"successเมืองละงู สตูล"
"successเมืองละงู สตูล"
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 คณะทำงานโครงการนำร่องเมืองละงูประสานภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด นำโดยสมาคมผู้บริโภคจังหวัด นายกอบจ.สตูล ทสจ. ปภ. การประปา ท้องถิ่น ทสม. ผญ. และมีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มูลนิธิชุมชนสงขลาเข้าร่วม ณ ห้องประชุมอบต.กำแพง อ.ละงู มีผู้เข้าร่วม 50คน
คณะทำงานนำเสนอความก้าวหน้าโครงการพัฒนากลไกภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์คลองละงูที่มีกิจกรรมหลัก ได้แก่ การเก็บข้อมูลภูมินิเวศคลองละงู ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ นำมาสู่การทำแผนบริหารจัดการน้้ำและกติกาลุ่มน้ำ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยยาย พร้อมกับเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อเปฺ็นกลไกขับเคลื่อนงานตลอดลุ่มน้ำ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากที่ประชุม
1)ในแง่กลไก เชื่อมโยงงานร่วมกับลุ่มน้ำย่อยของจังหวัดสตูล ภายใต้กลไกสภาลุ่มน้ำที่มีอบจ.สนับสนุน ให้มีกลไกอนุกรรมการแต่ละลุ่มน้ำร่วมขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการ คู่ขนานกับการจัดตั้งกลไกเครือข่ายต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำที่ประกอบด้วยตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งท้องถิ่น ท้องที่ เอกชน ประชาสังคมร่วมขับเคลื่อน
2)สังเคราะห์ข้อมูลตามสภาพปัญหาเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเชิงกายภาพของคลองละงู พร้อมจัดทำแผนที่ประกอบการสื่อสารเห็นพื้นที่ภูมินิเวศ จุดเสี่ยงปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย สภาพปัญหา ข้อมูลการใช้น้ำของภาคส่วนต่างๆ การเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพของสายคลองหลักและสาขา ศักยภาพ(พืช/สัตว์/สิ่งมีชีวิตในสายน้ำที่สามารถต่อยอดเพิ่มมูลต่าและเป็นสวนหนึ่งของระบบนิเวศ) สภาพการเปลี่ยนแปลงจากอดีต-ปัจจุบัน รวมถึงทิศทางการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จัดทำข้อเสนอแนะและแผนบริหารจัดการน้ำ...อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนา พร้อมเสนอหน่วยงานรับผิดชอบ
3)ปัญหาร่วมของลุ่มน้ำก็คือ การจัดการขยะ ปัญหาน้ำเค็มหนุนขึ้นมากลางน้ำจนอาจเกิดปัญหากับน้ำประปา
4)การเชื่อมโยงเครือข่ายอาจต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ ก่อนนำมาสู่การกำหนดเป้าหมายร่วม และคำนึงถึงเป้าหมายเฉพาะของต้นน้ำ(จัดการขยะ การกำหนดกติกาดูแลสายน้ำ การจัดการการท่องเที่ยว การดูแลทรัพยากรป่าไม้ สายน้ำ) กลางน้ำ(น้ำเสียจากครัวเรือน โรงขนมจีน การขุดลอกคลองที่ทำลายพืชริมตลิ่ง น้ำทะเลหนุน การขุดบ่อทราย) ปลายน้ำ( (น้ำแล้ง การฟื้นฟูป่าชายเลน ประมง การเพิ่มพันธ์สัตว์น้ำ) มีกิจกรรมกลางที่จะร่วมกัน ฟื้นฟูประเพณี การเคารพสายน้ำในฐานะสิ่งมีชีวิต การพัฒนาที่สอดคล้องกับภูมินิเวศ การมีเวทีหรือพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต่อยอดต้นทุนสร้างรายได้ เชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่ายใกล้ชิด
5)การบริหารจัดการน้ำร่วมกับท้องถิ่นในการนำเข้าระบบของสนทช. ระยะยาว ประสานท้องถิ่นร่วมกันออกข้อบัญญัติตลอดสายน้ำ
6)กิจกรรมในช่วงสุดท้าย สิ้นสุดระยะที่หนึ่ง ก็คือ การสังเคราะห์ข้อมูล จัดทำข้อเสนอแนะ พร้อมกับกำหนดทิศทางการดำเนินการ พร้อมจัดเวทีใหญ่เพื่อนำเสนอ สร้างการรับรู้ ขยายเครือข่ายและมีส่วนร่วมต่อไป
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568