"ลดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อสุขภาวะตนเอง ชุมชนแหลมสนอ่อน สงขลา"
"ลดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อสุขภาวะตนเอง ชุมชนแหลมสนอ่อน สงขลา"
วันที่ 1 มีนาคม 2567 ต้นแบบการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนมีส่วนร่วมในเขตเมือง กลุ่มเสี่ยง/ป่วยในชุมชนแหลมสนอ่อน ทน.สงขลาที่สมัครใจร่วมปรับพฤติกรรมจำนวน 21 คน ประชุมร่วมกันรับฟังผลการคัดกรองสุขภาวะรายคน ที่ดำเนินการผ่านระบบกลุ่มของแอพ iMed@home เป็นผลการคัดกรองของเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ ร้านน้องเมย์ โดยมี PCU สมิหลา มาร่วม
1.ทบทวนเป้าหมายการดำเนินงาน กิจกรรมที่มีการตกลงทำร่วมกันแต่ยังดำเนินการไม่ได้ และแนวทางปรับกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป
-ในส่วนผู้ป่วยเบาหวานไม่เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว เพราะต้องไปพบหมอและมีการเจาะเลือดทุก 3 เดือนอยู่แล้ว ส่วนกลุ่มเสี่ยงให้อยู่ที่ความสมัครใจ
-การออกกำลังกาย ในกลุ่มสมัครใจต้องการออกกำลังกายส่วนบุคคลมากกว่ารวมกลุ่ม ด้วยเหตุไม่สะดวกเรื่องเวลาและภาระการดูแลคนในครอบครัว
-พบกันเดือนละครั้ง มีการคัดกรองสุขภาวะรายคนร่วมกัน อสม.ไม่ต้องลงไปคัดกรองล่วงหน้า หลังคัดกรองจะมีการคืนข้อมูล วิเคราะห์ผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
2.เรียนรู้เหตุและพฤติกรรมและความรอบรู้ด้านสุขภาพ
-อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน กินจุ หิวบ่อย หิวน้ำบ่อย และน้ำหนักลด ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมอีกด้วย แต่สาเหตุใหญ่อยู่ที่การกิน
-งดกินแป้ง ไม่ใช่แค่ลดข้าว หากรวมถึงขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมที่มีแป้ง
-การดื่มน้ำควรจิบทีละนิดไปเรื่อยๆ ไม่ควรดื่มรวดเดียวครั้งเดียวแบบเทพรวดๆ
-ผลไม้ที่ควรบริโภค ได้แก่ ฝรั่ง แก้วมังกร แอปเปิล
-การพักผ่อนสัมพันธ์กับการนอนหลับว่ามีคุณภาพหรือไม่ หลับลึก ไม่หลับยาก ตื่นมาแล้วสดชื่น
-โภชนาการสมวัย หมายถึงการกินอาหารครบ 5 หมู่ มีความหลากหลาย ไม่กินซ้ำ
-ไม่ควรใช้ยาชุด หรือยาแก้ปวด เพราะจะมีสารที่ผลต่อการเป็นโรคไต
3.เพิ่มภาคีหน่วยงานเข้าสู่ระบบกลุ่มปิด iMed@home "ชุมชนแหลมสนอ่อน" ประกอบด้วย ทีม PCU, วพบ., ทีมเครือข่าย รพ.สงขลา กองสาธารณสุข กองสวัสดิ์ ทน.สงขลา สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ ม.ราชภัฎ ม.ทักษิณ ม.อ.
4.เปิดห้องเรียนสามวัย ครั้งละ 3 ชม. ควรทำตอนเช้า เริ่มเสาร์ที่ 23 มีนาคมนี้
-08.30-09.30 น.คนที่สมัครใจจะคัดกรองเบาหวาน อดอาหารมาทำการเจาะเลือดปลายนิ้ว แจกเอกสารแบบคัดกรองสุขภาวะรายคน/ทำแบบคัดกรองร่วมกัน ส่งต่อให้อสม.นำลงระบบกลุ่ม iMed@home
-09.30-10.00 น. นำเสนอข้อมูลผลการคัดกรองในรอบเดือนและพัฒนาการในรอบ 3เดือน
-10.00-12.00 น. สันทนาการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้สุขภาวะ
ผู้เข้าร่วมบันทึกเมนู/อาหารที่รับประทานในรอบเดือนมานำเสนอ หรือบอกเล่าผ่านกลุ่มไลน์
เรียนรู้รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยของแต่ละคน
ออกกำลังกายร่วมกันในรูปแบบกะลาบิค
ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ
รับประทานอาหารร่วมกันและเดินทางกลับ
Relate topics
- มาลองสู้กับความเจ็บป่วยทางสังคมสักตั้ง!!
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"