"ความร่วมมือพัฒนาระบบบริการสาธารณะอำเภอควนเนียง"
"ความร่วมมือพัฒนาระบบบริการสาธารณะอำเภอควนเนียง"
วันที่ 9 มกราคม 2567 โครงการวิจัยฯรองรับการถ่ายโอนรพ.สต.สู่อบจ.สงขลากรณีจังหวัดสงขลานัดประชุมภาคีเครือข่ายระดับอำเภอ ณ ห้องประชุมอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา โดยมีนายอำเภอวินิจ เทพนิต เป็นประธานการประชุม มีหน่วยงานเข้าร่วมประกอบด้วย กองสาธารณสุขอบจ.สงขลา พัฒนาการอำเภอ รพ.ควนเนียง ม.ราชภัฎสงขลา สมัชชาสุขภาพจังหวัด/มูลนิธิชุมชนสงขลา/กขป.เขต 12 รพ.สต.บ้านกลาง/ควนโส/บางเหรียง/เกาะใหญ่/ปากบาง ทต.บางเหรียง สกร.ควนเนียง สภาวัฒนธรรมควนเนียง แพทย์แผนไทย/cg รวม 25 คน
ที่ประชุมได้ร่วมรับทราบแนวทางดำเนินการในกรณีพื้นที่อำเภอควนเนียง และมีข้อสรุปสำคัญดังนี้
1)ในส่วนความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ นายอำเภอเห็นชอบที่จะร่วมมือกันผ่านกลไกพชอ.ที่ปัจจุบัน ดำเนินการ 4 ประเด็นได้แก่ ตลาด,ขยะ,กลุ่มเปราะบางและหญิงตั้งครรภ์ โดยนำกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วย NCD และผู้สูงอายุเข้าไปอยู่ในอนุกรรมการกลุ่มเปราะบาง
พชอ.ควนเนียงดำเนินการภายใต้แนวคิด "ชาวควนชวนพอเพียง"
โดยใช้ฐานคิด K=องค์ความรู้ H=ความสุข U=ความเข้าใจ A=ทัศนคติเชิงบวก N=เครือข่าย(7 เครือข่ายร่วมดำเนินการ)
กิจกรรมเด่นจะมีแนวคิดในการใช้งานวัฒนธรรมมาร่วมบุญ อาทิ การทำบุญตักบาตรมีการตักบาตรนมจืด วัสดุจำเป็นช่วยเหลือผู้ต้องการ จัดทำเป็นถุงยังชีพ มีการแบ่งปันเมล็ดพันธุ์และอื่นๆในการการประชุมประจำเดือนของหน่วยงาน
ทั้งนี้การดำเนินการเน้น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านสร้างรายได้ ด้านที่อยู่อาศัย และการเข้าถึงบริการภาครัฐ
ในส่วนกลไกระดับตำบลให้ใช้ร่วมกับกลไกทีมปฏิบัติการ ศจพต.ที่รองรับการแก้ปัญหาความยากจนของจังหวัด
2.ความร่วมมือกับภาคีระดับจังหวัดให้มี center ระดับอำเภอในการดำเนินการเสริมการทำงานเดิมของรพ.สต.และเพิ่มงานศูนย์สร้างสุขชุมชนในพื้นที่รพ.สต.บ้านเกาะใหญ่
2.1 การพัฒนาระบบข้อมูลกลางระดับอำเภอ โดยประสานการทำงานร่วมกับทีมถ่ายโอนรพ.สต.กับพชอ. ระบบข้อมูลนี้จะประสานเชื่อมโยงกับข้อมูลกลางจังหวัดไปด้วย ข้อมูลนี้จะช่วยชี้เป้ากลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ
2.2 การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในอำเภอ จัดระบบรถรับส่งผู้ป่วยเป็นแบบ custer 2 โซนเพื่อลดปัญหาอปท.ขาดความพร้อมรองรับรถ EMS ของอบจ. พร้อมกับการเพิ่มบริการแพทย์แผนไทยและกายภาพ
2.3 การพัฒนาบุคลากรดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
2.4 การปรับสภาพบ้าน ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูฯ และพมจ. โดยเฉพาะในส่วนอบจ.ที่จะเปิดรับความต้องการในเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี
3.การทำงานระดับตำบล นำร่องในการพัฒนาระบบบริการสาธารณะโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย NCDและผู้สูงอายุ ตำบลควนโส โดยใช้ทีมปฎิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยฯ ที่มีกรรมการ 21 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีปลัดอำเภอประจำตำบลเป็นหัวหน้าทีม มีพัฒนากรประจำตำบลเป็นเลขา และปลัดเทศบาล/อบต.เป็นเลขาร่วม
เห็นชอบการใช้ระบบกลุ่มปิด iMed@home ในการประสานการทำงานในพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในกลุ่มเสี่ยง/ป่วย ที่ต้องการปรับพฤติกรรมและต้องการความช่วยเหลือ โดยนัดหมายประชุมทีม ศจพต.ควนโสและฝึกอบรมการใช้งานระบบกล่มกับครูก.ในวันที่ 23 มกราคม 2567ณ ห้องประชุม อบต.ควนโส
ที่ประชุมยังได้ร่วมซักถามแลกเปลี่ยนการใช้บริการกองทุนฟื้นฟูฯอบจ.ในการสร้างบ้าน และความร่วมมือในการแก้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่อีกด้วย
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567