แม้โรงพยาบาลจะจนลง เราจะไม่ลดคุณภาพของการรักษาพยาบาลอย่างแน่นอน
เมาะฟกช้ำ ขอยาเยอะ รู้ไหมว่าโรงพยาบาลยากจนอยู่นะ
บ้านเมาะเป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงแบบโบราณ เมาะเหยียบพื้นไม้ที่ผุแล้วไม้หักแตก ขาเมาะเลยตกลงมาในร่องไม้ ฟกช้ำห้อเลือด ทนปวดบวมมาสองวัน รู้สึกปวดมากขึ้นเลยมาโรงพยาบาลสะบ้าย้อย
ผมตรวจดูแล้วก็ไม่เป็นอะไรมากจ่ายยาแก้ปวดแก้อักเสบไปทาน อีก 3 อาทิตย์ฟกช้ำก็หายเอง เมาะก็รับทราบ แล้วเมาะก็ขอยาอื่นอีกหลายตัวจากอาการจิปาถะ ยากระเพาะ ยาเวียนหัว ยาบำรุง ยาทาคัน ยาหยอดตา น้ำเกลือกิน ด้วยเหตุผลว่า เมาะอยู่ไกล ออกมาลำบาก
โรงพยาบาลทั่วไทยมีรายรับลดลง จากการที่งบบัตรทองผู้ป่วยในซึ่งเป็นงบปลายปิด เมื่อมียอดผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นมาก แต่งบมีเท่านั้น ทำให้เมื่อนำงบมาแบ่งจัดสรรแล้วก็จะได้เงินคืนกลับมาน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โรงพยาบาลสะบ้าย้อยก็เช่นกัน รายได้ลดลง โรงพยาบาลจนลง แต่เมาะยังขอยาโน่นนี่อีก จะจ่ายให้ดีไหม??
ผมก็คีย์ยาตามที่เมาะขอมาโดยไม่อิดออด สวัสดิการสังคมเล็กๆน้อยๆที่รัฐไทยหรือหมอไทยจะช่วยลดภาระของเมาะได้บ้าง รวมค่ายาก็ไม่ถึง 150 บาท ประสบการณ์ของผมคือ ในหมู่บ้านไม่เหมือนในเมือง จะซื้อยาเองจากร้านขายยาก็ไม่ได้ เพราะร้านขายยาไม่มี ต้องทนป่วยหรือไม่ก็ต้องหารถมาโรงพยาบาล
แม้โรงพยาบาลจะจนลง เราจะไม่ลดคุณภาพของการรักษาพยาบาลอย่างแน่นอน ยังยืนหยัดดูแลประชาชนให้ดีที่สุด เป็นหน้าที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบส่วนอื่นมาเติมให้
แม้โรงพยาบาลจะจนลง แต่ชาวบ้านนั้นจนกว่า เพราะทุนผูกขาดดูดเงินจากกระเป๋าชาวบ้านไปหมดแล้ว ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจไทยแบบนี้ เราคงจะจนกันไปด้วยกันอีกนาน !!!
แล้วเมาะก็ยิ้มพร้อมบอกว่า “นีมอกะเซะ บอมอ” ก่อนออกจากห้องไปรับยา
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
12 กันยายน 2567
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568