"แผนสุขภาพและกติกาสุขภาพชุมชนแหลมสนอ่อน"

  • photo  , 960x540 pixel , 86,739 bytes.
  • photo  , 678x430 pixel , 32,226 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 202,976 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 163,791 bytes.
  • photo  , 571x1280 pixel , 128,435 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 202,648 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 93,878 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 176,124 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 99,265 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 87,765 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 88,596 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 159,106 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 82,697 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 109,267 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 103,795 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 103,261 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 107,913 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 104,100 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 96,297 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 178,676 bytes.

"แผนสุขภาพและกติกาสุขภาพชุมชนแหลมสนอ่อน"

วันที่ 21 ตุลาคม 2566 นัดหมายสมาชิกชุมชนแหลมสนอ่อน เพื่อนชุมชนใกล้เคียง ทีมกองสาธารณสุขทน.สงขลา โดยมีอาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลาเข้าร่วม

กิจกรรมภาคเช้าเริ่มด้วยการแนะนำตัว พร้อมกับบอกเล่าสถานะสุขภาพของตนหลังผ่านการคัดกรองจากนักศึกษาและอสม.ทำให้ได้รู้ว่าหลายคนป่วยเป็นโรคหลายอย่าง บางคนผ่านการผ่าตัดมาหลายรอบ บางคนอยู่กับอาการช็อคจนเป็นปกติ บางคนเป็นไส้เลื่อน ภาวะเจ็บป่วยเฉพาะตัวเช่นนี้ทำให้เห็นเลยว่าใช้ชีวิตมาไม่ง่ายเลยทั้งตนเองและคนใกล้ตัว การบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์เช่นนี้ทำให้ชุมชนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น บอกถึงความไว้วางใจที่สามารถบอกเล่าเรื่องส่วนตัวให้รับรู้ร่วมกัน

มูลนิธิชุมชนสงขลาได้ทบทวนกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา จากการทำแผนที่เดินดิน ประวัติศาสตร์ชุมชน ผังองค์กรชุมชน ระบบสุขภาพชุมชน และการกำหนดเป้าหมายระบบสุขภาพปฐมภูมิ และกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา ร่วมกับนักศึกษาฝึกงาน 2 รุ่นเก็บข้อมูลคัดกรองสุขภาพสมาชิกในชุมชน อสม.คืนข้อมูลสุขภาพรายคน พร้อมสอบถามความสมัครใจร่วมกิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพรายคนจำนวน 47 คน

นักศึกษาที่มาฝึกงานนำเสนอผลการคัดกรองสุขภาพสมาชิกชุมชนจำนวน 128 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีพฤติกรรมเสี่ยงคือ กินอาหารไม่ควบคุม รสจัด 94 คน ไม่ออกกำลังกาย 41 คน ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง 31 คน เบาหวานกับไขมันในเลือดสูง 17 คนเท่ากัน ส่วนใหญ่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ปัญหาสุขภาพทั่วไปพบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไข้ไอ เจ็บคอ

สมาชิกในชุมชนได้ร่วมทบทวนเป้าหมายการทำแผนสุขภาพ และเรียนรู้ปัจจัยกำหนดสุขภาพที่สัมพันธ์กับปัจเจกบุคคล สภาพแวดล้อมและระบบบริการ เพื่อมองภาพถึงสาเหตุและความสัมพันธ์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะแบ่งกลุ่มย่อย 4 กลุ่มตามโซน 4 โซน ระดมข้อเสนอแนะถึงสภาพปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไข

พักเที่ยงกันด้วยมื้อเที่ยงจากปิ่นโตที่สมาชิกหิ้วกันมาคนละเถา พร้อมแบ่งปันให้คนอื่นร่วมทาน นี่ก็เป็นหนึ่งในกติกาการประชุมของที่นี่ ให้สมาชิกหิ้วปิ่นโตและมีอาหารสุขภาพมาร่วมทาน พร้อมอาหารว่าง น้ำสมุนไพร แต่ละคนพกแก้วประจำตัวมาด้วย (แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นสมาชิกภายนอกยังไม่รู้)

ภาคบ่ายนักศึกษานำเสนอผลกลุ่มย่อย สรุปได้ดังนี้ แผน 3 ปี พ.ศ.2567-2569 เป้าหมาย>ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บนที่เช่าของธนารักษ์ มีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ มีส่วนร่วมระบบบริการปฐมภูมิเพื่อแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

กิจรรมโครงการที่จะดำเนินการ

ระยะสั้น

1.โครงการจัดทำแผนสุขภาพรายคนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วย

กรณีกลุ่มเสี่ยง

-ปรับพฤติกรรมตามแนวทาง 3 อ. 2 ส. ที่แต่ละคนกำหนดตัวเอง ตามสภาพปัญหา มีการร่วมกิจกรรมกลุ่ม และคัดกรองสุขภาพติดตามประเมินผลเดือนละ 1 ครั้ง บันทึกข้อมูลสถานะสุขภาพและกิจกรรมในระบบเยี่ยมบ้าน ระบบกลุ่มใน iMed@home

กรณีผู้ป่วย

-ร่วมกำหนดแนวทางปฎิบัติในการส่งต่อ การรักษา ฟื้นฟู ร่วมกับหน่วยบริการ

-คนในครอบครัวเรียนรู้ เฝ้าระวัง สังเกตุอาการเตือนของผู้ป่วย

2.โครงการปรับสภาพแวดล้อมรอบบ้านและในชุมชน

-จัดการขยะ นำขยะเปียกมาใช้ประโยชน์

-รั้วกินได้

-ปลูกผัก แปลงสมุนไพรในป่าสน

3.โครงการปิ่นโตอาหารสุขภาพ

-พัฒนาเมนูสุขภาพ

-ส่งต่อบริการอาหารสุขภาพให้กับผู้ป่วยในพื้นที่ทน.สงขล

ระยะยาว

1.โครงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สร้างรายได้ให้ชุมชน

-จัดระบบองค์กรวิสาหกิจชุมชน จัดทริปท่องเที่ยวเกาะ/ทะเลสาบ นำนักท่องเที่ยวต่างชาติลงเรือท่องเที่ยว รวมถึงตกปลา สันทนาการ

-ปรับสภาพบ้านสามารถเปิดให้นักท่องเที่ยวพัก หรือมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ป่าสน สวน 80 พรรษา ชายหาด

2.โครงการจัดทำผังชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและที่อยู่อาศัย

-ปรับผังชุมชน สภาพบ้าน จัดสภาพแวดล้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ลดปัญหามลภาวะกลิ่น เสียง น้ำเสีย ยุง สุนัข ลิง

-สร้างจุดเรียนรู้โซนละ 1 ฐานเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว

3.โครงการชุมชนกรุณา

-เตรียมความพร้อมการจากไปอย่างมีคุณภาพ

พร้อมกำหนดกติกาชุมชนด้านสุขภาพ

1.ร่วมกันรวมกลุ่มเดินออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 2 วัน เวลา 16.00-17.00 น. ณ สวน 80 พรรษาเฉลิมพระเกียรติ

2.เปิดห้องเรียนชุมชน พบกันทุกวันที่ 9 ของเดือน หิ้วปิ่นโตสุขภาพมาทานร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม.ร่วมคัดกรองสุขภาพ รายงานผลสถานะสุขภาพ ติดตามผลสุขภาพรายคน

3.ครัวเรือนมีเมนูสุขภาพประจำครัว พร้อมลด ละ เลิกปัจจัยเสี่ยง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน