ประชุมแกนคณะทำงานพื้นที่ชุมชนบาลาเซะห์เก้าแสน เมืองบ่อยาง
วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 น. ใด้นัดพบกันเพือทำงานในชุมชนเพื่อความชัดเจนขอชุมชนในการตั้งชื่อชอยให้ทุกคนทั้งในและคนนอกใด้รู้จักชอยให้มากขึ้น มีชื่อชอยทุกคนก้อใด้รู้ว่าตรอกนี้ชอยชื่อชอยอะไรเพราะอยู่ๆๆมาไม่เคยมี แต่วันนี้ทีมทำงานจะลงตามชอยและตั้งชื่อชอยไปพร้อมๆกัน เป็นสิ่งทีดีของชุมชนบาลายที่ชาวบ้านพร้อมด้วยทีม.อ.ส.ม.ลงมาช่วยขับเคลื่อนด้วยกัน
เดอเลาะ ปอโด๊ะ บันทึกเรื่องราว
ภูมิปัญญาชาวบ้าน ชาวเลกำลังให้ความรู้เกี่ยวกับทะเลและการหาปลา เรือเล็กชายฝั่งแต่ละลำจะมีรหัสชื่อเรือ เช่น บินเดี่ยว เครื่องมือการสื่อสาร มี เครื่องมือวัดคลื่นเสียง ซึ่งทำให้รู้ตำแหน่งของปลา เรือลำที่ยังไม่ได้ออกหาปลา จะส่งสัญญาณไปถามว่า มีปลาหรือเปล่า
ความน่าสนใจของภูมิปัญญาชาวประมงชายฝั่ง คือ
1.การมีสัจจะ จะไม่หลอกลวง หรือ โกหกเพื่อนร่วมอาชีพว่า ไม่มีปลา ทั้งที่มีฝูงปลา
2.จิตใจที่แบ่งปัน คือ หากเจอฝูงปลา ก็จะแจ้งเพื่อนร่วมเครือข่ายให้รีบนำเรืออกไปช่วยกันจับปลา
สำหรับวันนี้ ชาวบ้านชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ให้ข้อมูลว่า เรือจอดหลายลำเพราะไม่มี " ของ " คือไม่มีปลา
เนื่องจากมี " พัดหลวง " คือ ลมมาจากทางเกาะหนู (ทิศของชาวบาลาเซาะห์ แต่สำหรับชาวแหลมสนอ่อน พัดหลวงคือลมพัดมาจากฝั่งเขาแดง)
วันนี้คณะทำงานของชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสนช่วยกันทำข้อมูลชุมชนของตนเองเพื่อวิเคราะห์ชุมชน โดยมีทีมชุมชนแหลมสนอ่อน เป็นพี่เลี้ยงภายใต้โครงการ SUCCESS
ผ.อ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ดร. กมล พรหมสาขา ณ สกลนคร มาร่วมเป็นกำลังใจแบบบรรยากาศกันเอง
น้องปุ้ย ปิยพร กับพี่อิ๊ด เอื้อมพร ทำหน้าที่ฝ่ายบริการและอำนวยความสะดวก
บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567