"success โตนดด้วน"
"success โตนดด้วน"
วันที่ 15 ธันวาคม 2566 คณะทำงานโครงการนำร่อง success เมืองโตนดด้วน นัดอสม. cg ผู้สูงอายุ รพ.สต. สสอ. ณ กศน.โตนดด้วน หารือการรองรับสังคมสูงวัยในกลุ่มประชากร ซึ่งพัทลุงและอำเภอควนขนุนเป็นพื้นที่เข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มตัวแล้ว พร้อมกับวางจังหวะก้าวในส่วนของสมาคมฯ ที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนระยะยาว เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมโครงการ
เรื่องสำคัญที่ได้หารือร่วมกัน
1)การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อให้สมาชิกได้เข้าใจความผันผวนไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ขณะที่ผลกระทบจะเกิดได้ในหลายรูปแบบ อาทิ ฝนและอากาศมีผลต่อการเกิดยุงพาหะโรคไข้เลือดออก การเกิดลมแดด การเป็นโรคฉี่หนูในช่วงเกิดน้ำท่วม รวมไปถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะส่งผลต่อทิศทางของน้ำ การบริหารจัดการน้ำ
2)การรองรับสังคมสูงวัย ซึ่งยังมีความตื่นตัวไม่มากนัก ทั้งในด้านสุขภาพที่จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์จำเป็นสำหรับฟื้นฟู หรือรักษา การทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับรู้สถานะการณ์สุขภาพของตนและชุมชน รวมไปถึงการส่งเสริมการออม การปรับสภาพบ้านเพื่อให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกช่วงวัย การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน 3 วัย การทำให้ผู้สูงอายุไม่เหงาเฉาอยู่กับบ้าน มูลนิธิชุมชนสงขลาได้นำเสนอการใช้งาน iMed@home โดยเฉพาะการสร้างระบบกลุ่มปิด เพื่อใช้ในการทำแผนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆกับชุมชน และเน้นกลุ่มเสี่ยงมากกว่ากลุ่มป่วย มีข้อสรุปให้ผลักดันประเด็นนี้กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ให้มี พชต.ของโตนดด้วนขับเคลื่อนต่อไป
รวมถึงการใช้ทุนทางสังคม เช่น วัด ในการระดมทุน/ข้อตกลงเปลี่ยนหรีดดอกไม้สดมาเป็นหรีดข้าวของเครื่องใช้สำหรับดูแลผู้สูงอายุ หรือทอดผ้าป่า ทำกิจกรรมร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ รองรับการดูแลในช่วงชีวิตสุดท้าย
3)การพึ่งตนเองและมีส่วนร่วมกับระบบบริการปฐมภูมิ เป็นอีกกิจกรรมในการพัฒนาบุคลากร cg ให้มีทักษะดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ทั้งในส่วนของงาน LTC และการพัฒนาไปสูุ่ธุรกิจเพื่อสังคมร่วมกับสมาคมพลเมืองโตนดด้วนฯในอนาคต
วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ห้องประชุมศูนย์การเรียนรู้ตำบลโตนดด้วน โครงการSUCCESSเมืองโตนดด้วน จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายองค์กรกลุ่มอาชีพและสร้างเป็นเครือข่ายตำบล โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลาสนับสนุนด้านวิชาการ นักวิชาการสาธารณสุขอำเภอควนขนุน เจ้าหน้าจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วนมีผู้เข้าร่วมกิจจากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เช่น ผู้นำดูแลด้านสุขภาพ และภาคีเครือข่ายอีชีพต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงความช่วยเหลือได้มากขึ้นและทั่วถึง กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางรายได้ กลุ่มเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567