ
แบบคัดกรองนี้สามารถทำซ้ำเดือนละครั้งหรือสอง-สามเดือนครั้งแล้วแต่กำหนด เพื่อวัดผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แผนงานร่วมทุนฯกำหนดให้คัดกรอง 3 ครั้ง คือ ก่อนดำเนินกิจกรรม ขณะดำเนินกิจกรรม และหลังดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเสี่ยง
กรณีที่คัดกรองแล้วสามารรถคัดกรองซ้ำโดยดำเนินการตั้งแต่เมนูหลักของผุ้ป่วย>แบบคัดกรองสุขภาวะรายคน>เลือกแบบคัดกรองตามประเด็น >ไปที่เพิ่มแบบคัดกรอง
หมายเหตุ ควรดำเนินการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายพร้อมกันให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเดือนเดียวกันในแต่ละรอบของการคัดกรอง ทั้งนี้ระบบจะให้ผู้ใช้งานสามารถทำแบบคัดกรองได้เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
กรณีไม่มีทีมที่สามารถใช้สมาร์ทโฟนผ่านแอพพลิเคชั่น สามารถดำเนินการผ่านแบบสอบถามแล้วนำส่งให้ Admin บันทึกข้อมูลเข้าระบบ
3) การดูรายงานผลการคัดกรองสุขภาวะรายบุคคล
Admin ไปที่แบบคัดกรอง> เลือกแบบคัดกรองที่ต้องการดูข้อมูล> คลิก เลือกดูรายงานวิเคราะห์ นำเสนอในรูปแบบสถิติตามหัวข้อในแบบคัดกรอง โดยAdmin สามารถให้แสดงรายชื่อกลุ่มป่วย/กลุ่มเสี่ยง ด้วยการคลิกเลือกให้แสดงผลในแต่ละหัวข้อ
การคัดกรองซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง ระบบจะช่วยประมวลผลทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินงานโครงการที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย ขณะที่การคัดกรองแบบมีส่วนร่วมจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากขึ้น
นอกจากนั้น กรณีต้องการพิมพ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถใช้โน้ตบุคหรือคอมตั้งโต๊ะที่มีการต่อพ่วงกกับเครื่องพิมพ์ แล้วดำเนินการผ่าน www.communeinfo.com โดยไปที่ iMed@home แล้วไปที่กลุ่ม >ค้นหาชื่อกลุ่ม>ไปที่แบบคัดกรอง>รายงานการวิเคราะห์ข้อมูล>ไปที่จุดสามจุดด้านขวามือมุมบนของหน้าจอ สั่งพิมพ์
ปัจจุบัน มีแบบคัดกรองทั้งสิ้น 4 ประเด็น ได้แก่ แบบคัดกรองรองรับสังคมสูงวัย แบบคัดกรองประเด็นยาเสพติดในชุมชน แบบคัดกรองประเด็นสุขภาพจิตในสถานศึกษา และแบบคัดกรองกลุ่มเปราะบาง อนาคตจะเพิ่มในส่วนของการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Relate topics
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567
- “พูดให้น้อย ทำให้เยอะ : ค่านิยมร่วม HCG ของ iMedCare”
- กิจกรรมตรวจรับรองแปลงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SGS PGS ปี 2567