"Success บ่อยาง ชุมชนสนามบิน"

by punyha @25 ต.ค. 66 18:49 ( IP : 171...211 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x720 pixel , 95,020 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 93,881 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 103,445 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 70,049 bytes.
  • photo  , 960x1702 pixel , 180,426 bytes.
  • photo  , 1155x2048 pixel , 153,795 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 62,841 bytes.
  • photo  , 960x1702 pixel , 155,139 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 174,827 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,842 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 142,682 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 90,776 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 91,672 bytes.

"Success บ่อยาง ชุมชนสนามบิน"

วันที่  25 ตค.2566 คณะทำงานโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยาง นัดคณะทำงานชุมชนสนามบิน เติมเต็มแผนที่เดินดิน ประวัติศาสตร์ชุมชน ผังองค์กรชุมชน และร่างแผนชุมชน

ชุมชนสนามบิน มีจำนวน 126 ครัวเรือน สมาชิกกว่า 500 คน(ไม่รวมประชากรแฝงอีกนิดหน่อย) พื้นเพประชากรมาจากคาบสมุทรสทิงพระเป็นส่วนใหญ่ มาหารายได้จากการค้าขายบริเวณสถานีรถไฟสายเก่า ขายขนม ประมงพื้นบ้าน รับจ้างรายวัน จากนั้นญาติพี่น้องก็ค่อยๆตามมาอาศัยด้วย สร้างบ้านขยายตัวไปเรื่อยๆ ปัจจุบันอาชีพหลักมาจากการรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ

ชุมชนแห่งนี้เดิมทีเป็นที่ดินราชพัสดุ มีมาก่อนปี 2500 เป็นที่ราบลุ่่มน้ำท่วมอยู่เสมอ อดีตเป็นป่าก่อนที่จะมีหน่วยงานราชการเข้ามาใช้ประโยชน์ คือศูนย์ช่างที่ 9 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ฯ (ต่อมาย้ายไปเกาะยอ) ชุมชนจากในเมืองค่อยๆทยอยเข้ามาบุกเบิกสร้างบ้าน ตามมาด้วยอำเภอที่อยู่ในโซนคาบสมุทรสทิงพระเพิ่มจำนวนมากขึ้น พื้นที่แบ่งออกเป็น 3 โซน คือ

โซน 1 เป็นพื้นที่เดิมที่หน่วยงานเคยใช้ประโยชน์

โซน 2 และ 3 เป็นพื้นที่ซึ่งผู้ทำประโยชน์ขอเช่าตรงกับธนารักษ์และแบ่งซอยให้เช่าสิทธิ์มาอยู่อาศัย

จนราวปี 2515 ผู้ทำประโยชน์ขัดแย้งกับธนารักษ์ เกิดการฟ้องร้องกัน จึงเกิดการเปลี่ยนตัวคนเช่า ปี 2538 มีการจัดตั้งเป็นชุมชนสนามบินพร้อมๆกับชุมชนอื่นๆในเขตเทศบาลนครสงขลา มีการเช่าที่กับธนารักษ์โดยตรง ปัญหาที่พบสม่ำเสมอก็คือ น้ำท่วม โดยเฉพาะปี 2543 ที่ท่วมหนักกว่าทุกครั้ง โดยแต่ละปีจะมีน้ำท่วมในช่วงหน้าฝน โดยสภาพที่ราบลุ่ม และการมีท่อหรือทางระบายน้ำไม่เพียงพอ โดยเฉพาะโซน 3

องค์กรชุมชน กลุ่มที่มีบทบาทในชุมชนประกอบด้วย

1)กลุ่มจัดตั้ง ได้แก่ กลุ่มกรรมการชุมชน อสม. ธนาคารขยะ กลุ่มออมทรัพย์ 2 กลุ่ม

2)กลุ่มธรรมชาติ ประกอบด้วยกลุ่มเครือญาติที่มี 4-5 ตระกูลเป็นกลุ่มหลัก ผู้นำกลุ่มอาศัยในพื้นที่มากว่า 40 ปี กลุ่มจัดตั้งจะสัมพันธ์กับการเมือง เทศบาล หน่วยงาน ส่วนกลุ่มธรรมชาติ จะช่วยเหลือพึ่งพากันเอง

สรุปสภาพปัญหาโดยรวมในชุมชน ประกอบด้วย

1)ด้านสุขภาพ ประชากรเริ่มเข้าสู่ผู้สูงวัย ป่วยเป็นความดัน เบาหวาน ไขมัน มีผู้ป่วยติดเตียง พิการทางจิต ต้องการให้อสม.คัดกรองสุขภาพสม่ำเสมอ เพิ่มจำนวนอสม.และอุปกรณ์ในการคัดกรอง มีการปรับพฤติกรรมเสี่ยงด้านอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์

2)ด้านสภาพแวดล้อม พบปัญหาน้ำท่วม ลมแรง อากาศร้อน ที่ต้องการให้เพิ่มท่อระบายน้ำ การดูแลกลุ่มเปราะบางในช่วงเกิดภัย(ผู้ป่วยติดเตียง/บ้านชั้นเดียว/ผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียว) ปิดฝาท่อเพื่อลดกลิ่นเหม็น แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะเปียก/ขยะรีไซเคิล ลดมลภาวะและน้ำเสีย การปรับสภาพบ้านและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกวัย รวมถึงการแก้ปัญหาบ้าน 14 หลังที่อยู่บริเวณด้านหน้าของชุมชนเป็นจุดรับแขกเมือง ที่กำลังหาทางออกในการปรับแต่งอาคารให้เหมาะสม

3)ด้านสังคม ไม่มีอาชญากรรม ยาเสพติด ด้วยเป็นชุมชนปิด มีแต่เครือญาติ ที่เริ่มแตกแยกจากการเมืองและชุมชนไม่มีการมีส่วนร่วมในการพัฒนา หรือมีกิจกรรมในการสร้างความสัมพันธ์ มีเพียงกิจกรรมทำบุญปีใหม่ วันเด็ก

4)ด้านรายได้และอาชีพ เป็นปัญหาหลัก ชุมชนเริ่มขาดรายได้ หรือมีรายได้ไม่แน่นอน รายจ่ายมากกว่ารายได้ ต้องการอาชีพเสริม รวมถึงเงินออม

นัดครั้งต่อไป ประชุมจัดทำแผนชุมชน วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. กลุ่มเป้าหมาย 40 คน ประกอบด้วยกรรมการชุมชน อสม. กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเครือญาติแต่ละสาย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน