"เติมสุขโมเดลควนเนียง"

by punyha @20 ธ.ค. 66 09:56 ( IP : 171...71 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1477x1108 pixel , 147,540 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 146,676 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 122,076 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 132,366 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 133,383 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 174,007 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 191,104 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 177,435 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 179,400 bytes.

"เติมสุขโมเดลควนเนียง"

วันที่  19 ธันวาคม 2566 สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา โดยการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษา และพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นภายใต้ บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด” และร่วมกันพัฒนารูปแบบกลไกลความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นที่สามารถจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิได้ตรงกับปัญหาของประชาชนในพื้นที่ นัดประชุมทีมรพ.สต.ในพื้นที่อำเภอสิงหนคร จัดระบบบริการสุขภาพให้กลุ่มเป้าหมาย ณ ห้องประชุมรพ.สต.บ้านเกาะใหญ่ โดยมีสสอ. อบจ.สงขลา รพ.ควนเนียง นักวิจัย ม.ราชภัฎสงขลา สมัชชาสุขภาพจังหวัดและทีมรพ.สต.ในพื้นที่เข้าร่วม

ประเด็นหารือเป็นเรื่องการออกแบบการจัดบริการสาธารณะ ปี 2567 ในส่วนบริการสุขภาพที่มีตั้งแต่การคัดกรอง/การสร้างเสริมสุขภาพ การรักษา การฟื้นฟู iระบบข้อมูล และระบบการขนส่งสาธารณะ รับทราบปัญหา ข้อจำกัด และโอกาสการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านการดำเนินงาน มีข้อสรุปดังนี้

1.อำเภอควนเนียงมี 4 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชากร 26,761 คน 60.90% เป๋็นวัยทำงาน ผู้สูงอายุมี 15.2% แบ่งพื้นที่เป็น 2 โซน หน่วยบริการแยกเป็น 2 ส่วนคือ สังกัดสธ.ประกอบด้วย รพ.ควนเนียง สสอ. และPCU และถ่ายโอนสู่อบจ. กรณี NCDs ปี 2566 การคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป จำนวน 17,986 คน คัดกรองเบาหวานได้ 9898 คน พบกลุ่มเสี่ยง 1717 คน พบสงสัยป่วย 225 คน คัดกรองซ้ำพบป่วยจริง 90 คน คัดกรองความดัน 8088 คน สงสัยป่วย 1,008 คน ผู้สูงอายุ มี 6257 คน คัด ADL พบติดสังคม 5407 คน ติดบ้าน 231 คน ติดเตียง 35 คน

2.ทีมอำเภอจะพัฒนาฐานข้อมูลกลางเพื่อใช้สนับสนุนการทำงาน ให้มีข้อมูล 1)โรคเรื้อรังรายคนที่สัมพันธ์กับอสม./รพ.สต/.รพ.ควนเนียงดูแล ลดช่องว่างข้อมูลการคัดกรองโรคที่แยกดำเนินการ เพื่อให้เห็นภาวะโรคของกลุ่มเสี่ยงที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับชี้เป้าการทำงานร่วมกัน 2)ADL ในส่วนของผู้สูงอายุ 3)โรคระบาดวิทยาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเสี่ยงรายคน 4)อนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะการตั้งครรภ์เสี่ยง 2)การวิเคราะห์และคืนข้อมูลให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องและชุมชนได้รับทราบ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม

ระบบกลางนี้จะเชื่อมโยงกับข้อมูลกลาง khonsongkhla เพื่ออำนวยความสะดวกในกลุ่มรพ.สต.ถ่ายโอนต่อไป ด้วยปัจจุบันทีมนี้กลายเป็นภาคีมิใช่เจ้าหน้าที่ของสสจ.มีการปิดกั้นการเขัาถึงข้อมูลแตกต่างจากเดิม เปิดสิทธิ์ได้เพียงบางคน

3.การคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพ จุดเน้นผู้สูงอายุเป็นเป้าหมายร่วม จะมีพื้นที่ต.ควนโสที่จะนำร่องพัฒนาระบบบริการทั้งด้านสุขภาพ ด้านคุณภาพชีวิตร่วมกับพชต./พชอ. โดยร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัดจัดกระบวนการคืนข้อมูลการคัดกรองให้กับชุมชน พร้อมนำข้อมูลเข้าสู่ระบบกลุ่มปิด iMed@home วิเคราะห์และจัดทำแผนสุขภาพ/ธรรมนูญสุขภาพชุมชน สร้างวาระร่วมมีข้อตกลงในการปรับพฤฒิกรรมสำคัญ อาทิ "กินเฉพาะมื้อหลัก" "หลัง6โมงเย็น ก้อน 6 โมงเช้างดทานอาหาร" และใช้ระบบกลุ่มปิดสร้างแผนสุขภาวะรายบุคคลให้ประชาชนเป็นเจ้าของข้อมูลสุขภาพหรือคุณภาพชีวิตของตนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาทำงานร่วมกัน พร้อมกับติดตามผลการปรับพฤติกรรม โดยมีแบบประเมินสุขภาวะรายคนที่จะมีการเก็บซ้ำรายเดือน

กลุ่มเป้าหมายที่ควรให้ความสำคัญ

1)กลุ่มเสี่ยงป่วยโดยเฉพาะความดัน เบาหวานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นปีละ 5%

2)กลุ่มปกติที่พบกลายเป็นผู้ป่วย กลุ่มนี้จะเป็นวัยแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม ไม่มีเวลาคัดกรอง ควรประสานข้อมูลร่วมกับประกันสังคมทำงานร่วมกัน

3)กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ในส่วนของกลุ่มเสี่ยงที่ตกหล่นยังไม่ได้คัดกรอง จะร่วมกับอบจ.จัดมหกรรมคัดกรองสุขภาพในช่วงวันหยุด กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน และเป็นผู้สูงวัยที่ต้องมีลูกหลานรับส่ง

4.การรักษาพยาบาล ในอำเภอมีรพ.ควนเนียง คป.สอ. เป็นกลไกช่วยประคองช่วงเปลี่ยนผ่าน เพื่อแก้ปัญหาการให้บริการที่ยังติดขัดอีกหลายอย่าง(กรณีโพลิคลีนิคที่อบจ.ยังดำเนินการไม่ได้ด้วยติดข้อระเบียบยังไม่ได้รับมอบสถานที่-เสนอผู้ว่าแก้ปัญหา) มีข้อเสนอแนะเน้นการปรับระบบบริการ ลดขั้นตอน อำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการมากขึ้น รวมถึงปรับเวลาการให้บริการ หรือการบริการถึงบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน หรือมีคลีนิคเอกชนที่รองรับผู้รับบริการอีกจำนวนหนึ่งเพิ่มบทบาทมากขึ้น อนาคตอบจ.ควรมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจำศูนย์บริการ

5.ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ รอการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขชุมชนที่รพ.สต.บ้านเกาะใหญ่ มีข้อเสนอให้เพิ่มศูนย์ฟื้นฟูอีกโซนด้วย เพื่อลดปัญหาการเดินทางของผู้รับบริการ ในปัจจุบันมีผู้ป่วยติดเตียงไม่มากนัก การดูแลและส่งต่อระหว่างหน่วยบริการในพื้นที่รองรับได้ดี และมีความพยายามลดระยะเวลา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง/หัวใจให้มาถึงรพ.เร็วขึ้น รพ.สต.ควรเพิ่มการพัฒนาศักยภาพ cg เพิ่มบทบาทการให้ความรู้และร่วมกับผู้ดูแลผู้ป่วยให้เกิดความตระหนักและรอบรู้อาการเตือนสำคัญของโรคมากขึ้น

6.ระบบขนส่งสาธารณะ รอหารือกับทีมพชอ.และภาคีเครือข่ายเพื่อช่วยเสริมการบริการต่อไป โดยจะมีการประชุมร่วมกับพชอ.และภาคีอำเภอในวันที่ 9 มกราคม ณ ที่ว่าการอำเภอควนเนียง เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินงานและพัฒนาระบบบริการด้านคุณภาพชีวิตร่วมกัน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน