ชุมชนภราดร เมืองบ่อยาง

by punyha @13 พ.ย. 66 11:46 ( IP : 171...224 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 1350x762 pixel , 188,268 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 106,721 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 194,377 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 77,681 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 107,927 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 84,476 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 91,112 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 93,482 bytes.
  • photo  , 961x1704 pixel , 162,845 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 113,897 bytes.
  • photo  , 960x1706 pixel , 246,088 bytes.
  • photo  , 960x1702 pixel , 208,385 bytes.
  • photo  , 960x1702 pixel , 241,471 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 127,169 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 113,304 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 164,909 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 140,293 bytes.

"ชุมชนภราดร"

วันที่  12 พฤศจิกายน  2566 คณะทำงานโครงการนำร่อง successเมืองบ่อยาง ชวนสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชน อสม. กับสมาชิกบางส่วนของชุมชนภราดร ทน.สงขลาเติมเต็มข้อมูลและร่วมทำแผนชุมชน/แผนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สมาชิกร่วมกันให้ข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้ทราบที่มาของชื่อชุมชนภราดรว่าเป็นชื่อของบุตรชาย นายจำนง ชุ่มจันทร์ ผู้สร้างบ้านหลังแรกในชุมชนราวปี 2510 จำนวนบ้านเช่าในชุมชนมีร่วมกว่า 200 หลัง(จากทั้งหมด 389 หลัง) ประชากรกว่าครึ่งเป็นผู้สูงอายุ ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยติดเตียงราว 8-9 คน พิการ 2-3 คน(อสม.ตรวจสอบให้อีกครั้ง)

ความเจ็บป่วยที่พบคือ เบาหวาน ความดัน ไขมัน สภาพปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบน้ำท่วมในบริเวณโซนล่างที่เป็นที่ต่ำ ลมแรง อากาศร้อน/ไม่มีแหล่งน้ำ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำ การใช้พัดลม แอร์เพิ่มมากขึ้น และการเป็นชุมชนขยายที่สมาชิกในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นจนต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ สภาพพื้นที่ในชุมชนมีที่สาธารณะน้อยมาก ถนนแคบ ไม่สามารถขยายตัวได้อีก สมาชิกมีฟื้นเพจากต่างถิ่นต่างที่ ต้องการกิจกรรมร่วมในชุมชน

ต้นทุนสำคัญในชุมชน คือมีกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนที่เป็นแกนหลัก มีกลไกประสานงานกระจายไปทุกจุดในชุมชน กิจกรรมประจำมีการจัดทำบุญปีใหม่ วันเด็ก วันสงกรานต์ มีทักษะงานช่าง อาทิ เสริมสวย ช่วงยนต์ ช่างกระจก ช่างเหล็ก รับเหมาก่อสร้าง มีข้าราชการเกษียณ/ครู

หมายเหตุ ในส่วนข้อมูลที่ควรเพิ่มเติม ข้อมูลคนพิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มเปราะบางที่ชุมชนต้องดูแลเป็นพิเศษ/ผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพัง ภาวะค่าใช้จ่ายในครัวเรือน(น้ำ/ไฟ) สำรวจคนที่อยู่ถาวรในชุมชน จำนวนบ้านเช่าในชุมชน

สมาชิกได้ร่วมกันให้ความเห็น และร่วมกำหนดเป้าหมาย และแนวทางดำเนินงานแผนชุมชน มีข้อสรุปดังนี้

เป้าหมาย 3 ปี (พ.ศ.2567-2569) เป็นขุมชนรักสามัคคี มีความเป็นหนึ่งเดียว เข้มแข็ง ปลอดภัย พึ่งตนเองได้ รองรับสังคมสูงวัยและมีส่วนร่วมในการพัฒนา

แนวทางหลักประกอบด้วย

1.ด้านสุขภาพ กิจกรรมหลัก

1)จัดทำแผนสุขภาพชุมชน อสม.คืนข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในเชิงปริมาณ พร้อมจำแนกอาการป่วย/ความเสี่ยงต่อโรคสร้างความตระหนักและรับรู้ ให้ความรู้พร้อมวิเคราะห์สาเหตุแห่งความเสี่ยงและอาการป่วย รับสมัครกลุ่มเสี่ยงทำแผนสุขภาพรายคนปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาศัย 3 อ. 2 ส.พร้อมคัดกรองประเมินผลทุกเดือน

2)ออกกำลังกายร่วมกัน ในช่วงเย็นในซอยที่เป็นทางตัน ตามรูปแบบที่เหมาะสม 3-5 วัน/สัปดาห์ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที อาทิ แอร์โรบิค ไม้พลอง ไท้เก็ก หรือเคลื่อนไหวทางกายสะสม 150 นาที/สัปดาห์

2.ด้านสภาพแวดล้อม

1)ให้ความรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาและจัดตั้งแกนนำในการเฝ้าระวังในช่วงหน้าฝน มีกลไกแจ้งเตือนและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชน

2)ติดตั้งกล้่อง cctv เพิ่มไฟสว่างในจุดสำคัญ

3)จัดการขยะ นำขยะเปียกมาใช้ประโยชน์ มีกองทุนขยะจัดการขยะรีไซเคิล 4)ปรับสภาพบ้านรองรับสังคมสูงวัย เพิ่มทางลาด ลดทางต่างระดับ เพิ่มราวจับป้องกันการล้ม

3.ด้านเศรษฐกิจ

1)มีการออมทรัพย์ก่อนเกษียณ ออมทรัพย์เพื่อขยายที่อยู่ใหม่

2)ลดรายจ่าย เพิ่มอาชีพเสริมสร้างรายได้ ปลูกผักแบบคนเมือง เพาะเห็ด ผลิตภัณฑ์สีเขียว/น้ำยาเอนกประสงค์ เป็นต้น

4.ด้านสังคม

1)ห้องเรียนรองรับสังคมสูงวัยชุมชน ทุกเช้าวันอาทิตย์ที่สองของเดือน 9.00-12.00 น.นำมื้อเที่ยงมารับประทานร่วมกัน พร้อมกับสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้าน ผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่ชุมชนสนใจ พร้อมอสม.คัดกรองสถานะสุขภาพไปพร้อมกัน การทำกิจกรรมร่วมกันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและกิจกรรมอื่นๆต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน