การเชื่อมโยงเครือข่ายรับมือภัยพิบัติจังหวัดสงขลา ในงาน Songkhla Health Fair 2013
8 มิ.ย. 56 - นายสมภพ วิสุทธิศิริ ผู้แทนศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก และ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ ทีมประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัด คณะทำงาน ACCCRN ได้ร่วมกันนำเสนอ "ระบบการเตือนภัยจังหวัดสงขลา"
ดร.ธนิต หลักการและขั้นตอนในการประเมินสถานการณ์น้ำท่วมของวอร์รูมที่หลายหน่วยงานนำข้อมูลมากางคุยกันเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อนำเสนอให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาในการประกาศเตือนภัยต่อไป
ผู้รู้จากภาคีเครือข่าย จ.สงขลา ได้นำเสนอการพัฒนารระบบการเตือนภัยเพื่อการรับมือภัยพิบัติ โดยมีตัวแทนจากหลากหลาย เช่น เครือข่าย อสม. สมาคมวิทยุสมัครเล่นสมิหลาสงขลา (ว.ดำ ว.แดง) สภาองค์กรชุมชน ทรัพยากรน้ำภาค 8 โดยแต่ละเครือข่ายมีช่องทางและรูปแบบที่แตกต่างกันในการสื่อสารในสภาวะวิกฤติช่วงภัยพิบัติ และการเชื่อมโยงเครือข่ายในช่วงวิกฤติเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่หลากหลายและทั่วถึง
ภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดกลุ่มย่อยโดยแยกออกเป็น 5 กลุ่มย่อยตามลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ลุ่มน้ำคลองนาทวี ลุ่มน้ำเขตคาบสมุทรสทิงพระ ลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ ลุ่มน้ำคลองเทพา เพื่อเสาะหาชุมชนเสี่ยงภัย รูปแบบกลไกในระดับชุมชน ผู้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกลไกระดับชุมชน แผนรับมือภัยพิบัติระดับชุมชน ผังน้ำของแต่ละลุ่มน้ำ บุคคลหรือองค์กรที่จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง/เตือนภัย จุดใดควรมีธงสี มีกล้องวงจรปิด รูปแบบความร่วมมือของแต่ละองค์กรในการวางระบบเตือนภัย
Relate topics
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567
- “พูดให้น้อย ทำให้เยอะ : ค่านิยมร่วม HCG ของ iMedCare”