"ความร่วมมือพัฒนาระบบบริการสาธารณะสนับสนุนการทำงาน รพ.สต.ถ่ายโอน"
"ความร่วมมือพัฒนาระบบบริการสาธารณะสนับสนุนการทำงาน รพ.สต.ถ่ายโอน"
วันที่ 28 ธันวาคม 2566 ภาคบ่าย โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นภายใต้ บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด” และร่วมกันพัฒนารูปแบบกลไกลความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นที่สามารถจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิได้ตรงกับปัญหาของประชาชนในพื้นที่ นัดประชุมนัดทีมข้อมูลกลางและภาคีความร่วมมือ ประกอบด้วยอบจ.สงขลา สสจ. พมจ. สสว.11 คณะพยาบาลศาสตร์ม.อ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สกร. สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ สมาคมคนพิการจังหวัด เครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดสงขลา ผู้ประสานงานโซนควนเนียง/สิงหนคร มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด ม.ราชภัฎสงขลา เข้าร่วมหารือ ณ ห้องประชุมชั้น 3 อบจ.สงขลา
ที่ประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีข้อสรุปสำคัญดังนี้
1.กลไกความร่วมมือจะมี 3 ระดับ ได้แก่
1.1 ระดับจังหวัด ดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายแนวราบ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ "ผลัดกันนำ"ตามอำนาจหน้าที่และภารกิจรับผิดชอบ
-แนะนำองค์กร ภารกิจ ช่องทางติดต่อ พร้อมให้มีผู้ประสานงานที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่อง เข้ามาร่วมประชุมหรือหารือกลุ่มย่อย
-ร่วมกันให้มี center พัฒนาระบบข้อมูลกลาง เพื่อเสริมหนุนการทำงานกันและกัน ต่อยอดงานข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.com ลดช่องว่างและส่งต่อข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการให้บริการ และความต้องการรับบริการ ครอบคลุมมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม/สภาพแวดล้อม...ประสานท้องถิ่นจังหวัดนำข้อมูลในส่วนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ เข้าระบบ...ประสานพมจ.และเครือข่าย นำข้อมูลในส่วนผู้สูงอายุ เด็ก สตรี ครอบครัว เข้าระบบ อีกทั้งสามารถร่วมมือในระดับองค์กร อาทิ คณะพยาบาลศาสตร์ม.อ. วิทยาลัยพยาบาลฯ
-พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อให้บริการผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ โดยบริหารจัดการร่วมกันตามอำนาจหน้าที่ เช่น อบจ.นำรถที่ส่งมอบให้อปท.มารับส่งตามพิกัดบ้าน หรือสนับสนุนรถขนส่งสาธารณะในชุมชนทำหน้าที่รับส่งผู้ป่วย
-เชื่อมโยงงาน IMC,LTC ดูแลผู้ป่วยในช่วงเวลาสำคัญป้องกันการกลายเป็นคนพิการ
-สมาคมคนพิการจัดทำแผนคนพิการรายบุคคล
-ประสานงาน NCD กับการลดปััจจัยเสี่ยงของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
1.2 ระดับอำเภอ ร่วมกับพชอ.ให้มีอนุกรรมการทำหน้าที่เชื่อมโยง สนับสนุนการทำงานและติดตามประเมินผลทีมระดับตำบล
-ร่วมกับรพ.สต.ถ่ายโอนจัดระบบบริการเชิงรุก มี center หลายจุดเพื่อให้เกิดการกระจายและเพิ่มกลุ่มเป้าหมายการให้บริการ ให้บริการด้านสุขภาพถึงบ้าน(จัดคิว/ปฏิทินการให้บริการ) หรือจัดระบบรถขนส่งสาธารณะอำนวยความสะดวก
-ด้านคุณภาพชีวิตประสานข้อมูลระดับอำเภอร่วมกับ TQM,TPmap และอื่นๆ
1.3 ระดับตำบล ร่วมกับพชต.จัดให้มีกลไกศูนย์บูรณาการความช่วยเหลือ ประกอบด้วยศูนย์สร้างสุุขชุมชน ศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม เป็นต้น ทำงานร่วมกัน นำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดกรองมาทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต/แผนบริการ/แผนสุขภาวะรายบุคคล(ระบบกลุ่มปิด iMed@home มูลนิธิชุมชนสงขลา)
2.งานเตรียมพร้อมรองรับสังคมสูงวัย
-จัดให้มี center ในส่วนของการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน จัดเก็บข้อมูลความต้องการ และความครอบคลุมของผู้ให้บริการ พัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานหลักสูตร พัฒนาศักยภาพ upskill บุคลากร ยกระดับการเป็นองค์กรวิชาชีพใหม่ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ อบจ. คณะพยาบาลม.อ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พมจ. วิทยาลัยชุมชน/รพ.เทพา ศูนย์พัฒนาอาชีพรัตภูมิ สกร.(กศน.) ให้การดูแลผู้ป่วยตามสิทธิ์ LTC และยกระดับเป็นธุรกิจเพื่อสังคมให้บริการกลุ่มพรีเมี่ยม
-อบจ.กับสมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุจัดให้มีมหาวิทยาลัยผู้สูงอายุ และมีแผนงานร่วมทุนกับสสส.ขยายผลสนับสนุนกิจกรรมต้นแบบของภาคีเครือข่าย
-พมจ.มีโครงการหุ้นส่วนทางสังคม ร่วมกับภาคีจังหวัดขับเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัย มีวาระร่วมเรื่องที่อยู่อาศัย และมีโครงการสร้างนักบริบาลทางสังคมในพื้นที่ทน.สงขลา อบต.คลองรี
-ท้องถิ่นจังหวัด ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนบูรณาการรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่อปท.นำร่อง 4 แห่ง(ทน.สงขลา ทม.สะเดา ทม.ปาดังเบซาร์ อบต.แค)
-มูลนิธิชุมชนสงขลาพัฒนาระบบกลุ่มปิด iMed@home จัดทำแผนคัดกรองสุขภาวะรายบุคคลรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ พร้อมระบบนำเสนอรายงานข้อมูลผลการคัดกรองระดับตำบล นำข้อมูลไปสู่การจัดทำแผนและกติการะดับตำบล กลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยที่ต้องการปรับพฤติกรรมมีการทำแผนสุขภาวะรายบุคคล และมีการคัดกรองซ้ำเพื่อติดตามผล นำเสนอผลการดำเนินงานรายเดือน/ปี
Relate topics
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567
- “พูดให้น้อย ทำให้เยอะ : ค่านิยมร่วม HCG ของ iMedCare”