การประชุมปรึกษาหารือการเตรียมความพร้อมดำเนินงานโครงการติดอาวุธกลยุทธ์ออนไลน์ เพิ่มยอดขายด้วยคอนเทนต์ (สงขลา)
วันที่ 31 มกราคม 2566
การประชุมปรึกษาหารือการเตรียมความพร้อมดำเนินงานโครงการติดอาวุธกลยุทธ์ออนไลน์ เพิ่มยอดขายด้วยคอนเทนต์ ตามข้อสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาร่วมกับ ทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา/พาณิชย์จังหวัดสงขลา/เครือข่ายOTOP ในแต่ละอำเภอ/ผู้แทนมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ โดยมีนายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในที่ประชุม
คุณมนุชาธิป วรกาญจนานนท์ กรรมการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสงขลา (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด พร้อมด้วยนักศึกษาฝึกงาน จำนวน 2 คน ได้แก่ นางสาวกุลวดี แก้วมณี และ นางสาวปัทมา หมานยง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี่
การประชุมสรุปได้ ดังนี้
1.มีการอัพเดต ตรวจสอบว่าเครือข่าย OTOP แต่ละพื้นที่ยังมีดำเนินการอยู่ไหมในปัจจุบัน รวมถึงเน้นในเรื่องของการปักหมุดเชิงพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงไปการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยจะดึงทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่และบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน
2.ทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้เสนอว่าทางมหาวิทยาลัยมีเพจและเว็บไซต์ภายใต้แนวคิด 3 อย่าง คือ สร้างแบรนด์ สร้างช่องทางการตลาด สร้างรายได้ มีการทำเพจที่มีชื่อว่า HU Marketing HUB และเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า OTOP Songkhla โดยข้อดีของแพลตฟอร์มคือใครที่สนใจสามารถเข้ามาถามถึงรายละเอียดข้อมูลสินค้าได้ และจำแนกเป็น 3 เครื่องมือที่ใช้งาน คือ เพจ , Facebook และLineของผู้ประกอบการโดยตรง ภายในเพจ HU Marketing HUB จะมีสินค้าอยู่กับผู้ประกอบการ ทางมหาวิทยาลัยเองจะไม่มีสต็อค ทำให้เป็นปัญหาและจะทำการจำหน่ายโดยจ่ายเงินเสร็จค่อยส่งดีลให้นักศึกษาเข้ามาทำแทนผู้ประกอบการ สามารถเชื่อมโยงกับบริษัทประชารัฐฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการภายในจังหวัดสงขลาทั้ง 888 กลุ่ม เข้ามามีส่วนร่วม โดยสินค้าจะต้องมีราคาถูก ส่งรอบตรงเวลา (นี้คือข้อที่ต้องพัฒนา)
3.เครือข่าย OTOP ได้เสนอแก่มหาวิทยาลัยว่า อาจจะต้องเปลี่ยนชื่อเพจ ให้น่าสนใจมากกว่านี้ และสร้างแรงจูงใจมากกว่าชื่อเดิมจะทำให้มีกลุ่มเป้าหมาย เข้าสู่ระบบเพิ่มมากขึ้น โดยต้องเกิน 50% หลังจากนั้นโปรโมทเพจให้เป็นที่รู้จัก อาจจะเป็นการทำป้ายติดทั่วเมืองและสนามบิน ต่อมาค่อยมาสร้างโปรโมชั่น ซึ่งสินค้าในเพจออนไลน์ สินค้า20% ต้องมียอดขาย80% อาจจะส่งต่อให้บริษัทประชารัฐฯรีแพ็ค
4.แนวทางที่เป็นไปได้ คือการไลฟ์สด ทางFacebook และ TikTok ที่ต้องมีสต็อคสินค้าอยู่ศูนย์กลาง มีแอดมิน ทำหน้าที่ไลฟ์สด ให้เข้าถึงตัวสินค้า โดยอาจจะนำนักศึกษาที่สนใจ และเก่งในด้านการพูด มาทำในด้านนี้โดยมีค่าตอบแทนให้กับนักศึกษา แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของนักศึกษายังไม่ค่อยเข้าใจถึงตัวผลิตภัณฑ์มากนัก จึงเสนอหากให้นักศึกษาประกบผู้ประกอบการ ไปเรียนรู้ในด้านของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจน เสร็จสิ้น จะทำให้สามารถเรียนรู้ เข้าใจสินค้าได้ละเอียด และนำมาพูดผ่านการไลฟ์ เพื่อเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
5.ทางมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จะออกแบบหลักสูตรสำหรับอบรมในเรื่องของแฟลตฟอร์มต่างๆ เพื่อนำมาสู่การเรียนรู้ให้กับเครือข่าย OTOP ในแต่ละอำเภอ ให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยทั่วกัน โดยมีบริษัทประชารัฐฯและเครือข่าย OTOP หรือทางพาณิชย์จังหวัดเป็นตัวเชื่อม
ภาพข่าว โดยนางสาวกุลวดี แก้วมณี และ นางสาวปัทมา หมานยง
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568