"ประชุมทีมข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.com"
"ประชุมทีมข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.com"
วันที่ 2 ตุลาคม 2566 นัดคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศกลางฯระยะสอง โดยการสนับสนุนจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา ผ่านมาทางมูลนิธิชุมชนสงขลา เพื่อวางจังหวะก้าวการดำเนินงานต่อไป มีข้อสรุปสำคัญ
1.พัฒนาการจาก TOR ระยะที่ 1 แก้ไขปัญหาในส่วนของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีระบบสารสนเทศกลางใน www.khonsongkhla.com ซึ่งดำเนินการโดยทีมบริษัทภายนอกนำ TOR ที่กำหนดโดยทีมโปรแกรมเมอร์กลางซึ่งมี ดร.นิคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. เป็นหัวหน้าทีมพัฒนามา และส่งต่อระบบให้กับทีมกลางพัฒนาต่อ เป็น TOR ระยะที่ 2
ปัจจุบันนำ Data คนพิการ/ผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบกลาง 5 องค์กร จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 นำเข้าผ่าน API ที่เขียนมารองรับ มีการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันโดยโปรแกรมเมอร์ขององค์กร ได้แก่ สสจ. กองทุนฟื้นฟูฯ มูลนิธิชุมชนสงขลา
กลุ่มที่ 2 ทีมกลางสร้างระบบรองรับนำข้อมูลจากองค์กรมาพักไว้ แล้วนำเข้าสู่ API ให้ ได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษาพิเศษ พมจ. องค์กรเหล่านี้มีเพียงนัก IT ส่วนโปรแกรมแม่จะอยู่ส่วนกลาง
2.การนำเสนอข้อมูล นอกจากนำเสนอในส่วน www.khonsongkhla.com แต่ละองค์กรที่มีโปรแกรมเมอร์สามารถนำ Data กลางไปนำเสนอในช่องทางของตนตามวัตถุประสงค์แต่ละองค์กร ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน รายงานเชิงจำนวนคน/พื้นที่/ประเภท ข้อมูลการรับบริการ(ด้านสุขภาพ/เศรษฐกิจ/สังคม) ข้อมูลความต้องการ(ด้านสุขภาพ/เศรษฐกิจ/สังคม) ในส่วนขององค์กรความร่วมมืออื่นสามารถดูหรือเข้าถึงผ่านหน้าเว็บกลาง หรือจับมือกับองค์กรพันธมิตรใช้งานร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ทีมกลางประสบปัญหาในการขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมระบบเดิมซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคหรือภาษาการเขียนของทีมบริษัทฯ จึงเสนอทางออก TOR ระยะที่ 3 โดยให้ 1) มีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) จากข้อมูลนำเข้า (Input) ที่มีอยู่ 2) มีการเขียน API เพิ่มเติมในขอข้อมูลจากการประมวลผล 3) สร้างตารางข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อรองรับข้อมูลที่มีความละเอียดมากขึ้น 4) เขียน API เพิ่มเติมเพื่อเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียดมากขึ้น 5) มีการนำเสนอข้อมูลจากข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้ตัวกรองด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ (Filter) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบกราฟฟิก(GUI) ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย นับเป็น Version 2 ต่อยอดจากฐานเดิม
3.นัดหมายทีมเล็กออกแบบ TOR ระยะที่ 3 ให้ครอบคลุมกระบวนการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือ
1)Mapping ชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐาน 10 ด้าน(สุขภาพ/เศรษฐกิจ/สังคม) ว่ามีองค์กรใดมีข้อมูลหรือดำเนินการอยู่บ้าง
2)ประสานงานมาร่วมเสนอแนะการใช้ประโยชน์ และการพัฒนาระบบส่งต่อความช่วยเหลือ ที่ทีมเล็กจะช่วยกันยกร่างเสนอ
4.ข้อสรุปการใช้งานเบื้องต้น ในส่วน user หลัก อนุญาตเฉพาะในส่วนทีมหลักที่มีโปรแกรมเมอร์เข้าถึง ส่วนองค์กรใหม่หรือมีเพียง IT จำกัดให้สามารถส่งข้อมูลแต่ไม่สามารถเข้าแก้ไขข้อมูลขององค์กรอื่นได้(TOR 1 ไม่ได้จำกัดสิทธิ์)ให้พัฒนาช่องทางเพิ่ม user เฉพาะองค์กร
นอกจากนั้นยังได้หารือแนวทางความร่วมมือกับจังหวัดอื่นที่ต้องการใช้ระบบนี้ไปดำเนินการในพื้นที่ของตนอีกด้วย
Relate topics
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567
- “พูดให้น้อย ทำให้เยอะ : ค่านิยมร่วม HCG ของ iMedCare”