"success โตนดด้วน"

by punyha @21 พ.ย. 66 11:13 ( IP : 182...186 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 1477x1108 pixel , 170,422 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,312 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 160,920 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 167,376 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 161,258 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 198,249 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 188,790 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 179,410 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 184,622 bytes.

"success โตนดด้วน"

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ประชุมกรรมการอำนวยการโครงการนำร่องเมืองโตนดด้วน มีผู้แทนหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ นำโดยคณะทำงาน ที่ปรึกษานายกอบจ.พัทลุง สนง.พัฒนาชุมชน สถานีพัฒนาที่ดิน เกษตรอำเภอ คณะกรรมการน้ำระดับอำเภอ สสอ. นายกทต.โตนดด้วน กองช่าง ผญ./อดีตกำนัน สารวัตรกำนัน เกษตรกร สมาคมสร้างสุขคนเมืองลุง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มูลนิธิชุมชนสงขลา จำนวน 26 คนเข้าร่วม

ที่ประชุมได้รับทราบความเป็นมาและแนวของโครงการที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาสังคม องค์กรชุมชนในพื้นที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาใหม่ที่คุกคามพื้นที่บนฐานการพัฒนาเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน มีการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภทอยู่ตลอดเวลา

คณะทำงานได้นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ ประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือ การเก็บข้อมูลและจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ(น้ำท่วมและน้ำแล้ง)และกติกาชุมชน เพื่อพัฒนา ฟื้นฟู อนุรักษ์ห้วยขี้ค่าง ซึ่งเป็นสายน้ำสำคัญ การทำฝายชีวิต การรวมกลุ่มอาชีพโดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์

ที่ประชุมได้ร่วมกันให้ข้อมูลการทำงานและหน้าที่รับผิดขอบของแต่ละฝ่าย พร้อมให้ข้อเสนอแนะ มีข้อสรุปสำคัญดังนี้

1) การบริหารจัดการน้ำ นายกเทศมนตรีเสนอโครงการร่วมกันประสานเครือข่ายต้นน้ำกลางน้ำ ปลายน้ำ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการน้ำทั้งระบบแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งในลุ่มน้ำคลองท่าแนะให้กับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะการเติมน้ำลงสู่ห้วยขี้ค่าง ขยายสายเหมือง การเวนคืนที่ดิน การทำฝายเพิ่มเติม เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดสาย

2)แก้ปัญหาเรื่องน้ำได้แล้วประสานกลุ่มอาชีพ ส่งเสริมการผลิตอาหาร เพื่อตอบสนองการบริโภคแบบปลอดภัย ปลูกผักทุกชนิดแบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย ทั้งระดับครัวเรือน เหลือแล้วนำจำหน่าย ในพื้นที่มีการดำเนินการอยู่หลายฝ่าย อาทิ ต้นแบบเกษตรกรมีการผลิตสารชีวภัณฑ์ มีความรู้พร้อมถ่ายทอด ทต.โตนดด้วยส่งเสริมการทำปุ๋ย การนำวัชพืชจากการขุดลอกคูคลองมาใช้ประโยชน์ การเลี้ยงไส้เดือน การทำถังหมักจัดการขยะเปียก ชมรมอสม.ทั้ง 7 หมู่บ้านมีการรวมกลุ่มสำรวจชนิดพืชผัก แหล่งผลิตในตลาด และร่วมกันปลูกผัก ทางพัฒนาชุมชนร่วมกับร้านหลานตาชู นำผลผลิตของเกษตกรมาจำหน่าย

3)คณะทำงานปฎิบัติการระดับตำบล ก่อตัวเป็นสมาคมพลเมืองโตนดด้วนอาสารักษ์ถิ่น ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงกลุ่มองค์กรต่างๆ สร้างความสัมพันธ์และเป็นข้อต่อในการทำงานระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายภายนอก สร้างความต่อเนื่องในการพัฒนา และมีมติเสนอให้อดีตกำนันเป็นนายกสมาคม

ทั้งนี้แนวทางหลักของโครงการมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำที่มีรูปแบบเหมาะสมกับพื้นที่ หลากหลาย แตกต่างกันทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และสอดคล้องกับระบบนิเวศ ไม่เน้นมาตรการสิ่งก่อสร้าง

หน่วยงานที่เข้าร่วมทุกฝ่ายยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนา ข้อสรุปเหล่านี้คณะทำงานจะได้นำไปดำเนินการต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน