ธรรมนูญรองรับสังคมสูงวัยชุมชนบ้านเพนียด
ธรรมนูญรองรับสังคมสูงวัยชุมชนบ้านเพนียด
วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 กองสาธารณสุขอบจ.สงขลาร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา/มูลนิธิชุมชนสงขลา จัดประชุมใหญ่ประชาพิจารณ์ธรรมนูญรองรับส้งคมสูงวัยชุมชนบ้านเพนียด ต.แค อ.จะนะ จ.สงขลา โดยมีนายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกอบจ.สงขลา นางสาวปรินดา ปาลาเร่ รองนายกอบจ.สงขลาให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดกิจกรรม โดยมีผู้เข้าร่วม140 คน ประกอบด้วย นายกอบต.แค ปลัดอบต. ทีมงาน ผู้นำท้องที่ รพ.สต. โรงเรียน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ณ ศาลาเอนกประสงค์อาคารกีฬา อบต.แค
กิจกรรมเริ่มด้วยพิธีเปิด การคืนข้อมูลผลการคัดกรองสุขภาวะกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย อายุ35ปีขึ้นไปจำนวน100คน และพิจารณาร่างธรรมนูญรองรับสังคมสูงวัย 4มิติ รวมถึงด้านบริหารจัดการ ที่ประชุมร่วมรับรองและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้
หมายเหตุ ข้อตกลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนบ้านเพนียด ใช้เพื่อการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในชุมชน อยู่บนพื้นฐานความสมัครใจ และใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาพื้นที่ และสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชนสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ
1)ด้านสุขภาพ
เป้าหมาย ส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย สามารถรวมกลุ่มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพร่วมกัน
ข้อตกลงร่วม
1.อบต.แค รพ.สต. รพ.จะนะ อสม. และชุมชนร่วมสร้างความรอบรู้ด้าน 3อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ 2ส. ได้แก่ การสูบบุหรี่ สุรายาเสพติด 1ฟ ได้แก่ การดูแลสุขภาพช่องปาก 2น. ได้แก่ น้ำหนักและการนอน ไปถึงประชาชน
2.ส่งเสริมการรวมกลุ่มออกกำลังกาย อาทิ ผู้หญิงรวมกลุ่มเล่นวอลเลย์บอล ผู้ชายเล่นฟุตบอล เปตอง มีรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย อาทิ เดิน วอลเลย์บอล จักรยาน เปตอง ฟุตบอล ไม้พลอง ยางยืด ผ้าขาวม้า แอโรบิค บาร์สโลป
3.วัยทำงานควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่างกายก่อนไปกรีดยาง หรือทำงารหนัก มีการปรับท่ากรีดยางให้เหมาะสม ไม่ก้มมากเกินไป
4.มีกิจกรรมสันทนาการกลุ่มเดือนละครั้ง ณ สนามกีฬาอบต.ขยายผลห้องเรียน "ปิ่นโตสุขภาพ" รองรับสังคมสูงวัย ปรับพฤติกรรมการบริโภค การสร้างเมนูสุขพาพประจำครัว ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมคัดกรองสุขภาวะรายคน
5.ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครัวเรือนๆละอย่างน้อย 2 ชนิด นำมาใช้แก้ปัญหาปวดเมื่อย เช่น นำมาแช่เท้า พอก นวด ประคบ รวมถึงลดความดัน(ใบบัวบก กระเทียม กระเจี๊ยบแดง ตะไคร้ ขิง กระเพรา) เบาหวาน(มะระขี้นก ตำลึง ขิง ขมิ้น กระเจี๊ยบเขียว) ไขมัน(กระเจี๊ยบแดง กระเทียม ขิง ขมิ้น มะนาว ส้มแขก)
6.ทุกครัวเรือนปลูกผักไร้สารพิษเพื่อบริโภค
7.มีเมนูสุขภาพประจำครัวเรือน ลดการใช้ผงชูรสปรุงอาหาร ลดความหวาน มัน เค็ม เน้นการนึ่ง ลวก ต้ม มากกว่าทอด
8.ส่งเสริมตลาดปลอดภัย
9.อสม.และรพ.สต.ลงเยี่ยมผู้ป่วยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทีมสหวิชาชีพลงเยี่ยมบ้านเดือนละครั้ง
10.ผลักดันให้มีแพทย์แผนไทยในตำบล
11.พัฒนาศักยภาพผู้ดูแล CG ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง
12.คัดกรองและดูแลกลุ่มเสี่ยง/ป่วยตามสภาพปัญหา ไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
13.ประสาน รพ.จะนะมาคัดกรองผู้สูงอายุที่มีปัญหาการมองเห็น การได้ยิน
2)ด้านเศษฐกิจ
เป้าหมาย พึ่งตนเองบนฐานวิถีชุมชน สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนเน้นความสุขการอยู่ร่วมกันมากกว่าแสวงหากำไรสร้างรายได้
ข้อตกลงร่วม
1.ส่งเสริมรายได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมกลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ ส้มจุก ข้าว ทุเรียน แกงไก่มัด
2.แปรรูปผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร นำสมุนไพรมาอบผ่านตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ จำหน่ายสร้างรายได้
3.ส่งเสริมการเกษตรต้นทุนต่ำ เน้นความสุขในการทำงานมากกว่าสร้างรายได้
4.ให้มีกองทุนหมุนเวียนช่วยเหลือสมาชิกด้วยกัน
3)ด้านสังคม
เป้าหมาย สร้างความสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน เพิ่มความรัก ความสามัคคี ลดปัญหาครอบครัวแยกกันอยู่ ในชุมชนเหลือแต่ผู้สูงอายุ เด็กเล็กหรือลูกหลานไปเรียนหนังสือในเมือง
ข้อตกลงร่วม
1.สำรวจคลังภูมิปัญญา ว่าใครมีความสามารถใด นำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
2.ส่งเสริมให้มีศูนย์การเรียนรู้ในระดับชุมชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งต่อความรู้ และยกระดับความรู้
3.ส่งเสริมกิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างคนต่างวัย
4)ด้านสภาพแวดล้อม
เป้าหมาย ป้องกันการพลัดตกหกล้ม ของสมาชิกในครัวเรือนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ
ข้อตกลงร่วม
1.แต่ละครัวเรือนร่วมกันปรับสภาพบ้านป้องกันการพลัดตกหกล้ม เพิ่มราวจับในห้องน้ำ ลดทางต่างระดับ
2.อบต.แคออกข้อบัญญัติ บ้านสร้างใหม่ให้มีราวจับ สิ่งอำนวยความสะดวก ลดทางต่างระดับ
3.ร่วมส่งเสริมขยะแลกบุญ
4.ให้มีกองทุนของใช้มือสอง(หมุนเวียน)
5.ร่วมกันรักษ์โลกด้วยการไม่เผาขยะพลาสติก
5)ด้านการบริหารจัดการ
เป้าหมาย มีกลไกขับเคลื่อนธรรมนูญหรือข้อตกลงในชุมชน มีการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
ข้อตกลงร่วม
1.การจัดทำธรรมนูญฯนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำแผนรองรับสังคมสูงวัย อบต.แค และอาศัยกลไกคณะทำงานที่มีการประกาศคำสั่งร่วมดำเนินการ มีการติดตามประเมินผลสม่ำเสมอ
2.คณะทำงานขับเคลื่อนประกอบด้วยตัวแทนของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องข้อง อบต.แค และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ นอกพื้นที่ ร่วมดำเนินการผ่านระบบสมาชิกของแอพพลิเคชั่น iMeed@home ชุมชนบ้านเพนียดตำบลแค
ขอบคุณภาพบางส่วน เอญาดา สกูลหรัง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ กองสาธารณสุข อบจ.สงขลา
Relate topics
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567
- “พูดให้น้อย ทำให้เยอะ : ค่านิยมร่วม HCG ของ iMedCare”