"sandbox ต.ควนโส"
"sandbox ต.ควนโส"
วันที่ 22 มีนาคม 2567 ประชุมคณะทำงานศจพต.ควนโส ทีมงานรพ.สต.ตำบลควนโส อบต.ควนโส เกษตรตำบล อสม. พมจ. อบจ. สมัชชาสุขภาพจังหวัด ม.ราชภัฎสงขลา ณ อบต.ควนโส โดยมีปลัดอาวุโสอำเภอควนเนียงเป็นประธานการประชุม
รอบเช้า
1.คืนข้อมูลการทำแผนสุขภาวะชุมชน/กติกาชุมชนตำบลควนโส เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-เพิ่มเติมตัวแทนอำเภอ ท้องถิ่น ท้องที่ เข้่าสู่สมาชิกในกลุ่ม iMed@homeเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลกลุ่มเสี่ยง/ป่วยเพื่อจัดบริการ เบื้องต้นสื่อสารผ่านกลุ่มไลน์ iMedควนโส
-กลไกการทำงานระดับอำเภอประสานงานกันระหว่าง พชอ.และศจพอ. เป็นกลไกเชิงนโยบายที่สามารถประสานการทำงานกับกลไกเชิงพื้นที่แบบแนวราบ ซึ่งสามารถต่อยอดงานของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพฯผู้สูงอายุภายใต้กองทุน LTC สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้สูงอายุ แกนนำธรรมชาติ และพัฒนาให้มีการบูรณาการเป็นศูนย์สูงวัย
-ควรมีวาระร่วมระดับตำบล ที่จะเป็นหมุดหมายการทำงานร่วมกันของเครือข่ายต่างๆ
-พัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุดีพร้อม 9 ด้าน ทำงานร่วมกับรพ.ควนเนียง
-ร่วมกับรพ.ควนเนียง/รพ.หาดใหญ่ ในการบริการผู้สูงอายุที่มีปัญหาการมองเห็นและการได้ยิน(ส่งหมอเฉพาะทางตรวจสอบ)
-กรณีผู้ป่วยติดเตียง ที่มีปัญหาแผลกดทับ ควรประเมินซ้ำโดยนักกายภาพ
-คลีนิคผู้สูงอายุร่วมดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาปัสสาวะเร็ด
-บูรณาการงานปรับสภาพบ้านกับการดูแลสุขภาวะของผู้อาศัย เน้นไม่หกล้ม
-พมจ.จะนำรายชื่อกลุ่มเสี่ยงไปตรวจสอบกับข้อมูลทางสังคม
-นัดพบผู้ให้บริการรถรับส่งเพื่อจัดระบบส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์
-สาธารณสุขมีนโยบาย Health statiom ให้อสม.พร้อมเครื่องวัดความดัน/เครื่องชั่งน้ำหนักจัดตั้งจุดบริการให้กับกลุ่มป่วย/กลุ่มเสี่ยง
รอบบ่าย
2.สรุปบทเรียนกับอสม.และทีมงานในการจัดทำ sandbox รพ.สต.ตำบลควนโส
-ผลที่ได้จากการดำเนินการ 1)ความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรค NCDs ระหว่างอบจ. พชอ. ศจพต. อปท. 2)กลุ่มเสี่ยงและป่วย NCDs จำนวน 481 คนได้รับการคัดกรองสุขภาวะรายคน และจัดทำแผนสุขภาวะรายคน 3)ได้แผนสุขภาวะชุมชนและกติกาสุขภาวะชุมชนที่มาจากการมีส่วนร่วม 4)กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักถึงปัญหาสุขภาวะและเริ่มสนใจปรับพฤติกรรมเสี่ยงในด้านการบริโภค การพักผ่อน และการใช้ยาเป็นผลจากคำถามในแบบคัดกรองสุขภาวะรายคนและการกระตุ้นของอสม.
-การคัดกรองผ่านแบบคัดกรองสุขภาวะในระบบกลุ่ม iMed@home จะคัดกรองซ้ำทุก 3 เดือน
-ความแตกต่างระหว่างการถ่ายโอนรพ.สต.มายังอบจ. พบว่ารพ.สต.มีหมอ มีบุคลากรเพิ่มมากขึ้น มีเวลาทำงานเชิงรุกมากขึ้น พื้นที่มีแผนจะจัดกิจกรรมรพ.สต.เคลื่อนที่โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล มีอุปสรรคในการทำงานของ อสม.ที่จะต้องทำงานกับสธ.และมหาดไทย อสม.มีภาระงานเพิ่มขึ้น
-ประชาชนไม่ได้มีผลกระทบในการรับบริการ เพียงแต่มีอุปสรรคการรับยาที่ต้องใช้บัตรประชาชน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สปสช.กำหนดมาดำเนินการตรงกับช่วงถ่ายโอนทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาเกิดจากการถ่ายโอน
ภาพ : ปราณี วุ่นฝ้าย
Relate topics
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567
- “พูดให้น้อย ทำให้เยอะ : ค่านิยมร่วม HCG ของ iMedCare”