"ระบบกลุ่มปิด Platform: imed@home"
"ระบบกลุ่มปิด Platform: imed@home"
โจทย์การพัฒนาใหญ่มากๆประการหนึ่งก็คือ ประชาชนมีบทบาทเป็นเพียงผู้รับบริการ หน่วยงานต่างๆเป็นฝ่ายมาให้บริการ หรือมาชวนทำร่วม น้อยมากที่จะให้ประชาชนเป็นเจ้าของสามารถดำเนินการด้วยตนเอง
มูลนิธิชุมชนสงขลาได้พัฒนาแอพ iMed@home มาหลายปีแล้ว พยายามที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆได้ใช้งาน เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ปีนี้ได้ยกระดับการใช้งานระบบดังกล่าว มุ่งเน้นการใช้ระบบกลุ่มในการทำงานเพื่อตอบโจทย์ข้างต้น
ระบบกลุ่มที่ว่าคืออะไร?
ระบบกลุ่มก็คือ การทำงานเชิงพื้นที่ เจาะจงกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละภาคส่วน และที่สำคัญ ให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยได้เป็นเจ้าของข้อมูลและสามารถดำเนินการด้วยตนเอง
ในการดำเนินการดังกล่าว ประกอบด้วย 10 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
1.กำหนดเป้าหมายร่วม เริ่มด้วยการจัดตั้งกลไกการทำงานร่วมระหว่างชุมชน/ตำบลเป้าหมายกับมูลนิธิชุมชนสงขลา ประชุมร่วมกันวางแผนการทำงานร่วมกัน ทำความเข้าใจระบบและกำหนดเป้าหมายการทำงาน ออกแบบการทำงานในภาพรวมเพื่อลดความซ้ำซ้อน เสริมหนุนประสานการทำงานระหว่างกัน
2.จัดอบรมการใช้งานระบบกลุ่มนี้ให้กับสมาชิกทั่วไป (USER) และตัวแทนหน่วยงานความร่วมมือ ด้วยการดาวน์โหลด ติดตั้งแอพฯ iMed@home สมัครสมาชิก จัดตั้ง Admin รับผิดชอบ และฝึกใช้งานระบบกลุ่ม ทำแบบคัดกรอง แผนสุขภาวะรายคน
3.สนับสนุน user (อาทิ อสม./ผู้ดูแล/จิตอาสา/ผู้ป่วย-กลุ่มเสี่ยง-ใครก็ได้ที่รับมอบหมาย)นำเข้าข้อมูลกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยรายใหม่เข้าระบบ บันทึกข้อมูลพื้นฐาน 20 ข้อ และจัดทำแบบคัดกรองสุขภาวะรายบุคคล 20 ข้อ ครอบคลุมมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม ที่เป็นเรื่องพื้นฐานของชีวิตและแบบสำรวจความต้องการในแต่ละด้าน
4.Admin จัดตั้งกลุ่ม ตั้งชื่อพื้นที่หรือกลุ่มของตน ดึงusername สมาชิกที่เป็นหน่วยงานความร่วมมือเข้าสู่ระบบ และดึงรายชื่อกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยที่ผ่านการคัดกรองสุขภาวะรายคนเข้าสู่ระบบกลุ่ม
5.ระบบประมวลผล นำเสนอผลการคัดกรองสุขภาวะชุมชน จำแนกรายงานตามปีพ.ศ./ภาพรวมของชุมชน-ครัวเรือน-ประเภทความเปราะบาง/ข้อมูลพื้นฐาน/ข้อมูลด้านสุขภาพ-เศรษฐกิจ-สังคม-สภาพแวดล้อม) ในรูปแบบสถิติ หากเป็น Admin จะสามารถเข้าถึงรายชื่อกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มป่วยที่ผ่านการคัดกรอง
6.อปท.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกับชุมชนนำข้อมูลไปวิเคราะห์ จัดเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยรับรู้ พัฒนาศักยภาพ ให้ความรู้ วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งตัวบุคคล สภาพแวดล้อม ระบบบริการ ค้นหาทางออก ร่วมจัดทำแผนสุขภาวะ/แผนรองรับสังคมสูงวัยระดับพื้นที่ และจัดทำกติกาหรือธรรมนูญชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการปรับพฤติกรรม
7.กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยทำแผนสุขภาวะรายบุคคลเพื่อปรับพฤติกรรมเสี่ยง...ระบบได้ร่างแนวกิจกรรมที่จะดำเนินการให้เลือกตามแผนสุขภาพ แผนเศรษฐกิจ แผนสังคม แผนสภาพแวดล้อม โดยดำเนินการด้วยตนเองหรือจะดำเนินร่วมกันเป็นกลุ่มหรือดำเนินการร่วมกับครอบครัว แนวทางดำเนินการดังกล่าวมาจากการจัดการความรู้และนำตัวอย่างที่ทำสำเร็จแล้วมาให้เลือก
8.กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผน
9.ติดตามประเมินผล กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยร่วมกับผู้ดูแลหรืออสม.หรือจิตอาสาคัดกรองซ้ำเดือนละครั้งในส่วนของแบบคัดกรองสุขภาวะ 20 ข้อ และรายงานการดำเนินการตามแผนสุขภาวะรายคน และปรับแผนตามความเหมาะสม
10.ระบบประมวลผลให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ตามแบบคัดกรองสุขภาวะบุคคลรายเดือน-แผนสุขภาวะรายบุคคลรายเดือน นำเสนอสถิติ ชี้ให้เห็นผลการดำเนินงาน สถิติที่เก็บรายเดือน/ปี จะทำให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ระบบกลุ่มนี้บริการทางสังคมให้กับอปท. องค์กรภาคประชาสังคม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้อง MOU ความร่วมมือและสนับสนุนงบทำกิจกรรมในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านรองรับสังคมสูงวัย ลดปัจจัยเสี่ยง การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ การดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม การศึกษา
Relate topics
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567
- “พูดให้น้อย ทำให้เยอะ : ค่านิยมร่วม HCG ของ iMedCare”