"iMedCare อำเภอเมืองสงขลา"
"iMedCare อำเภอเมืองสงขลา"
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 นัดทีมผู้ดูแลที่บ้านของ iMedCare อำเภอเมือง 22 คน ณ ห้องประชุมอาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ชี้แจงทำความเข้าใจแนวคิดแนวทางดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ทีมผู้ดูแลที่บ้านทั้งหมดผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และพร้อมสมัครใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งจะมีบริษัทประชารัฐรักสามัคคีสงขลา(วิสาหกิจเพื่อสังคม)จำกัด เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ โดยทำงานร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลาและดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย
สมาชิกร่วมทำสัญญาจ้าง ส่งหลักฐานสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน พร้อมทำความเข้าใจระบบงานผ่าน platform iMedCare ที่จะมีผู้ใช้บริการ 3 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ผู้ประสานงานพื้นที่ และผู้ดูแลที่บ้าน ทำงานสอดประสานกัน
สมาชิกส่วนใหญ่เป็นทั้งอสม.และCG ได้แบ่งกลุ่มพื้นที่เพื่อให้ผู้ประสานงานและผู้ดูแลที่บ้านระดับตำบลในเขตอำเภอเมือง ตรวจสอบความพร้อมการบริการ จำนวน HCG ที่จะต้องทำงานได้ ต.บ่อยาง 8 ตน มีทั้งพร้อมทำงานกลางวัน กลางคืน ทำงานกับกลุ่มอิสลามและข้ามเขตพื้นที่ ต.เขารูปช้าง 7 คน ต้องการทำงานกับกลุ่มอิสลาม บางคนสามารถทำงานข้ามเขต ต.พะวง 5 คน ทำงานกลางวัน กลางคืนและข้ามเขต ต.เกาะยอ 2 คนทำงานกลางคืน และข้ามเขต
ทั้งนี้การบริการแบบมีส่วนร่วมนี้ครอบคลุมบริการ 2 ระดับ กล่าวคือ ร่วมบริการกับกองทุน LTC บริการผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงทั่วไป รายงานกิจกรรมผ่าน iMed@home และร่วมบริการในฐานะธุรกิจเพื่อสังคมผ่าน iMedCare
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในครั้งนี้
1)สมาชิกจะรวมตัวในนามเครือข่ายบริการอำเภอเมือง ทำงานสอดประสานกับงานระดับชุมชน เช่น กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ได้จัดทำแผนสุขภาพชุมชน/กติกาชุมชน และคัดกรองกลุ่มเสี่ยง-ผู้ป่วย นำมาสู่การจัดทำแผนสุขภาพรายบุคคลเพื่อปรับพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และทำแผนบริการร่วมกับ CM ของหน่วยบริการ ทีมกลางจะปรับระบบการทำงานแบบกลุ่มปิดผ่าน iMed@home ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน ระบบนี้จะขยายไปยังชุมชนอื่นๆ และร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสปสช.เขต 12 ดูแลผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าในงานเขต 12 อีกด้วย
2)เปิดให้บริการในพื้นที่อำเภอเมือง ผ่าน iMedCare
3)ทีมงานต้องการเพิ่มทักษะการดูดเสมหะ-ให้อาหารทางสายยาง โดยสามารถเข้าไปเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในห้อง lab ของคณะพยาบาลม.อ. ทีมกลางร่วมจัดระบบข้อมูลสนับสนุนการบริการ แจกแจงข้อมูลภาพรวมของสมาชิกอำเภอเมืองถึงความพร้อมในการบริการ(กลางวัน-กลางคืน-รายเดือน-รายวัน-รายครั้ง-ข้ามเขต-ทักษะที่ชำนาญ-ทักษะที่ยังไม่พร้อม)และสมาชิกต้องการให้มีบัตรประจำตัวและเสื้อทีมอ่ีกด้วย และทีมกลางจะทำปฎิทินการทำงานของผู้ดูแลที่บ้านแต่ละอำเภอ ลงข้อมูลใน www.iMedCare.org เพื่อสนับสนุนการทำงาน รวมถึงการสื่อสารในกลุ่มไลน์
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567