"Success บ่อยาง ชุมชนภราดร"
"Success บ่อยาง ชุมชนภราดร"
วันที่ 23 ตุลาคม 2566 คณะทำงานโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยาง นัดคณะทำงานชุมชนภราดรมาเพื่อประชุมจัดทำข้อมูลและร่างแผนชุมชน ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมือง ณ ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน
เริ่มด้วยการจัดทำประวัติศาสตร์ชุมชน พบว่าที่นี่เป็นชุมชนที่ขยายตัวมาจากชุมชนกุโบร์ ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2527 ประชากรในพื่้นที่อาศัยอยู่มาก่อนตั้งชุมชนอย่างเป็นทางการในปี 2545 นั่นคือก่อนปี 2500 (วัดจากการมีกุโบร์) เคยร่มรื่นเต็มไปด้วยสวนมะพร้าว มะม่วง ป่าเสม็ด แกนนำส่วนใหญ่มาจากนครศรีธรรมราช สิงหนคร ระโนด มาทำงานราชการ รับจ้าง ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง ไม่จน แต่มีชุมชนโซนล่างที่อยู่ติดริมทางรถไฟเป็นคนต่างถิ่นอพยพเข้ามายึดครองที่ดินการรถไฟ สร้างบ้านบนสันราง ตั้งแต่รถไฟสายเก่าหยุดใช้งาน ราวปี 2521 อดีตพบปัญหาน้ำท่วมมา 3 ครั้งคือ ปี 2543 2553 และ2565
สาเหตุหลักของน้ำท่วมมาจากฝนตกหนักเกิน 100 มม. บริเวณชุมชนจะอยู่ที่สูง แต่มีพื้นที่ราบลุ่มด้านล่าง ทำให้น้ำไหลลงไปท่วมบริเวณนั้น บวกกับการมีน้ำทะเลหนุนในคลองสำโรงทำให้ระบายออกไปไม่ได้
ปัจจุบันมีประชากร 389 ครัวเรือน จำนวน 1116 คน (ไม่รวมบ้านเช่า) ชุมชนได้จัดทำแผนที่เอาไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยที่มีประชากรจำนวนหนึ่งต้องการหาพื้นที่อยู่ใหม่(สมาชิกในครอบครัวขยาย) บวกกับต้องการปรับสภาพบ้าน กับบ้านที่อยู่ริมทางรถไฟ 97 หลัง(ไม่รวมบนสันราง)ที่ต้องถูกรื้อย้าย
ที่ประชุมเสนอให้เพิ่มเติมข้อมูลในแผนที่ ประกอบด้วยกลุ่มเปราะบาง(คนป่วย คนพิการ ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว)โดยเฉพาะบริเวณโซนล่างที่เป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมขัง บ้านเช่า บ้านมีโฉนด
ในส่วนผังองค์กรชุมชน ประกอบด้วยกลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ชุมชน ธนาคารขยะชุมชน กลุ่มกรรมการชุมชน กลุ่มอสม. กองทุนหมู่บ้านฯ หลังจากวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชนแล้ว พบว่ากลุ่มออมทรัพย์มีการวางตัวผู้ประสานงานกระจายอยู่ในแต่ละโซนซึ่งประกอบด้วย โซนภราดร 1,2 โซนล่าง โซนต้นข้อย มีข้อสรุปให้ประสานอสม.มาร่วมกิจกรรมให้มากขึ้น พร้อมดึงผู้ประสานงาน และตัวแทนกรรมการชุมชนเข้ามาร่วมรับรู้ในการประชุมครั้งต่อไป วันที่ 12 พฤศจิกายน และใช้เป็นกิจกรรมกลางที่จะมีทุกอาทิตย์ที่สองของเดือน
สภาพปัญหาโดยรวมของชุมชน ประกอบด้วย
1)ด้านสุขภาพ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้สูงอายุจะป่วยเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน ต้องการให้มีสถานที่กลางของชุมชนในการออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น เป็นที่ทำกิจกรรมกลางของชุมชน ซึ่งมีข้อเสนอแนะพื้นที่สาธารณะที่มีอยู่ให้เทศบาลเข้ามาพัฒนา
2)ด้านสิ่งแวดล้อม จัดการขยะที่เป็นปัญหาร่วมในการจัดการทั้งขยะเปียก ขยะรีไซเคิล(นำไปกำจัด) ปัจจุบันร่วมกับกองทุน wwf จัดตั้งธนาคารขยะรับซื้อขยะรีไซเคิล
3)ด้านสังคม ชุมชนเริ่มต่างคนต่างอยู่ การขยายตัวของชุมชนบริเวณริมทางรถไฟนำมาซึ่งปัญหายาเสพติด การลักโขมย ความไม่ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
4)ด้านสภาพแวดล้อม การปรับสภาพบ้านรองรับสังคมสูงวัย ต้องการไฟส่องสว่าง และกล้อง cctv ในการเฝ้าระวัง
มีข้อเสนอให้มีห้องเรียนรองรับสังคมสูงวัย เชื่อมกิจกรรมความสัมพันธ์ในชุมชนผ่านกิจกรรมการลดรายจ่ายในครัวเรือน การจัดการขยะเปียกมาใช้ประโยชน์ การดูแลสุขภาพ การส่งเสริมการออม การใช้เทคโนโลยีในกลุ่มผู้สูงอายุ
กิจกรรมครั้งต่อไป ประชุมจัดทำแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและคุณภาพชีวิตชุมชนภราดร วันอาทิตย์ที 12 พฤศจิกายน เวลา 09.00-12.00 น. กลุ่มเป้าหมาย 30คน (อสม. คณะทำงาน ผู้ประสานงานกลุ่มออมทรัพย์ ตัวแทนประชาชนแต่ละโซน แต่ละอาชีพ)
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567