"ระบบข้อมูลสนับสนุนการทำงาน รพ.สต.ถ่ายโอน"

by punyha @3 ม.ค. 67 09:08 ( IP : 171...44 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1080x810 pixel , 106,201 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 99,518 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 115,889 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 105,016 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 139,492 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 96,408 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 91,631 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 77,476 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 202,498 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 204,593 bytes.

"ระบบข้อมูลสนับสนุนการทำงาน รพ.สต.ถ่ายโอน"

วันที่ 28 ธันวาคม 2566

ภาคเช้า โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นภายใต้ บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด” และร่วมกันพัฒนารูปแบบกลไกลความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นที่สามารถจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิได้ตรงกับปัญหาของประชาชนในพื้นที่ นัดประชุมนัดทีมข้อมูลกลางและภาคีความร่วมมือ ประกอบด้วยอบจ.สงขลา สปสช.เขต 12 สสจ. พมจ. ม.อ. ประกันสังคม ผู้ประสานงานโซนควนเนียง/สิงหนคร มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด ม.ราชภัฎสงขลา เข้าร่วมหารือ ณ ห้องประชุมชั้น 3 อบจ.สงขลา

โดยมีข้อสรุปสำคัญของการประชุมดังนี้

1.ปัญหาสำคัญของระบบข้อมูล คือ การเคลื่อนไหวหรือเข้าใช้บริการ ณ หน่วยบริการของประชาชน ข้อมูล ณ หน่วยบริการระดับรพ.ศูนย์ รพ.อำเภอ รพ.สต.ยังไม่ส่งต่อหรือปรับให้เป็นปัจจุบัน ขณะที่ข้อมูลในส่วนประกันสังคมยังมีบางหน่วยบริการไม่มีการจัดเก็บและส่งต่อข้อมูลการรับบริการ และช่วงเปลี่ยนผ่านของรพ.สต.ที่ถ่ายโอนมาอบจ.ที่จะต้องให้อบจ.รับหน้าที่แทนสสจ.ในส่วนการควบคุมกำกับการทำงาน

2.ทิศทางเชิงนโยบายสำคัญที่มีผลต่อการทำงาน ประกอบด้วยนโยบายรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาระบบบริการบัตรประชาชนใบเดียวใช้บริการได้ทุกหน่วยบริการ นำร่องที่น่าน, นราธิวาส โดยจะเชื่อมระบบกับหมอพร้อม ในส่วนสสจ.สงขลาก็ได้เตรียมความพร้อมรองรับ ล่าสุดจะมีการ MOU ร่วมกันระหว่างคณะแพทย์ม.อ. อบจ. สสจ.ที่จะเติมเต็มระบบบริการที่จะให้ข้อมูลผู้ป่วยที่ไปใช้บริการ ณ โรงพยาบาลม.อ.ได้เชื่อมโยงกับข้อมูลผู้ป่วยที่ไปใช้บริการรพ.อื่นๆ ในส่วนของพม.ก็มีนโยบายพม.smart ที่จะรวมข้อมูลหน่วยงานในพม.ให้เป็นหนึ่งเดียว รวมถึงการมีอพม.smart นำข้อมูลเข้าระบบผ่านสมาร์ทโฟน ปีนี้สงขลาจะมีวาระร่วมเรื่องที่อยู่อาศัย

3.ระบบที่ควรมีก็คือ การกำหนดมาตรฐานกลาง พัฒนาระบบข้อมูลกลางที่นำ data set ตามมาตรฐานกลางเข้าสู่ที่พักข้อมูล(คลาวด์)เพื่อให้หน่วยบริการหรือภาคีความร่วมมือ นำข้อมูลเข้าและนำออกไปประมวลผลตามวัตถุประสงค์การใช้งาน การรวมข้อมูลภาคีความร่วมมือจะช่วยเติมเต็มข้อมูลกันและกัน การมีระบบข้อมูลย่อยหลากหลายองค์กรไม่ใช่ปัญหา ขอเพียงสามารถส่งต่อข้อมูลให้กันและกันได้ก็พอ ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯสงขลา ได้พัฒนาระบบดังกล่าว จัดเก็บใน www.khonsongkhla.com ซึ่งต่อไปจะพัฒนาความร่วมมือได้อีกหลายทาง อาทิ

-นำ data 43 แฟ้มของรพ.สต.ที่ถ่ายโอน+ในส่วนสสจ.เข้าสู่ระบบ และเพิ่ม data ในส่วนของม.อ. งานด้านสังคมของพมจ./อปท. พร้อมกับออกแบบระบบไปเชื่อมกับหมอพร้อม(ผ่านสสจ.)

-ข้อมูลในด้านสังคม พมจ.ออกแบบระบบรายงานที่ต้องการ เพื่อให้ทีมกลางนำข้อมูลไปประมวลผลให้ และประสานเชื่อมโยงภายในงานพมจ.รวมข้อมูลในส่วนผู้สูงอายุ เด็ก สตรี ครอบครัว เข้ามาเชื่อมโยงกับระบบ

-ประสานความร่วมมือกับพื้นที่ถ่ายโอน กรณีอำเภอควนเนียง นำ data set(บัญชีตารางข้อมูล)ของคนสงขลามาดูร่วมกับความต้องการของทีมอำเภอ พัฒนาระบบของอำเภอเพื่อให้สนองตอบจุดเน้นการทำงานระดับพื้นที่ และสามารถส่งต่อข้อมูลกับส่วนกลางระดับจังหวัด กรณีความร่วมมือเช่นนี้สามารถดำเนินการร่วมกับภาคีอื่นๆเช่นกัน

-ประสานกับประกันสังคม และรพ.ศิครินทร์และลูกข่าย หารือแนวทางจัดเก็บข้อมูลในการดูแลวัยแรงงานที่หลุดออกจากระบบ

4.แนวทางที่อบจ.จะดำเนินการคู่ขนานกันก็คือ การมีวาระร่วมที่จะทำระดับจังหวัด นั่นคือ

1)การจัดให้มี center การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อไปเสริมการบริการ อำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้ป่วยบนฐาน Data ที่นำมาวิเคราะห์และจัดระบบร่วมกัน

2)จัดให้มี center ผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีหลายหน่วยงานให้การอบรม และพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เกิดการเสริมหนุนและพัฒนาให้อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน บุคลากรเหล่านี้จะไปเสริมงาน LTC ในพื้นที่ไปด้วย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน