"ประชุมทีมคณะทำงานชุมชนบาลาเซาะห์"
"ประชุมทีมคณะทำงานชุมชนบาลาเซาะห์"
วันที่ 10 มิถุนายน 2566 โครงการชุมชนริมฝั่งรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นัดทีมคณะทำงานชุมชนประกอบด้วยประธานชุมชน อสม. แกนนำพื้นที่ เครือข่ายพัฒนาเมือง/คณะทำงานโครงการ success บ่อยาง มูลนิธิชุมชนสงขลาหารือร่วมกับดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง น้ำนิ่ง ทีมงานBeach For Life สภาผู้ชมไทยพีบีเอส ณ ชุมชนบาลาเซาะห์
หารือพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในข้อมูลสำคัญ 2 เรื่องคือ
1.คลองสำโรง บังรอฮะ หวังพา เล่าว่าได้ย้ายจากอ่าวกอและ(บริเวณท่าเรือน้ำลึก) มาอยู่ที่เก้าเส้งตั้งแต่อายุ 12-13 ปี ปัจจุบันอายุ 76 ปีแล้ว อดีตคลองสำโรงกว้างถึง 30 เมตร น้ำใส ดื่มกินได้ ปัจจุบันเสื่อมโทรม แคบลงบางจุดเหลือเพียง 7 เมตร บางจุด 2 เมตรเกิดจากการรุกล้ำของชุมชน น้ำเสียในเขตเมืองและครัวเรือน ตื้นเขิน มีทั้งขยะ กิ่งไม้ ตะกอนดิน ตนเองและชุมชนพยายามแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง หากทว่าบริเวณชุมชนบาลาเซาะห์เป็นคอขวดน้ำจากคลองไม่สามารถไหลออกไปได้ด้วยทรายฝังกลบทับเส้นทาง ปีละ 6-8 เดือน ทำให้น้ำเน่าเสีย ทางแก้อยากให้มีเขือนกั้นแบบบ่ออิฐ ตรงหัวเก้าเส้งยาวออกไปราว 50 เมตร กว้าง 10 เมตรเป็นเส้นทางเข้าออกของน้ำ เสนอแนวทางนี้แต่ติดขัดทหารเรือไม่อนุญาต อ้างเหตุความมั่นคงเอาไว้ให้เวลาเข้าออกของเรือหากเกิดสงคราม
ที่ประชุมร่วมเติมเต็มข้อมูลแนวทางแก้ปัญหาในปัจจุบันของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเน้นการแก้เรื่องคนและชุมชนริมคลอง ที่อยู่อาศัย การปรับภูมิทัศน์ และช่องว่างการประสานงานระหว่างหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ จังหวัด/ทสจ. เจ้าท่า โยธาธิการฯ ทน.สงขลา ทม.เขารูปช้าง พอช. ธนารักษ์ ฯลฯ ซึ่งกรรมการที่มีมิได้มีตัวแทนของชุมชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วม
ดร.สมปรารถนา เสนอแนวทางการแก้ปัญหาน้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาร่วมที่ทุกคนให้ความสำคัญ พร้อมกับได้ข้อสรุป
แนวทางดำเนินการ
1)เก็บข้อมูลด้วยตัวของชุมชน ออกแบบเครื่องมือเพื่อศึกษาความตื้นลึก เส้นทางน้ำด้วยอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเฉพาะ แทนการลงเรือสำรวจซึ่งไม่สามารถทำได้แล้ว จัดทำแผนที่คลอง
2)สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพน้ำอย่างง่ายโดยชุมชนร่วมดำเนินการ
3)ข้อมูลแผนงานโครงการที่ภาครัฐกำลังดำเนินการ
4)แนวทางแก้ปัญหา/ทางเลือกต่างๆ อาทิ การปั้มดูดทราย การมีเรือขุดทรายขนาดเล็ก การทำเขื่อนกั้น ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การจัดเวที ประสานการทำงานกับภาคส่วนต่างๆโดยเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา ผลักดันให้เกิดทีมปฎิบัติการของแต่ละหน่วยงานมาทำงานร่วมกัน
2.การกัดเซาะชายฝั่งและปัญหาอื่นๆ น้ำนิ่งได้เล่าว่าสนใจงานประมงพื้นบ้านและการพัฒนาชุมชน เห็นพัฒนาการของประมงที่เมื่อก่อนมีมากถึง 60 ลำปัจจุบันเหลือเพียง 30 ลำ การมีอยู่ของสถานีบำบัดน้ำเสียเป็นตัวเร่งทำให้การกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงมากขึ้น (บังรอฮะเสริมว่าในอดีตชายหาดยาวไปถึงหัวเก้าเส้ง)ปี 2555 เริ่มมีการแก้ปัญหาด้วยการวางกระสอบทราย ต่อมาปรับเป็นการเติมทรายในปี 2557 แต่ยังไม่ทำให้ถูกหลักวิชาการ พัฒนาการการแก้ปัญหาได้ลองผิดลองถูกมาตลอด จนกระทั่งปัจจุบันเป็นรูปแบบการเติมทรายแบบที่ 3 บริเวณบาลาเซาะห์เองมีการปรับลดพื้นที่เติมทรายให้ลดลงเพื่อความสะดวกในการประกอบอาชีพประมง
การประชุมรอบนี้ทำให้คณะทำงาน เครือข่ายได้เห็นข้อมูลในหลายมุม พร้อมกับทำความเข้าใจสภาพปัญหาและร่วมกำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป
นัดหมายอีกครั้ง เสาร์ที่ 17 มิย.เวลา 09.00 น. นัดคณะทำงานพร้อมแกนนำพื้นที่ วิเคราะห์เชิงกายภาพของชุมชน/หย่อม/ตรอก/ซอย ลงพิกัดกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยง จัดระบบการสื่อสารการทำงานเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ กลุ่มอาชีพ กลุ่มวัย และประสานผู้นำศาสนามาร่วม
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567